วันที่ 14 มิ.ย. 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานจากสำนักคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)ว่า ล่าสุดมีการเผยแพร่เอกสารข้อมูลรายชื่อ ส.ส.แบบแบ่งเขต จำนวน 400 เขต ที่เตรียมจะเสนอ กกต.ประกาศผลเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขต ทั้ง 77 จังหวัดแล้ว โดยพบว่า จำนวนผู้ที่ได้รับเลือกตั้งทั้งสิ้น 400 คน กกต.เสนอประกาศผล 329 คน และอีก 71 คนยังไม่เสนอประกาศผลเนื่องจากมีเรื่องคัดค้านการเลือกตั้ง
ทั้งนี้ พรรคที่มีเรื่องร้องคัดค้านมากสุดคือพรรคภูมิใจไทย 21 เขต รองลงมา คือ พรรคเพื่อไทย 20 เขต พรรคพลังประชารัฐ 14 เขต พรรคก้าวไกล 7 เขต พรรครวมไทยสร้างชาติ 3 เขต พรรคประชาธิปัตย์ 3 เขต พรรคไทยสร้างไทย 2 เขต และพรรคเพื่อไทรวมพลัง 1 เขต
รายละเอียดดังนี้
กรุงเทพมหานคร
รักชนก ศรีนอก ว่าที่ ส.ส.พรรคก้าวไกล เขต 28
กาญจนบุรี
อัครนันท์ กัณณ์กิตตินันท์ ว่าที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย เขต 1
ยศวัฒน์ มาไพศาลสิน ว่าที่ ส.ส.พรรคภูมิใจไทย เขต 3
ศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ ว่าที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย เขต 4
กำแพงเพชร
ไผ่ ลิกค์ ว่าที่ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ เขต 1
ขอนแก่น
เอกราช ช่างเหลา ว่าที่ ส.ส.พรรคภูมิใจไทย เขต 4
องอาจ ฉัตรชัยพลรัตน์ ว่าที่ ส.ส.พรรคภูมิใจไทย เขต 11
ฉะเชิงเทรา
ศักดิ์ชาย ตันเจริญ ว่าที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย เขต 3
ชลบุรี
จรัส คุ้มไข่น้ำ ว่าที่ ส.ส.พรรคก้าวไกล เขต 8
ยอดชาย พึ่งกร ว่าที่ ส.ส.พรรคก้าวไกล เขต 9
สะถิระ เผือกประพันธุ์ ว่าที่ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ เขต 10
ชัยภูมิ
สัมฤทธิ์ แทนทรัพย์ ว่าที่ ส.ส.พรรคภูมิใจไทย เขต 3
ศิวะ พงศ์ธีระดุลย์ ว่าที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย เขต 5
อัครแสนคีรี โล่ห์วีระ ว่าที่ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ เขต 7
เชียงใหม่
เพชรรัตน์ ใหม่ชมภู ว่าที่ ส.ส.พรรคก้าวไกล เขต 1
นเรศ ธำรงค์ทิพยคุณ ว่าที่ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ เขต 9
ตรัง
ทวี สุระบาล พปชร ว่าที่ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ เขต 2
นครพนม
ภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์ ว่าที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย เขต 1
มนพน เจริญศรี ว่าที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย เขต 2
นครราชสีมา
สมเกียรติ ตันดิลกตระกูล ว่าที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย เขต 5
อภิชร เลิศพชรกมล ว่าที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย เขต 10
นรเสฎฐ์ ศิริโรจนกุล ว่าที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย เขต 12
นครศรีธรรมราช
ษฐา ขาวขำ ว่าที่ ส.ส.พรรคภูมิใจไทย เขต 7
มุกดาวรรณ เลื่องสีนิล ว่าที่ ส.ส.พรรคภูมิใจไทย เขต 8
อวยพรศรี เชาวลิต ว่าที่ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เขต 9
พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล ว่าที่ ส.ส.พรรครวมไทยสร้างชาติ เขต 10
บึงกาฬ
สุวรรณา กุมภิโร ว่าที่ ส.ส.พรรคภูมิใจไทย เขต 2
บุรีรัมย์
รังสิกร ทิมาตฤกะ ว่าที่ ส.ส.พรรคภูมิิใจไทย เขต 4
โสภณ ซารัมย์ ว่าที่ ส.ส.พรรคภูมิใจไทย เขต 5
ศักดิ์ ซารัมย์ ว่าที่ ส.ส.พรรคภูมิใจไทย เขต 6
พรชัย ศรีสุริยันโยธิน ว่าที่ ส.ส.พรรคภูมิใจไทย เขต 7
ประจวบคีรีขันธ์
สังคม แดงโชติ ว่าที่ ส.ส.พรรคภูมิใจไทย เขต 1
พระนครศรีอยุธยา
ชริน วงศ์พันธ์เที่ยง ว่าที่ ส.ส.พรรคก้าวไกล เขต 2
พิมพฤดา ตันจรารักษ์ ว่าที่ ส.ส.พรรคภูมิใจไทย เขต 3
ประดิษฐ์ สังขจาย ว่าที่ ส.ส.พรรคภูมิใจไทย เขต 5
พังงา
อรรถพล ไตรศรี ว่าที่ ส.ส.พรรคภูมิใจไทย เขต 1
ฉกาจ พัฒนกิจ ว่าที่ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ เขต 2
พัทลุง
สุพัชรี ธรรมเพชร ว่าที่ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เขต 1
พิจิตร
ภัทรพงศ์ ภัทรประสิทธิ์ ว่าที่ ส.ส.พรรคภูมิใจไทย เขต 1
พิษณุโลก
ปดิพัทธ์ สันติภาดา ว่าที่ ส.ส.พรรคก้าวไกล เขต 1
พงษ์มนู ทองหนัก ว่าที่ ส.ส.พรรครวมไทยสร้างชาติ เขต 3
เพชรบุรี
ฤกษ์ อยู่ดี ว่าที่ ส.ส.พรรคภูมิใจไทย เขต 2
เพชรบูรณ์
จักรัตน์ พั้วช่วย ว่าที่ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ เขต 2
วันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ ว่าที่ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ เขต 5
อัคร ทองใจสด ว่าที่ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ เขต 6
ภูเก็ต
ร้อยตรี สมชาติ เตชถาวรเจริญ ว่าที่ ส.ส.พรรคก้าวไกล เขต 1
มหาสารคาม
ไชยวัฒนา ติณรัตน์ ว่าที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย เขต 2
มุกดาหาร
วิริยะ ทองผา ว่าที่ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ เขต 1
ยโสธร
สุภาพร สลับศรี ว่าที่ ส.ส.พรรคไทยสร้างไทย เขต 1
ร้อยเอ็ด
รัชนี พลซื่อ ว่าที่ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ เขต 3
เลย
เลิศศักดิ์ พัฒนชัยกุล ว่าที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย เขต 1
ศรัณย์ ทิมสุวรรณ ว่าที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย เขต 2
สมเจตน์ แสงเจริญรัตน์ ว่าที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย เขต 4
ศรีษะเกศ
ธเนศ เครือรัตน์ พท ว่าที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย เขต 1
สุรชาติ ชาญประดิษฐ์ ว่าที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย เขต 2
ธนา กิจไพบูลย์ชัย ว่าที่ ส.ส.พรรคภูมิใจไทย เขต 3
อาสพลธ์ สรรณ์ไตรภพ ว่าที่ ส.ส.พรรคภูมิใจไทย เขต 8
สกลนคร
พัฒนา สัพโส ว่าที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย เขต 4
ชัยมงคล ไชยรบ พปชร ว่าที่ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ เขต 5
สงขลา
เดชอิศม์ ขาวทอง ว่าที่ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เขต 5
สระแก้ว
ขวัญเรือน เทียนทอง ว่าที่ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ เขต 1
สรวงศ์ เทียนทอง ว่าที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย เขต 3
สิงห์บุรี
โชติวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ว่าที่ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ เขต 1
สุราษฎร์ธานี
พิพิธ รัตนรักษ์ ว่าที่ ส.ส.พรรครวมไทยสร้างชาติ เขต 2
อำนาจเจริญ
สุขสมรวย วันทนียกุล ว่าที่ ส.ส.พรรคภูมิใจไทย เขต 1
ญาณีนาถ เข็มนาค ว่าที่ ส.ส.พรรคภูมิใจไทย เขต 2
อุดรธานี
หรั่ง ธุระพล ว่าที่ ส.ส.พรรคไทยสร้างไทย เขต 3
อุบลราชธานี
วรสิทธ์ กัลป์ตินันท์ ว่าที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย เขต 1
กิตติ์ธัญญา วาจาดี ว่าที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย เขต 4
สุดารัตน์ พิทักษ์พรพัลลภ ว่าที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย เขต 7
สมศักดิ์ บุญประชา ว่าที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทรวมพลัง เขต 10
ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญ มาตรา 84 กำหนดไว้ว่า ในการเลือกตั้งทั่วไป หากมีการประกาศรับรองผลการเลือกตั้งส.ส.ที่ได้รับเลือกตั้งถึงร้อย 95 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด หรือ 475 คน จาก 500 คน หากจำเป็นต้องเรียกประชุมรัฐสภา ให้ดำเนินการเรียกประชุมรัฐสภาได้
มาตรา 121 ระบุว่า ภายใน 15 วันนับแต่วันประกาศผลเลือกตั้ง ส.ส. ให้เรียกประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรก ซึ่งหมายถึงงานรัฐพิธี และหลังจากที่แล้วเสร็จงานรัฐพิธีแล้ว ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 121 วรรคสี่ ประกอบข้อบังคับการประชุมสภา ผู้แทนราษฎร ข้อ 5 และ ข้อ19 กำหนดให้ภายใน 10 วันต้องประชุมสภาฯ ครั้งแรก เพื่อเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร
ขณะที่ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ.2561 มาตรา 127 บัญญัติว่า ในการเลือกตั้งทั่วไป ให้ กกต. ประกาศผลการเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งได้เมื่อตรวจสอบเบื้องต้นแล้วมีเหตุอันควรเชื่อว่า ผลการเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และมีจํานวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของเขตเลือกตั้งทั้งหมด ซึ่ง กกต.ต้องตรวจสอบเบื้องต้นและประกาศผลการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จโดยเร็ว แต่ต้องไม่ช้ากว่า 60 วันนับแต่วันเลือกตั้ง
มาตรา 132 บัญญัติไว้ว่า ก่อนประกาศผลการเลือกตั้ง ถ้าคณะกรรมการสืบสวนหรือไต่สวนแล้วเห็นว่ามีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าผู้สมัครผู้ใดกระทําการอันเป็นเหตุให้การเลือกตั้งนั้นมิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม หรือมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าผู้สมัครผู้ใดก่อให้ผู้อื่นกระทํา สนับสนุน หรือรู้เห็นเป็นใจให้บุคคลอื่นกระทําการดังกล่าว หรือรู้ว่ามีการกระทําดังกล่าวแล้วไม่ดําเนินการเพื่อระงับการกระทํานั้นให้ กกต.สั่งระงับสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครที่กระทําการเช่นนั้นทุกรายไว้เป็นการชั่วคราวเป็นระยะเวลาไม่เกิน 1ปีนับแต่วันที่ กกต.มีคําสั่ง และในกรณีที่ผู้นั้นได้คะแนนอยู่ในลําดับที่จะได้รับการเลือกตั้ง ให้สั่งยกเลิกการเลือกตั้งและให้มีการเลือกตั้งใหม่
ขณะที่มาตรา 138 ระบุว่า ภายหลังประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว ถ้ามีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าผู้สมัครหรือผู้ใดกระทําการอันเป็นการทุจริตในการเลือกตั้ง หรือรู้เห็นกับการกระทําของบุคคลอื่น ให้ กกต.ยื่นคําร้องต่อศาลฎีกาเพื่อสั่งให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้น