ไม่พบผลการค้นหา
“มนุษยชาติอาจจะกำลังก้าวเข้าสู่ยุคสมัยทีโรคเอาใส่เมอร์มียารักษา”

บริษัท Eli Lilly ผู้ผลิตตัวยาที่ชื่อ Donanemab เปิดเผยว่ายามีความสามารถในการชะลอความเสียหายของสมองมนุษย์ที่เกิดจากโรคอัลไซเมอร์ลงได้มากถึง 1 ใน 3 จากปกติ 

สำนักข่าว BBC รายงานว่ายา Donanemab ทำงานในลักษณะเดียวกันกับยา Lecanemab ที่ก่อนหน้านี้ได้ถูกรายงานไปทั่วโลกถึงประสิทธิภาพในความสามารถที่ช่วยชะลอความเสียหายที่เกิดกับสมองมนุษย์จากโรคอัลไซเมอร์ของกลุ่มผู้ป่วยที่อยู่ในระยะเริ่มต้น

ตัวยาทั้งสองชนิดเป็นแอนติบอดีที่จะช่วยให้ร่างกายนั้นสามารถเข้าจู่โจมกับไวรัส ผู้พัฒนาคิดค้นตัวยานี้ได้ปรับแต่งการทำงานของยา โดยเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว มันจะเข้าจู่โจมโปรตีนที่มีลักษณะเป็นสารเหนียว (Sticky Gunk) ที่เรียกว่า Beta amyloid ที่ก่อตัวขึ้นในสมองของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์

ดร.แคธ เมมเมอร์ แพทย์ด้านประสาทวิทยาจากโรงพยาบาล National Hospital for Neurology and Neurosurgery สหราชอาณาจักรชี้ว่า “ความเปลี่ยนแปลงกำลังเกิดขึ้นหลังจากการต่อสู้อันยาวนานหลายทศวรรษเพื่อหาวิธีการรักษาโรคอัลไซเมอร์ เราอาจจะกำลังสามารถรักษาผู้ที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้อย่างแท้จริง” 

แม้ว่าขณะนี้ยังไม่มีการเปิดเผยอย่างชัดเจนถึงการศึกษาทั้งหมดจากบริษัท Eli Lilly แต่ข้อมูลเบื้องต้นที่เปิดเผยออกมาระบุว่ามีผู้ป่วยในระยะเบื้องต้น 1,734 คนที่เข้าร่วมการศึกษาวิจัย พวกเขาได้รับยา Donanemab แบบรายเดือนเพื่อเข้าไปสลายสารเหนียวที่ก่อตัวในสมอง 

ในภาพรวมตัวยาสามารถช่วยชะลอความเสียหายของสมองที่เกิดจากโรคอัลไซเมอร์ได้ราว 29% และสูงสุดอยู่ที่ 35% ในกลุ่มที่นักวิจัยมองว่าตอบสนองต่อยาได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามแพทย์ยังต้องจับตาดูผลข้างเคียงต่อไป หนึ่งในผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดคืออาการสมองบวม