ไม่พบผลการค้นหา
งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวเม็กซิโก ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Scientific Reports ได้ประเมินต้นทุนด้านสภาพอากาศของสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ โดยเป็นส่วนหนึ่งของมูลค่าตลาดโดยรวม โดยตัวงานวิจัยชี้ว่า สกุลเงินดิจิทัลมีผลกระทบต่อสภาพอากาศมากกว่าการขุดทองคำ และระดับการสกัดก๊าซธรรมชาติ หรือการเลี้ยงโคสำหรับเนื้อสัตว์

จากการวิเคราะห์ของนักวิจัยพบว่า ทรัพยากรบางส่วน อาทิ ถ่านหิน สร้างความเสียหายได้เกือบเท่าตัว เมื่อเทียบกับมูลค่าตลาดทั้งหมดที่มันมีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งคิดเป็นอัตราส่วน 95% นอกจากนี้ สินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ อาทิ การผลิตเนื้อหมู ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพอากาศอย่างมหาศาลในแง่ชัดเจน แต่เกิดจากสาเหตุที่ตลาดเนื้อหมูมีขนาดใหญ่มาก

อย่างไรก็ดี บิทคอยน์สร้างความเสียหายต่อสภาพแวดล้อม อยู่ในระดับระหว่างถ่านหินกับเนื้อหมู โดยนักเศรษฐศาสตร์ชี้ว่า ความเสียหายจากสภาพอากาศในการผลิตสกุลเงินดิจิทัล มีมูลค่าเฉลี่ย 35% ของมูลค่าตลาดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยคิดเป็นสัดส่วนสูงสุดที่ 82% ในปี 2563

ความเสียหายของสภาพแวดล้อมจากบิทคอยน์ เปรียบได้กับอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อวัว ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายถึง 33% ของตลาด หรือการผลิตก๊าซธรรมชาติที่กระทบถึง 46% และมากกว่าผลกระทบจากการขุดเหมืองทองคำ ซึ่งเป็นสินค้าที่คอยหนุนสกุลเงินดิจิทัลส่วนใหญ่ในอัตราเปรียบเทียบ ซึ่งมีผลกระทบต่อสภาพอากาศเพียง 4% ของมูลค่าตลาด เนื่องจากมูลค่าโดยรวมอันมหาศาล ที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการขุดเหมือง

ความเสียหายต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่สมส่วนกับสกุลเงินดิจิทัล เกิดจากการพึ่งพากระบวนการคำนวณเพื่อตรวจสอบธุรกรรมสกุลเงินดิจิทัล ที่เรียกว่า “การขุดเพื่อการตรวจสอบความถูกต้องทางธุรกรรม” ซึ่งต้องใช้ค่าพลังงานไฟฟ้าจำนวนมากเพื่อดำเนินการ เพื่อให้ได้สิ่งที่เรียกว่าบิทคอยน์ออกมา 

จากการศึกษามากกว่า 1 ใน 20 วันของการทำงานวิจัยพบว่า ความเสียหายจากสภาพอากาศจาก “เครื่องขุดบิทคอยน์” เหล่านี้ มีมากเกินมูลค่าของเหรียญที่ผลิตได้อย่างท่วมท้น เนื่องจากการใช้ไฟฟ้าจำนวนมหาศาลที่สิ้นเปลืองพลังงาน


ที่มา:

https://www.theguardian.com/technology/2022/sep/29/bitcoin-climate-impact-gold-mining-environmental-damage-cryptocurrency?CMP=Share_iOSApp_Other&fbclid=IwAR3nXMlMsTr0PMtRVdvjvbxnwkp33YilVZgTz4BZrHd-QypyasB6rtzq3CU