ไม่พบผลการค้นหา
ประชุมคณะกรรมการดิจิทัลวอลเล็ต เริ่มในสัปดาห์นี้ คาดตุลาคมได้ข้อสรุปหลักเกณฑ์ใช้เงิน ยังคงเดิมใช้เงินตามภูมิลำเนา ส่งเสริมแรงงานกลับบ้าน

วันนี้ (3 ตค.) จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง แถลงความคืบหน้า นโยบาย Digital Wallet กระทรวงการคลัง วันนี้ได้มีการเสนอเรื่องต่อ ครม. แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ซึ่งเดือน ดรกฎาคมที่ผ่านมา ได้หารือกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ธนาคารแห่งประเทศไทย และมีข้อสรุป ถึงความสำคัญของโครงการ ใช้งบประมาณจำนวนมาก ต้องมีความละเอียดรอบคอบ

ซึ่งคณะกรรมการเมื่อพิจารณารายชื่อแล้วถือเป็น คณะกรรมการมีองค์ประกอบชุดใหญ่ เหมือนเป็น ครม. ย่อยๆ โดย มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีรองประธาน 4 คน ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) ซึ่งจะเห็นได้ว่าองค์ประกอบครอบคลุมทุกกลไกที่เกี่ยวข้อง 

ส่วนการนัดหมายการประชุม คณะกรรมการนัดแรกจะเริ่มประชุมภายในสัปดาห์นี้ การประชุมนัดแรก ซึ่งจะหารือเรื่องการจัดตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อน รวบรวมประเด็นรายละเอียดนำเสนอชุดใหญ่ ซึ่งจะมีคณะอนุกรรมกาาขับเคลื่อนโดยมี จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ เป็นประธาน และ เผ่าภูมิ โรจนสกุล เลขานุการ ซึ่งจะทำหน้าที่ขับเคลื่อนนโยบาย ทั้งนี้เข้าใจดีถึงคำถามจากสื่อมวลชนที่จะเกิดขึ้น ขอรอเวลาให้แต่งตั้งคณะอนุชุดเล็ก และเสนอเข้าชุดใหญ่ก่อน คาดว่าไม่น่าจะเกิน 1 ถึง 2 สัปดาห์ 

จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ยืนยันว่านโยบายดิจิทัลวอลเล็ต ได้ดำเนินตามกรอบ พ.ร.บ.เงินตราและเป็นไปตามระเบียบ และวินัยการเงินการคลัง ซึ่งได้มีการพูดคุยกับผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว และยืนยันจะไม่มีผลต่อค่าเงินบาทที่อ่อนลงในปัจจุบัน ซึ่งปัจจัยเงินบาทที่อ่อนลงเพราะค่าเงินต่างประเทศแข็งค่า และปัจจัยเรื่องเงินเฟ้อไม่ใช่ปัจจัยน่าห่วงมา 10 ปี เชื่อว่าจะไม่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่น่าห่วง เชื่อว่าเอาอยู่ ส่วนเทคโนโลยี ยืนยันใช้ระบบบล็อคเชน เพราะเป็นกลไกลที่ปลอดภัย โปร่งใส

ส่วนประเด็นการใช้จ่ายในรัศมี 4 กิโลเมตรที่ถูกกระแสวิพากษณ์วิจารณ์ จุลพันธ์ ระบุว่า จากการฟังเสียงประชาชน มีโอกาสที่จะขยายกรอบพื้นที่ให้มากกว่า 4 กิโลเมตร อย่างแน่นอน ซึ่งเรื่องนี้คณะกรรมการเป็นผู้พิจารณา ส่วนหลักเกณฑ์การใช้เงืนที่ภูมิลำเนายังคงยึดหลักเกณฑ์เดิม เพราะรัฐบาลมีเป้าหมายกระตุ้นเศรษฐกิจแบบกระจายทั่วทุกจังหวัด ขณะที่หลักเกณฑ์การใช้เงินดิจิทัลคาดว่าจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจนภายในเดือนตุลาคมนี้

จุลพันธ์ ย้ำว่า นโยบายเงินดิจิทัลวอลเล็ต เป็นโครงการใหญ่และสำคัญที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ จึงต้องทำทุกขั้นตอนให้มีความรอบคอบ ไม่ให้การดำเนินการหลงทาง  และเชื่อว่านโยบายนี้ จะทำให้เกิดพายุทางเศรษฐกิจที่จะหมุนทั่วประเทศ

โดยรัฐบาลตั้งเป้าการเติบโตทาง GDP ไม่ต่ำกว่า 5% ให้ได้ ทั้งมีกลไกลอื่นส่งเสริมกระตุ้นเศรษฐ ทั้งที่เป็นนโยบายทั้งที่ใช้งบและไม่ใช้งบ จะสามารถดึงอัตราการเติบโตได้ตามเป้า และประชาชนจะรับรู้ได้เพราะที่ผ่านมา 10 ปี การเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่แค่ระดับ 2% 

ส่วนที่มีการเปรียบเทียบว่านโยบายนี้จะผลกระทบเช่นนโยบายรถคันแรกหรือไม่ จุลพันธ์ ระบุว่า ทุกนโยบายย่อมมีประโยชน์สู่เศรษฐกิจ ซึ่งนโยบายรถคันแรก มีคนได้ประโยชน์ และก็มีผลทางลบเช่นกัน