แถลงการณ์ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) ระบุว่า ต้องการให้จีนเปิดเผยของมูลของน้ำในแต่ละช่วงเวลาของเขื่อนในจีนทั้งในช่วงฤดูน้ำหลากและฤดูแล้งให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านในลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อที่จะสามารถนำข้อมูลมาคาดการณ์เงื่อนไขของระดับน้ำในช่วงเวลาที่วิกฤตได้
'ดร. อัน พิช ฮัทดา' เลขาธิการของ MRC กล่าวว่า “น้ำท่วมและภัยแล้งได้ส่งผลกระทบต่อภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงอย่างหนัก และทาง MRC ต้องการความร่วมมือระดับภูมิภาคที่แข็งแกร่งมากขึ้น ขณะที่ประเทศต่างๆในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างจำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพของการร่วมมือในการแก้ไขปัญหาที่ภูมิภาคเผชิญอยู่ในปัจจุบันและที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่นความโปร่งใ่ของข้อมูล คุณภาพของน้ำและความรวดเร็วในการแบ่งปันข้อมูลของน้ำ”
รายงานของ MRC ชี้ว่า ในปีค.ศ. 2019 (พ.ศ. 2563) ระดับน้ำในแม่น้ำโขงนั้นลดลงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและทำลายพื้นที่การเกษตร รวมถึงสร้่างผลกระทบในเชิงลบต่อสิ่งเเวดล้อมและวิถีชีวิตของประชาชนในลุ่มแม่น้ำโขง
ขณะที่รายงานขององค์กร Eyes on Earth ที่เผยแพร่เมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมาระบุว่า เขื่อนในแม่น้ำโขงตอนบนในช่วงประเทศจีนนั้นมีระดับน้ำที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยปกติในช่วงเวลาที่ระดับน้ำในแม่น้ำโขงตอนล่างลดต่ำลง
ปัจจุบันเขื่อนในแม่น้ำโขงตอนบนในเขตประเทศจีนมีทั้งหมด 11 แห่ง ซึ่งมีการประเมินว่าสามารถกักเก็บน้ำได้มากกว่า 47,000 ล้านลูกบาศ์เมตร ขณะที่ทางด้านจีนได้ออกมาปฏิเสธว่าจีนไม่เคยกักเก็บน้ำและชี้ว่าการสร้างเขื่อนในนั้นเป็นการบริหารเพื่อจัดการน้ำไม่ให้เกิดน้ำท่วมและน้ำแล้งในฤดูแล้ง พร้อมทั้งระบุว่าการที่ระดับน้ำในแม่น้ำโขงลดลงเมื่อปี 2019 นั้นเป็นเพราะปริมาณน้ำฝนที่ลดลง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง