ไม่พบผลการค้นหา
Day Break - Catster พื้นที่แมวบำบัดสำหรับทุกคน - Short Clip
Day Break - บุกถ้ำจำลอง! ในนิทรรศการ 'ปฏิบัติการถ้ำหลวง' - Short Clip
Day Break - 'Copper Aquarium' บุฟเฟต์บรรยากาศใต้ทะเล - Short Clip
Day Break - อัปเกรด 'อาหารริมทาง' ดึงดูดนักท่องเที่ยว - Short Clip
Wake Up News - บิ๊กป้อมแก้หนี้ ถามคนได้ที่ดินคืน มีหรือจะไม่พอใจ - Short Clip
Day Break - อิ่มท้องก่อนดูหนังที่ 'BKKSR' - Short Clip
Day Break - เบญจรงค์ไทย​ ตั้งโชว์ได้ ใช้จริงยิ่งเท่ - Short Clip
Day Break - TE กับเมนู 'โรงน้ำชา' ยุคใหม่ - Short Clip
Wake Up News - 'เจ๊เกียว' ขอขึ้นค่าโดยสาร 10สต./กม. หรือจะให้ลดเที่ยววิ่ง - Short Clip
Day Break - เปิดประสบการณ์เมนูวันสิ้นโลกที่ Na-Oh Bangkok - Short Clip
Day Break - คาเฟ่ร่วมสมัยที่บ้าน 'อาจารย์ฝรั่ง' - Short Clip
​Day Break - La Dotta La Grassa อาหารอิตาลีที่ไม่ได้มีดีแค่พาสต้า - Short Clip
Day Break - ลิ้มรสอาหารไทยติดดาวที่ 'ชิม บาย สยาม วิสดอม'​ - Short Clip
Day Break - นิทรรศการไข่แมว x กะลาแลนด์ - Short Clip
Day Break - 'กินซา ซูชิ อิจิ' โอมากาเสะดาวมิชลินร้านเดียวในไทย - Short Clip
Day Break - สโลว์ไลฟ์ในเมืองกรุง ที่ 'ชุมชนคลองบางหลวง' - Short Clip
Day Break - จิบชายามบ่ายกับขนมไทยโบราณ ที่ 'เวฬาฌา' - Short Clip
Day Break - Marigold กับเมนูที่เปลี่ยนอารีย์ให้เป็นสมุย - Short Clip
Day Break - กรุงเทพฯ เมืองยอดนิยมสำหรับคนชอบเที่ยวคนเดียว - Short Clip
Day Break - 'ไทมส์' ยก 'ช่างชุ่ย' เป็นสถานที่ที่ดีที่สุดในโลก - Short Clip
Day Break - 'สมองสุนัขจำลอง' สื่อการสอนใหม่สัตวแพทย์ไทย - Short Clip
Jun 14, 2019 14:49

ปัญหาขาดแคลนอาจารย์ใหญ่ ไม่ได้เกิดขึ้นกับนักศึกษาแพทย์เพียงอย่างเดียว แต่นักศึกษาสัตวแพทย์ก็เผชิญปัญหาดังกล่าวเช่นกัน เนื่องจากมีข้อจำกัดทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ล่าสุดอาจารย์ประจำคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คิดค้นสื่อการเรียนการสอนใหม่ มาแก้ปัญหาความขาดแคลนโดยเฉพาะ แถมยังได้รางวัลระดับนานาชาติ

ก็นับว่าเป็นข่าวดีสำหรับวงการการศึกษาไทย โดยเฉพาะนิสิตนักศึกษาที่ต้องเรียนเกี่ยวกับการรักษาชีวิตสัตว์ เพราะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ภาวนา เชื้อศิริ อาจารย์ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้คิดค้นสื่อการเรียนการสอนใหม่ เป็น "สมองสุนัขจำลอง" เพื่อแก้ปัญหาสมองจริงที่กำลังอยู่ในภาวะขาดแคลน

vlcsnap-2019-06-15-10h30m27s983.png

วิชากายวิภาคหรือ อนาโตมี่ เป็นวิชาพื้นฐานที่นิสิตนักศึกษาทุกคนต้องเรียน โดยต้องอาศัยอวัยวะจริงของสัตว์ เพื่อศึกษาลักษณะโครงสร้างภายใน แต่ด้วยปัจจุบันจำนวนการบริจาคร่างของสัตว์ที่เสียชีวิตไม่เพียงพอต่อผู้เรียน รวมถึงสภาพอาจารย์ใหญ่ทางสัตวแพทย์ที่ได้รับบริจาคอาจมีสภาพที่ไม่สมบูรณ์ จึงจำเป็นต้องการหาสื่อการเรียนการสอนมาใช้แทนอวัยวะสัตว์จริง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ภาวนา ระบุว่า สมองสุนัขจริงมีขนาดเล็ก หายาก และเป็นอวัยวะที่เน่าเร็วมาก รวมทั้งมักเกิดความเสียหายจากการเรียนในแต่ละครั้ง และอาจเสี่ยงต่อการสัมผัสโรคติดเชื้อสู่คน เช่น โรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งสมองจำลอง จะช่วยให้นักศึกษารับรู้ส่วนต่างๆ ของสมองต่อจากหนังสือ ก่อนที่จะสัมผัสของจริง ทำให้สมองจริงที่ต้องผ่าเสียหายน้อยและใช้ได้นานที่สุด นอกจากนี้ยังไม่ต้องดมน้ำยาฟอร์มาลีนที่ใช้ดองสมองเป็นเวลานานๆอีกด้วย 

สมองสุนัขจำลอง ผลิตจากกระดาษเหลือใช้ มาย่อยจนเป็นเยื่อกระดาษ นำผสมแป้ง ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า paper mache อัดลงแม่พิมพ์โดยให้ใหญ่กว่าสมองจริงหนึ่งเท่า มีความทนทาน สามารถถอดประกอบชิ้นส่วนเพื่อให้เห็นโครงสร้างทางกายวิภาคได้อย่างชัดเจน มีการฝังแม่เหล็กไว้ ซึ่งเป็นเทคนิคที่ยังไม่มีใครใช้มาก่อน ซึ่งได้รับรางวัลระดับนานาชาติ เช่น รางวัลเหรียญทองแดงประเภท Teaching methods and materials จากการประชุมวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ 47 ที่กรุงเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา

นวัตกรรมเหล่านี้ จะไม่หยุดที่สมองจำลองอย่างแน่นอน เพราะทางคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กำลังเตรียมต่อยอดไปที่อวัยวะอื่นๆ อีกมากมาย รวมถึงต่อยอดไปที่สัตว์ชนิดอื่นๆ ด้วย 


Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog