ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - รถยนต์ไฟฟ้าไม่ใช่ยาครอบจักรวาล - Short Clip
World Trend - ‘สงอัน’ เขตเศรษฐกิจแห่งนวัตกรรมของจีน - Short Clip
World Trend - ยอดขายหัวเว่ยทะลุแสนล้าน แม้ถูกกีดกันจากทั่วโลก - Short Clip
World Trend - ธุรกิจกัญชาบูม มีแรงงานมากกว่าสาธารณสุข - Short Clip
World Trend - เนเธอร์แลนด์ลงทุนเพิ่มให้คนใช้จักรยานมากขึ้น - Short Clip
World Trend - 'อ้ายฉีอี้' เปิดตัวแอปฯ ใหม่ เจาะตลาดผู้สูงวัย - Short Clip
World Trend - 'พลัสไซซ์' ตลาดใหม่เพื่อแฟชั่นที่เท่าเทียม - Short Clip
World Trend - จีนหันไปลงทุนใน 'หนัง' แทน 'สตูดิโอ' - Short Clip
World Trend - ผู้หญิงญี่ปุ่นสอบเข้าแพทย์ได้มากกว่าผู้ชาย - Short Clip
World Trend - มูลค่า 'บิตคอยน์' ตกลงต่ำสุดในรอบเดือน - Short Clip
World Trend - 'อาลีบาบา' ไม่พอใจท่าทีสหรัฐฯ ต่อ 'หัวเว่ย' - Short Clip
World Trend - เนสท์เล่ปิดดีล 2 แสนล้าน ขายกาแฟสตาร์บัคส์ - Short Clip
World Trend - ​Google จ่ายค่าแรง 'ผู้ชาย' น้อยกว่า 'ผู้หญิง' - Short Clip
World Trend - 'กัปตันมาร์เวล' ทำรายได้ทั่วโลกดีเกินคาด - Short Clip
World Trend - แอปเปิลปลดพนักงานพัฒนารถยนต์ไร้คนขับ 200 คน - Short Clip
World Trend - ซิลิคอนแวลลีย์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือที่ใด - Short Clip
World Trend - อังกฤษปรับ 'เพศศึกษา' ให้ครอบคลุมกว้างกว่าเดิม - Short Clip
World Trend - สหรัฐฯ พัฒนาเอไอตรวจจับเนื้องอก - Short Clip
World Trend - มหาเศรษฐีโลกรวยขึ้นวันละ 2,500 ล้านดอลลาร์ - Short Clip
World Trend - ราคาอินเทอร์เน็ตอังกฤษแพงกว่าอินเดีย 25 เท่า - Short Clip
World Trend - ทำไมจีนยังต้องพึ่ง 'ซิลิคอนแวลลีย์' ? - Short Clip
Dec 20, 2018 16:35

แม้สหรัฐฯ จะเป็นศัตรูคนสำคัญด้านธุรกิจกับประเทศจีน แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าบรรดาบริษัทยักษ์ใหญ่ในจีนหลายแห่งยังคงต้องพึ่งพาและไม่หยุดความพยายามที่จะขยายธุรกิจเข้าไปยังซิลิคอนแวลลีย์ของสหรัฐฯ

บริษัทเทนเซ็นต์ ผู้นำการให้บริการทางอินเทอร์เน็ตแบบครบวงจร และบริษัทไบต์แดนซ์ สตาร์ตอัปจากจีนที่เติบโตเร็วมากในระดับโลก หลังจากการรวมแอปพลิเคชัน Musica.ly เข้ากับ TikTok ซึ่งตอนนี้มีผู้ใช้งานรวมกันกว่า 500 ล้านคนแล้ว ทั้งเทนเซ็นต์และไบต์แดนซ์ต่างมีศูนย์วิจัยขนาดใหญ่อยู่ในซิลิคอนแวลลีย์ ไม่ไกลจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งห่างออกไปไม่กี่กิโลเมตรก็เป็นที่ตั้งของบริษัทยักษ์ใหญ่สัญชาติจีนอย่าง อาลีบาบา ไป่ตู้ และตีตีชูสิง

กลุ่มบริษัทด้านเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตเหล่านี้ เป็นกลุ่มบริษัทที่มีอิทธิพลมากที่สุดในประเทศจีน เนื่องจากเป็นผู้ขับเคลื่อนไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม โซเชียลมีเดีย การชอปปิงออนไลน์ อีคอมเมิร์ซ ไปจนถึงอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ไร้คนขับ อย่างไรก็ตาม การที่ทุกบริษัทข้างต้นยังคงต้องมีพื้นที่อยู่ในศูนย์กลางเทคโนโลยีของโลกอย่างซิลิคอนแวลลีย์ เป็นเครื่องพิสูจน์ที่ว่า ไม่ว่าเทคโนโลยีของจีนจะยิ่งใหญ่แค่ไหน แต่ก็ยังต้องพึ่งองค์ความรู้ หรือ 'โนฮาว' ของนักเทคโนโลยีอเมริกันเพื่อสามารถแข่งขันในตลาดได้อย่างต่อเนื่อง

นายเจมส์ ลูวิส ผู้อำนวยการด้านนโยบายเทคโนโลยีของศูนย์ยุทธศาสตร์และการศึกษาระหว่างประเทศในมลรัฐวอชิงตัน ของสหรัฐฯ กล่าวว่า กลุ่มบริษัทด้านเทคโนโลยีสัญชาติอเมริกันยังคงสถานะความก้าวหน้ามากกว่าบริษัทเทคโนโลยีจากจีน เนื่องจากจีนยังไม่แข็งแกร่งพอในเรื่องของการพัฒนานวัตกรรม และยังเป็นที่ทราบกันดีว่าหากลูกค้าต้องการสิ่งที่ดีที่สุด ยังไงก็ต้องเลือกบริษัทเทคโนโลยีจากสหรัฐฯ

ปัจจุบันจีนพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อเพิ่มศักยภาพของตัวเอง ที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีของโลกในทศวรรษหน้า โดยที่ผ่านมา รัฐบาลของจีนภายใต้การนำของนายสีจิ้นผิง ได้ทุ่มเงินลงทุนกว่าหลาย 10,000 ดอลลาร์ในการเร่งผลักดันความก้าวหน้าในอุตสาหกรรมปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ยานยนต์ไร้คนขับ และซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ที่มีความสามารถในการประมวลผลข้อมูลในปริมาณมาก รวมถึงการประมวลผลงานที่มีรูปแบบซับซ้อน มีความรวดเร็วในการคำนวณได้มากกว่าหนึ่งล้านล้านต่อวินาที

อย่างไรก็ตาม อุปสรรคสำคัญในตอนนี้ของจีนก็คือความจริงที่ว่า สหรัฐฯ ยังคงครองแชมป์อันดับหนึ่งในการดึงดูดนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรมือหนึ่งของโลกเข้าไปทำงานด้วย ซึ่งหนึ่งในวิธีที่บรรดายักษ์ใหญ่ในโลกเทคโนโลยีจากจีนจะสามารถเข้าถึงบุคลากรคุณภาพในวงการได้อย่างทั่วถึงและทันท่วงที ก็คือ การเข้าไปตั้งสำนักงานในสหรัฐฯ และจุดยุทธศาสตร์อย่างศูนย์กลางเทคโนโลยีและสตาร์ตอัปอย่าง ซิลิคอนแวลลีย์ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย รวมถึงมหาวิทยาลัยชื่อดังต่าง ๆ เพื่อดึงดูดนักศึกษาจบใหม่ที่มีคุณสมบัติตามต้องการให้เข้ามาทำงานด้วย

การใช้วิธีดังกล่าว คือ หนทางที่บริษัทเทคโนโลยีจากจีนจะสามารถต่อสู้กับคู่แข่งคนสำคัญอย่างกูเกิล เฟซบุ๊ก และอูเบอร์ได้ เพราะหนึ่งในหลักการที่ทุกคนรู้กันก็คือ การไล่ล่าหาหัวกะทิในโลกเทคโนโลยีเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้บริษัทใหญ่อยู่รอดได้ ในยุคที่มีการขับเคี่ยวกันอย่างรุนแรงเช่นนี้ ฉะนั้น บริษัทเทคโนโลยีต้องไม่นิ่งเฉย แต่จะต้องเดินทางไปตามหาบรรดาหัวกะทิเหล่านี้ด้วยตัวเอง ซึ่ง CNN ได้ยกตัวอย่างการเข้าไปจับจองพื้นที่ของบริษัทเทคโนโลยีจีนในซิลิคอนแวลลีย์ เพื่อก้าวให้ทันคู่แข่ง ดังนี้

บริษัทอาลีบาบา อีคอมเมิร์ซอันดับหนึ่งจากจีน เปิดตัวสำนักงานแห่งแรกในสหรัฐฯ ที่ซานตาคลารา ในปี 2000 และปัจจุบันมีการจ้างงานพนักงานมากถึง 350 คน กลุ่มคนเหล่านี้กำลังทำงานอย่างหนักในการเฟ้นหาบริษัทเทคโนโลยีในสหรัฐฯ ที่น่าเข้าไปลงทุน รวมถึงความพยายามในการโน้มน้าวให้ผู้ประกอบการในสหรัฐฯ นำสินค้ามาวางขายบนแพลตฟอร์มของอาลีบาบา ที่ในปัจจุบันได้รวบรวมหลายหลายเว็บไซต์ไว้ด้วยกัน ขณะที่ สำนักงานอาลีบาบาในซานมาเตโอ เน้นการทำงานด้านการพัฒนาธุรกิจ และด้านวิศวกรรม เพื่อพัฒนาศักยภาพของเทคโนโลยีคลาวด์ และอาลีเพย์ ที่ขณะนี้เริ่มเติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ จากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่เข้ามาในสหรัฐฯ มากขึ้น

ขณะที่ บริษัทไป่ตู้ผู้ให้บริการเสิร์ชเอนจินอันดับหนึ่งของประเทศจีน และเป็นหนึ่งในเว็บไซต์ที่มีคนใช้มากที่สุด 5 อันดับแรกของโลก ได้ทุ่มเงินจำนวนมหาศาลไปกับการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ โดยไป่ตู้ได้เข้ามาตั้งสำนักงานครั้งแรกในสหรัฐฯ ที่เมืองซันนีเวล ของแคลิฟอร์เนีย เมื่อปี 2011 ก่อนที่จะสร้างศูนย์วิจัยและการพัฒนาขนาดใหญ่เมื่อปีที่ผ่านมา

ล่าสุด ยังมีรายงานด้วยว่า บริษัทฟอร์ดและไป่ตู้มีการวางแผนร่วมกัน เพื่อพัฒนารถยนต์ไร้คนขับในอนาคต โดยขณะนี้ ไปตู้มีการจ้างงานพนักงานในซิลิคอนแวลลีย์มากถึง 200 คน ซึ่งเน้นการทำงานในขอบเขตเรื่องเทคโนโลยีAI การแปลภาษาอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และการขับเคลื่อนอัตโนมัติ โดยไป่ตู้เป็นหนึ่งในบริษัทแรก ๆ ที่ยื่นขอใบอนุญาตการทดสอบรถยนต์ไร้คนขับในแคลิฟอร์เนีย และได้รับการอนุมัติในปี 2016 

ด้านบริษัทไบต์แดนซ์ ผู้ให้บริการโซเชียลมีเดียที่กำลังมาแรงอย่างมากในขณะนี้ ด้วยการทำงานของ AI ที่ชาญฉลาด ทำให้การใช้งานนั้นถูกใจผู้ใช้โซเชียลมีเดียอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มที่ชื่นชอบการชมวิดีโอคลิปแบบสั้น ล่าสุด ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ทางบริษัทไบต์แดนซ์สามารถระดมทุนจนบริษัทมีมูลค่าทางการตลาดสูงถึง 75,000 ล้านดอลลาร์ ไปเรียบร้อยแล้ว โดยสิ่งหนึ่งที่ทำให้ไบต์แดนซ์ประสบความสำเร็จอย่างมากก็คือ ความนิยมที่ไม่เพียงแต่เป็นที่ยอมรับในจีนเท่านั้น แต่ยังสามารถครองใจผู้ใช้งานจำนวนมากในสหรัฐฯ ได้อีกด้วย

ด้านบริษัทตีตีชูสิง ผู้ให้บริการเรียกรถโดยสารรายใหญ่จากจีน ปัจจุบันมีมูลค่าทางการตลาดมากถึง 56,000 ล้านดอลลาร์ โดยหลังจากที่สามารถเอาชนะและผลักบริษัทอูเบอร์ออกจากจีนแผ่นดินใหญ่ไปได้แล้วในปี 2016 ขณะนี้ กำลังเดินหน้าเปิดศึกกับอูเบอร์ทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทีมงานของตีตีชูสิงที่ประจำการอยู่ในซิลิคอนแวลลีย์กำลังเร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์และความปลอดภัยของเทคโนโลยีสำหรับให้บริการในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศบราซิล เม็กซิโก ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น นอกจากนั้น บริษัทตีตีชูสิงเองยังได้รับใบอนุญาตให้สามารถทดสอบการขับขี่ในแคลิฟอร์เนียได้แล้วเช่นกันเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา นอกจากนี้ ในปี 2017 ตีตีชูสิงได้เปิดตัว ตีตีแล็บ ศูนย์วิจัยในเมาน์เทนวิว ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจากสำนักงานของกูเกิลอีกด้วย


Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog