ไม่พบผลการค้นหา
The Toppick - นักจิตวิทยาชี้ ทัศนคติต่อความรุนแรงในฮ่องกงเปลี่ยนไปแล้ว - Short Clip
The Toppick - ส่องนโยบาย 'อาเบะโนมิกส์' ขึ้นภาษีการขายทั่วญี่ปุ่น - Short Clip
The Toppick - ศาลสูงอียูตัดสิน 'กูเกิล' ไม่ต้องให้ 'สิทธิที่จะถูกลืม' ในพื้นที่นอกยุโรป - Short Clip
The Toppick - 'เงินบาทแข็ง' กระทบการท่องเที่ยวไทย - Short Clip
The Toppick - โลกร้อนอาจทำให้คนกัมพูชาอดตาย - Short Clip
The Toppick - โครงการรถไฟความเร็วสูงไทยชะงัก เพราะยังไม่รู้จะกู้จีนดีไหม - Short Clip
The Toppick - ศิลปินตุรกีติดรองเท้า 440 คู่บนกำแพงรำลึกถึงผู้หญิงที่ 'ถูกฆ่า' - Short Clip
The Toppick - 'แก่ก่อนรวย' เศรษฐกิจไทยพัฒนาไม่ทันสังคมสูงวัย - Short Clip
The Toppick - ไฟป่าลุกลามแอมะซอน เราช่วยอะไรได้บ้าง? - Short Clip
The Toppick - หนูอาจช่วยตรวจจับ 'Deepfakes' ได้ - Short Clip
The Toppick - รบ.ทหารซูดานลงนามข้อตกลงเปลี่ยนผ่านสู่รบ.พลเรือน - Short Clip
The Toppick - อียูรับรอง 'สิทธิในการซ่อม' เครื่องใช้ไฟฟ้า - Short Clip
The Toppick - เยอรมนี เตรียมออกกฎหมายแบนถุงพลาสติก - Short Clip
The Toppick - วิกฤตเศรษฐกิจอาร์เจนตินา เพิ่มความเสี่ยงติดโรคทางเพศ - Short Clip
The Toppick - หนี้เสียของจีน เพิ่มขึ้น 10% ภายในเวลา 6 เดือน - Short Clip
The Toppick - แอปเปิลโวย 'กูเกิล' ทำคนเข้าใจผิดเรื่อง iOS ถูกแฮ็ก - Short Clip
The Toppick - คนรวยในฮ่องกงลงทุนย้ายประเทศ หลังประท้วงรุนแรง - Short Clip
The Toppick - อีเมลหลอกลวงทำบริษัทสูญเงินหลายหมื่นล้าน - Short Clip
The Toppick - มาตรการแบนขวดพลาสติกในสนามบินได้ผลหรือไม่? - Short Clip
The Toppick - บังกลาเทศเลิกระบุคำว่า 'หญิงพรหมจรรย์' ในใบสมรส - Short Clip
The Toppick - มองประท้วงฮ่องกงผ่านสายตาของแรงงานฟิลิปปินส์ - Short Clip
Sep 20, 2019 00:04

แรงงานชาวฟิลิปปินส์สะท้อนมุมมองการประท้วงต่อต้านรัฐบาลฮ่องกงและจีนที่ดำเนินมานานหลายเดือน เห็นใจผู้ประท้วง แต่การประท้วงก็เปิดโอกาสให้นายจ้างเอาเปรียบจนไม่ได้หยุดสุดสัปดาห์

ปัจจุบัน ชาวฟิลิปปินส์มากกว่า 130,000 คนทำงานอยู่ในฮ่องกง โดยส่วนมากเป็นอาชีพแม่บ้าน มีวันหยุดเพียง 1 วันต่อสัปดาห์คือวันอาทิตย์ ซึ่งจะเป็นวันที่แรงงานฟิลิปปินส์และแรงงานข้ามชาติอื่นๆ มาพบปะสังสรรค์ รวมถึงจับจ่ายใช้สอยในใจกลางฮ่องกงอย่างย่านเซนทรัล ซึ่งเป็นจุดที่ชาวฮ่องกงมักไปรวมตัวกันชุมนุมต่อต้านรัฐบาลฮ่องกงและจีน

นับตั้งแต่เดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา ชาวฮ่องกงออกมาประท้วงรัฐบาลกันทุกสุดสัปดาห์ เพื่อให้รัฐบาลถอนกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดนให้จีนแผ่นดินใหญ่อย่างถาวร และเรียกร้องไม่ให้จีนเข้าแทรกแซงสิทธิเสรีภาพของชาวฮ่องกง โดยมีการประเมินว่า จำนวนผู้เข้าร่วมชุมนุมเคยแตะ 2 ล้านคนมาแล้ว และแม้รัฐบาลจะออกมาประกาศว่าจะยอมถอนกฎหมายดังกล่าวอย่างถาวรแล้ว แต่ผู้ชุมนุมก็ยังประท้วงให้รัฐบาลทำตามข้อเรียกร้องอื่นๆ ที่เคยเสนอไปก่อนหน้านี้ เช่น ตั้งคณะกรรมการอิสระสอบสวนการใช้ความรุนแรงของตำรวจ ปล่อยตัวผู้ประท้วงที่ถูกจับระหว่างการปราบปรามครั้งก่อนๆ เป็นต้น

สำนักข่าวโกลบอลวอยซ์ได้สัมภาษณ์ “เอเลนา” นามแฝงของแรงงานข้ามชาติที่เข้าไปทำงานที่ฮ่องกงมามากกว่า 10 ปีผ่านทางอีเมล เธอยังเป็นอาสาสมัครทำงานผลักดันเรื่องสิทธิแรงงานข้ามชาติในหลายองค์กรอีกด้วย โดยเอเลนาอธิบายว่า แรงงานชาวฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่รู้สึกเห็นใจผู้ประท้วง แต่ก็ไม่กล้าไปเข้าร่วมการประท้วง

เอเลนาระบุว่า ผู้ประท้วงส่วนใหญ่ยังอายุน้อย หลายคนเติบโตอยู่ในบ้านที่แรงงานฟิลิปปินส์ทำงานเป็นแม่บ้าน ช่วยเลี้ยงเด็กเหล่านี้มาตั้งแต่ยังเล็ก ชาวฟิลิปปินส์ส่วนมากในฮ่องกงก็ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดนเช่นกัน

เอเลนากล่าวว่า เธอยังไม่เคยเห็นใครออกมาพูดอย่างเปิดเผยว่าสนับสนุนกฎหมายนี้เลย ชาวฟิลิปปินส์บางคนก็ไปร่วมเดินขบวนประท้วงจากสวนสาธารณะวิกตอเรียพาร์กไปยังเซนทรัลด้วย ส่วนบางคนก็ยังไม่กล้าไปร่วมนัก เพราะเกรงว่าจะกระทบกับการทำงานและสถานะวีซ่าของตัวเองในฮ่องกง แม้จะไม่มีข้อห้ามใดๆ ไม่ให้แรงงานข้ามชาติไปร่วมการประท้วง

การเดินขบวนประท้วงของชาวฮ่องกงก็กระทบกับชุมชนชาวฟิลิปปินส์อยู่บ้าง จากเดิมที่จะไปพบปะสังสรรค์ นั่งปิกนิกกินข้าวกันบริเวณถนนชาร์เตอร์ทุกวันอาทิตย์ที่หยุดงาน ก็ต้องยกเลิกแล้วไปนัดเจอกันที่อื่นแทน

เสี่ยงตกงาน แรงงานบางคนเปิดเผยว่า นับตั้งแต่มีการประท้วง วันหยุดพักผ่อนของพวกเขาเปลี่ยนไป ไม่ได้เจาะจงเป็นวันอาทิตย์อย่างที่เคยเป็น แต่ต้องขึ้นอยู่กับตารางการชุมนุม ทำให้หลายคนไม่ได้ใช้เวลากับครอบครัวและเพื่อนฝูง บางคนจะต้องไปทำงานตั้งแต่เช้าจนถึง 14.00 น. แล้วรีบออกจากย่านเซนทรัลก่อน 15.00 น.เพื่อหลีกเลี่ยงการชุมนุม ซึ่งอาจทำให้มีการปิดสถานีรถไฟ หรือโดนลูกหลงแก๊สน้ำตา

แรงงานบางคนแสดงความกังวลว่า พวกเขาอาจตกงานหรือได้รับผลกระทบด้านความมั่นคงปลอดภัย เพราะนายจ้างบางคนก็ฉวยโอกาสไม่ให้แม่บ้านชาวฟิลิปปินส์หยุดงาน ขณะเดียวกัน แรงงานชาวฟิลิปปินส์ก็ไม่พอใจอย่างมากที่รัฐบาลฟิลิปปินส์เสนอให้มีมาตรการแบนไม่ให้ชาวฟิลิปปินส์เดินทางไปทำงานที่ฮ่องกงชั่วคราว หลังจากมีข่าวการประท้วง

ชาวฟิลิปปินส์จำนวนมากมองว่า มาตรการของกระทรวงแรงงานและการจ้างงานของฟิลิปปินส์รุนแรงเกินกว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในฮ่องกง และหากมีผลบังคับใช้ก็ไม่ได้ช่วยให้แรงงานชาวฟิลิปปินส์ปลอดภัยขึ้น มีแต่จะทำให้สูญเสียรายได้ ทำให้ชีวิตยากลำบาก และกีดกันโอกาสในการมีงานทำ

ชาวฟิลิปปินส์เห็นว่า สถานการณ์ในฟิลิปปินส์ยังอันตรายกว่าฮ่องกงเสียอีก เพราะบางพื้นที่ก็ยังมีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน มี “ทีมสังหาร” เพ่นพ่านทั่วประเทศคอยโจมตีใส่ชุมชนคนจนและนักปกป้องสิทธิต่างๆ

สื่อชอบลงภาพการปะทะระหว่างผู้ชุมนุมกับตำรวจ เอเลนาตั้งข้อสังเกตว่า การประท้วงรอบนี้ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนอย่างมาก และสื่อดูจะชอบการชุมนุมครั้งนี้มากกว่าเมื่อตอนปฏิวัติร่มเมื่อปี 2014 แต่การรายงานข่าวการชุมนุมคราวนี้ก็ไม่ค่อยสม่ำเสมอนัก เพราะพาดหัวข่าวต่างๆ มักจะไปให้ความสนใจกับการปะทะกันระหว่างผู้ประท้วงกับตำรวจ

ขณะเดียวกัน สื่อก็ไปให้ความสำคัญกับธงสหรัฐฯ และอังกฤษมากเกินไป จนเหมือนผู้ประท้วงส่วนใหญ่สนับสนุนให้ชาติตะวันตกเข้าไปแทรกแซงการเมืองฮ่องกง ซึ่งไม่เป็นความจริง ประชาชนรู้สึกโกรธเคืองการรับมือสถานการณ์ของรัฐบาลฮ่องกงมากกว่า โดยเฉพาะการใช้ความรุนแรงเกินเหตุของตำรวจ

นอกจากนี้ เอเลนายังแนะนำผู้ชุมนุมว่า ควรกระตุ้นให้แรงงานทั่วไปเข้าร่วมการชุมนุมด้วยการเชื่อมโยงประเด็นของชนชั้นแรงงานเข้ากับการต่อสู้ เช่นเรื่องค่าแรงที่ต่ำ ค่าที่อยู่อาศัยที่แพง บริการทางสังคมที่ย่ำแย่ลง โดยเฉพาะด้านสาธารณสุข การศึกษา และบริการดูแลผู้สูงอายุ

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog