ไม่พบผลการค้นหา
'รธน.60 - รัฐประหาร' ถ่วงการพัฒนาประเทศ
พรรคการเมืองใหม่ประสานเสียงไม่เอา 'นายกฯ คนนอก' พร้อมเป็นฝ่ายค้านที่เข้มแข็ง
ม.44 ก็เอาไม่อยู่!! ‘อ.ปริญญา’เตือน คสช.เลื่อนเลือกตั้งทำคนไม่พอใจ อย่าพาสังคมถลำลึก
Wake Up News - 'สนธยา' ขอโอกาส ติวเข้มการเมือง 'บิ๊กตู่' - Short Clip
'ประชานิยม: ความรู้ฉบับพกพา' ทำความเข้าใจทำไม 'ทักษิณ' ชนะเลือกตั้ง
Wake Up News - 'สุดารัตน์' ซัด 'ประยุทธ์' อย่าแอบปูทางอำนาจ - Short Clip
Wake Up News - ศาล รธน. อีก 1 ความหวังคลายล็อกพรรคการเมือง - Short Clip
'ปฏิรูปตำรวจ' ต้องยกเลิกโครงสร้างอย่างกองทัพ
Wake Up News - 'สนช.' รับร่างกฎหมายประชารัฐ - Short Clip
Wake Up News - 3 รมต.สมัคร พปชร.ชู 'บิ๊กตู่' เป็นนายกฯ - Short Clip
Wake Up News - 'สุเทพ' ไลฟ์สดการเมืองแต่ไม่ผิด - Short Clip
Wake Up News - 'แรมโบ้อีสาน' ขนเครือข่ายสมัคร พปชร. - Short Clip
Wake Up News - นายกฯ ทำงานหนัก ถ้าเป็นอะไรไปใครรับผิดชอบ - Short Clip
Wake Up News - จับตาอาทิตย์ 1 เมษาฯ 'สมคิด' ร่วมก๊วนบ้านริมน้ำ - Short Clip
ปล่อยตัวแล้ว!! 'สมยศ' พร้อมเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยเรียกร้องการเลือกตั้ง
Wake Up News - จะเป็นไปได้ไง! เจ้าสัวซีพี เสียบ เก้าอี้นายกฯ - Short Clip
Wake Up News - อย่าเหนียม! ยอมรับเถอะพลังดูด 4 หมื่นล้าน - Short Clip
Wake Up News - ไม่ได้ดูดส.ส. แค่ต้องการคนทำประโยชน์เพื่อชาติ? - Short Clip
Wake Up News - คนเพื่อไทยย้ายซบ ทษช. ไม่มีขัดแย้ง - Short Clip
ป่าแหว่งเชิงดอยสุเทพ สะท้อนวิกฤตอภิสิทธิ์ชน?
มอง ‘ออเจ้า’ อย่างเท่าทัน ‘โหยหาอดีต’ เครื่องมือสยบการเมืองขัดแย้ง
Apr 24, 2018 05:25

นักวิชาการเตือนหวนอดีตหอมหวานได้ แต่อย่าลืมทบทวนความผิดพลาดเป็นเครื่องเตือนใจ เท่าทัน ‘ออเจ้า’ ในฐานะกลไกการปกครองของรัฐที่ไม่ได้มีเพียงรัฐธรรมนูญหรือการดูดส.ส. แต่รวมถึงศิลปะวัฒนธรรมการแสดง ขณะที่ปัญหาของประวัติศาสตร์ชาติคือเขียนโดยรัฐส่วนกลาง ไม่สามารถดึงท้องถิ่นมารวมได้

23 เม.ย.61 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย จัดเสวนา ‘Period Addict เพราะชีวิตขาดอดีตไม่ได้’ วิทยากรประกอบด้วย นายอนุสรณ์ อุณโณ คณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายชาตรี ประกิตนนทการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นายตามไท ดิลกวิทยรัตน์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นายชาตรี ประกิตนนทการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวว่า การโหยหาอดีตของคนในสังคมไทย จำเป็นที่จะต้องผลักดันหรือสร้างสปิริตที่โหยหาอดีตโดยการวิพากษ์วิจารณ์อดีต มีเสรีภาพในการตีความอดีตแบบใหม่ๆ ไม่มองอดีตในฐานะที่เป็นแบบแผนตายตัวที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง การสร้างสปิริตแบบนี้ถ้ามองผ่านงานสถาปัตยกรรม ประเทศเยอรมันนี ก็มีตัวอย่างที่น่าสนใจ เช่น อนุสรณ์สถานการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว เปิดเป็นทางการ พ.ศ.2548

บางคนบอกว่า เป็นอนุสรณ์สถานที่ระลึกถึงการกระทำที่น่าละอายในอดีตของชาติตนเอง ซึ่งสปิริตแบบนี้เราควรผลักดันเพราะอดีตจะมีความสวยงามหอมหวานอยากย้อนไปยังไงก็ได้ แต่ในอีกด้านต้องพูดถึงด้านลบด้วยว่ามีอะไรผิดพลาดและต้องสร้างขึ้นเตือนใจ

ขณะที่ในประเทศไทยไม่มีอนุสรณ์สถานแบบนี้ เพราะ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาฯ ก็ไม่ได้เตือนใจเรื่องความผิดพลาดของรัฐ ส่วนที่ใกล้เคียงแต่ยังไม่ใช่คือ อุทยานประวัติศาสตร์ถังแดงจังหวัดพัทลุง ดีกว่าอนุสรณ์สถาน 14 ตุลาฯ นิดนึง ฉะนั้น การสร้างอนุสรณ์สถานรำลึกความผิดพลาดในอดีต จะเป็นงานสถาปัตยกรรมที่ทำให้สปิริตในการมองอดีตตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นได้ และโหยหาอดีตอย่างฉลาดมีประสิทธิภาพ

นายตามไท ดิลกวิทยรัตน์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ปัญหาคือประวัติศาสตร์ชาติมักจะถูกเขียนโดยชนชั้นนำในกรุงเทพฯ เพราะฉะนั้น มุมมองของประวัติศา���ตร์ชาติจึงค่อนข้างแคบ คือไม่สามารถรวมเอาคนอื่นๆ มาอยู่ในเรื่องเล่าของชาติได้ทั้งหมด ฉะนั้น ลักษณะแบบนี้เราต้องการคนที่เขียนประวัติศาสตร์ชาติโดยมีภูมิปัญญา ซึ่งบางยุคบางสมัยอาจจะมีปัญญาชนแบบนั้นในฝ่ายอนุรักษ์นิยมอยู่บ้าง เช่น พระยาอนุมานราชธน และ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ซึ่งพยายามเขียนประวัติศาสตร์ชาติโดยดึงคนหลายกลุ่มรวมทั้งวัฒนธรรมท้องถิ่นต่างๆ เข้ามา

ฉะนั้น ประวัติศาสตร์ชาติของรัฐ สามารถประสบความสำเร็จได้เฉพาะบางช่วง เมื่อปัจจัยหรือเงื่อนไขเอื้อ นอกจากมีฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่เก่งแล้ว ต้องมีการระดมทรัพยากรของรัฐอย่างมีทิศทางเพื่อสร้างประวัติศาสตร์ชาติอย่างเป็นเอกภาพ ซึ่งช่วงหลังไม่ประสบความสำเร็จในการสร้างสำนึกโหยหาอดีตอย่างที่รัฐคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์

จากปรากฏการณ์ปัจจุบัน การหยิบอดีตมาใช้มักได้ผลเมื่อการเมืองมีความขัดแย้งสูงและการใช้อดีตตอบสนองทุนซึ่งประสบความสำเร็จบางครั้ง ไม่ใช่ทุกครั้ง

นายอนุสรณ์ กล่าวว่า ประวัติศาสตร์ 2475 ถูกทำให้เลือนหายไปจากความทรงจำ เช่นกรณีหมุดคณะราษฎรที่หายไป ขณะเดียวกันมีความพยายามเขียนประวัติศาสตร์แบบใหม่ขึ้นมา ความน่าสนใจคือ เราจะเห็นกิจกรรมที่พาจังหวะอารมณ์ของสังคมกลับไปสู่ยุคไพร่ฟ้าหน้าใส เป็นกิจกรรมเพื่อให้ประชาชนรู้สึกยินดีปรีดา ได้อยู่ในแผ่นดินทอง แต่งชุดไทยไปเที่ยว

รวมถึงกรณีมีหนังสือ “ประวัติศาสตร์ชาติไทย” ของกรมศิลปากรที่พิมพ์ในปี 2558 บันทึกถึง คสช. ขณะที่ผ่านมาไม่กี่ปีบางอย่างอาจจะไม่ได้เป็นอย่างที่บันทึกไว้ เนื่องจากเหตุการณ์เพิ่งเกิดขึ้น แต่กลับเอาไปใส่หนังสือชื่อ “ประวัติศาสตร์ชาติไทย”

กล่าวโดยสรุปคือกระแสบุพเพสันนิวาส การโหยหาอดีตไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญคือเกิดจากการบรรจบของการแสการโหยหาอดีตโดยเฉพาะความเป็นไทยเหมือนน้ำคอยหล่อเลี้ยงให้ผู้คนได้แสดงออกสร้างตัวตนอัตลักษณ์ท่ามกลางความสับสนไม่แน่ใจในอนาคตโดยเฉพาะคนสมัยปัจจุบัน

อีกประการคือเกิดขึ้นท่ามกลางการขับเคี่ยวของการเมืองเฉพาะหน้า ซึ่งแนวปะทะของการเมืองตอนนี้ คสช. อยู่ในอำนาจมาจะครบ 4 ปีแล้ว ขณะเดียวกันก็มีวาระการเลือกตั้งที่กำลังเกิดขึ้นในไม่ช้า ท่ามกลางการให้คำมั่นสัญญาของ คสช. ไม่ว่าจะแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น การปฏิรูป เมื่อไม่เป็นมรรคผล ขณะเดียวกันก็เผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงหรือความท้าทายใหม่ๆ เราจะเห็นการเกิดขึ้นของพรรคอนาคตใหม่ หรือการเสนออะไรใหม่ๆ ท่ามกลางการขับเคี่ยวทางการเมือง โดยที่ คสช. ไม่สามารถให้หลักประกันได้ว่าอนาคตข้างหน้าจะดีได้อย่างไรภายใต้การนำของตัวเอง

สิ่งหนึ่งซึ่งคนที่อยู่ในอำนาจจะทำได้คือกลับไปหาอดีต สร้างว่าตรงนั้นเป็นยุคทอง เช่น สมัยพระนารายณ์ ในบุพเพสันนิวาส จึงเป็นจังหวะแบบนี้

แล้วเราจะทำความเข้าใจ การคืนกลับมาของกระแสโหยหาอดีตระลอกล่าสุด ภายใต้บริบทการขับเคี่ยวทางการเมืองนี้อย่างไร ในแง่หนึ่งต้องรู้เท่าทัน โดยทางสังคมศาสตร์มีทฤษฎีที่จะอธิบายการครองอำนาจชนชั้นปกครอง เช่น ไม่ได้ปกครองด้วยเพียงกฎหมาย กองทัพ หรือปืน หรือกระบวนการยุติธรรมเท่านั้น แต่เขาใช้กลไกเชิงอุดมการณ์ผ่านโรงเรียน ผ่านศิลปะ วัฒนธรรม การแสดง ซึ่งในแง่นี้ เราจะเห็นความพยายามของชนชั้นปกครอง ไม่ได้ใช้แค่รัฐธรรมนูญ หรือการดูดส.ส. นอกจากนั้น สร้างสภาวะการนำทางการเมืองศีลธรรมและปัญญา โดยการชี้ชวนให้ชนชั้นพันธมิตรเชื่อว่า ชนชั้นปกครองสามารถปกป้องดูแลผลประโยชน์ของชนชั้นอื่นได้ดีที่สุด ดังนั้น ชนชั้นอื่นต้องช่วยดูแลปกป้องผลประโยชน์ชนชั้นปกครองเช่นเดียวกัน

แม้กระทั่งละครบุพเพสันนิวาส ทำให้เห็นว่าชนชั้นล่างอยู่สบายภายใต้การปกครองของชนชั้นปกครอง ในแง่หนึ่งจึงเป็นกลยุทธ์เพื่อรักษาการนำ แต่ไม่ว่าจะเป็นกลไกไหน ก็มีรอยแยกให้มีผู้คนเข้าไปฉวยใช้และต่อต้านได้เสมอ ภายใต้การโหมกระพือของรัฐ เช่น เรียกนักแสดงเข้าพบหรือสนับสนุนให้สร้างต่อ

ถ้าอยากหลุดจากมนต์สะกดตรงนี้ ก็จำเป็นต้องสร้างทางเลือก เช่น การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อชี้ให้เห็นว่าการเล่าเรื่องภายใต้ประวัติศาสตร์ราชาชาตินิยมได้ละเลยความแตกต่างหลากหลายของผู้คน การต่อสู้ดิ้นรนเพื่อเป็นอิสระจากรัฐส่วนกลาง มีตัวตนโดยไม่ต้องยึดโยงเรื่องเล่าส่วนกลางเท่านั้น





Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog