ดูไบเปิดเผยโฉมหน้าห้องโดยสารไฮเปอร์ลูป การคมนาคมขนส่งไร้แรงเสียดทานด้วยความเร็วเหนือเครื่องบิน คาดว่าจะสามารถพัฒนาจนใช้งานได้จริงภายใน 5 ปีข้างหน้า
ไฮเปอร์ลูปถูกคาดหวังว่าจะเป็นการเดินทางแห่งอนาคต เพราะว่าเป็นระบบที่สามารถพาผู้โดยสารเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้รวดเร็วที่สุด และขณะนี้ก็มีหลายๆเมืองทั่วโลกที่มีแผนจะนำระบบไฮเปอร์ลูปเข้ามาใช้แล้ว และดูไบก็เป็นหนึ่งในนั้น
เว็บไซต์ economic times รายงานว่า Virgin unveils prototype of Hyperloop pod in Dubai บริษัท 'เวอร์จิน ไฮเปอร์ลูป วัน' ได้เปิดเผยโฉมหน้าตาห้องโดยสารรุ่นโปรโตไทป์ของระบบไฮเปอร์ลูปคือระบบโดยสารแบบไร้แรงเสียดทาน ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยความเร็วถึง 1,200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
เป็นการเปิดตัวภายในงานจัดแสดงเทคโนโลยีด้านการขนส่งในนครดูไบ ซึ่งก็ได้รับความสนใจจากผู้ชมงานจำนวนมาก เพราะห้องโดยสารภายในถูกตกแต่งด้วยลักษณะหรูหราและล้ำสมัย คล้ายกับเทคโนโลยีที่มาจากอนาคต ที่สำคัญคือมีพื้นที่กว้างขวางอย่างมาก
การตกแต่งนั้นผนังด้านในสีขาวสะอาดตา พร้อมเบาะที่นั่งเรียบหรูสีครีมเบจ ประดับประดาไปด้วยหลอดไฟนีออนสีส้มและฟ้า มีที่วางแขนเป็นศูนย์รวมของอุปกรณ์เพื่อความบันเทิง ขบวนรถจะแบ่งเป็นสีแบบคือ Gold Class มีที่นั่งทั้งหมด 5 ที่นั่ง Silver Class มี 14 ที่นั่ง
สำนักงานถนนและการขนส่งของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือว่า RTA อธิบายว่าไฮเปอร์ลูปไฮเปอร์ลูปเป็นเทคโนโลยีการขนส่งที่นำระบบขับเคลื่อนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มาเพิ่มความเร็วของยานพาหนะ ซึ่งจะวิ่งลอยอยู่เหนือรางภายในอุโมงค์สุญญากาศ
เมื่อเปิดให้บริการจะช่วยร่นระยะเวลาการเดินทางระหว่างนครดูไบกับกรุงอาบูดาบีด้วยระยะทาง 139 กิโลเมตร เหลือเพียง 12 นาทีจากเดิมที่ต้องใช้เวลาเดินทางราว 90 นาทีด้วยรถยนต์ส่วนตัว และสามารถขนส่งผู้โดยสารได้ราว 10,000 คนต่อชั่วโมง และคาดว่าจะสามารถพัฒนาจนใช้งานได้จริงภายใน 5 ปีข้างหน้า
ทางการของดูไบชี้ว่าปัจจุบันมีรถยนต์เดินทางในเส้นทางดังกล่าว 4,000 คันต่อวัน ซึ่งเป็นการเดินทางที่ทำให้เสียเวลาอย่างมากของผู้คนมากมายในแต่ละวัน หากคิดเป็นการเสียโอกาสแล้วจะพบว่ามีมูลค่าสูงถึง 800 ล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับเวลาการทำงานที่จำเป็นต้องสูญเสียไปในการเดินทาง
อย่างไรก็ตามขณะนี้โครงการก่อสร้างยังเป็นเพียงแค่ข้อเสนออยู่ ยังจะต้องมีขั้นตอนของการเจรจาต่อเนื่องในอีกหลายเรื่อง ซึ่งขณะนี้นายร็อบ ลอยด์ CEO ของบริษัท Virgin Hyperloop One กำลังเร่งขยายไอเดียให้กับทางการสหรัฐฯอาหรับเอมิเรตส์ และระบุว่าเส้นทางรถไฮเปอร์ลูปสายนี้ซึ่งวิ่งตั้งแต่นครเจ็ดดาห์ ไปยังกรุงริยาร์ดของซาอุดีฯ ผ่านกรุงอาบูดาบี ไปสิ้นสุดที่นครดูไบ เป็นเหมือนกระดูกสันหลังที่เชื่อมระหว่างทะเลแดงและทะเลอาหรับ และจะพลิกหน้าประวัติศาสตร์ของการขนส่งสินค้า การคมนาคมของผู้คน และการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของภูมิภาคอย่างยิ่งยวด
***หลายคนสงสัยทำไมเครื่องบินยังคงใช้ความเร็วประมาณ 900 กม./ชม.ไม่พัฒนาให้มากเท่าไฮเปอร์ลูป***
1. การบินผ่านย่านความเร็วเสียง (ประมาณ 1000 กม./ชม.) จะใช้เชื้อเพลิงสูงมาก จนไม่คุ้มค่า
2. การลดเวลาลงจาก 7 ชม. เหลือ 3 ชม. ไม่ได้มีความหมายสำหรับทุกคน มันคุ้มแค่บางคนเท่านั้น
3. คนส่วนใหญ่คำนึงถึงค่าโดยสารที่ถูก มากกว่าจ่ายแพงๆเพื่อให้เร็วขึ้นไม่กี่ชม.
4. การทำความเร็วเหนือเสียง เครื่องต้องลดขนาดลงจนที่นั่งมันนั่งไม่สบาย
5. สุดท้ายจึงเป็นคำตอบว่า ทำไมการบินแค่ 900 จึงเป็นความเร็วที่คุ้มค่าที่สุดต่อทุกคนครับ