ไม่พบผลการค้นหา
ลำพูน..นคราประชาธิปไตย (ตอนที่ 2) ประชาธิปไตยใช้สำหรับรับประทาน
รายงานพิเศษ "ย้อนรอยสมรภูมิรามคำแหง" ตอนที่ 2 : ความรุนแรงนี้ของใคร?
ตรวจการบ้าน 1 ปีรัฐบาลยิ่งลักษณ์
เวทีปฏิรูป 1% ก็หรูแล้ว
ศาลฎีกาจัดให้ ม.112 กินความถึง 'รัชกาลที่ 4' แล้ว
กลุ่ม 29 มกรา หมื่นปลดปล่อย ประชาธิปไตย
ปชป.แถลงตรวจสอบผลงานรัฐบาล 1 ปี
ย้อนเหตุปะทะหลักสี่ ตอนที่ 1
อย่าปล่อยให้ ปรส. ลอยนวล
ปธ.ศาลรธน.ลาออกมีผล 1 ส.ค.นี้
1 ก.ย.นี้ ขึ้นราคา LPG ภาคครัวเรือน
ห้ามรถเก่าเข้ากรุง ห้ามคนจนเข้าเมือง
นายกคนกลางจบไม่ดีสักคน
แค่จะเข้า ม.1 ยังต้องพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์
สถานการณ์หนือคลี่คลาย-พิษณุโลกเตรียมรับน้ำ
พ.ร.บ.ความมั่นคง...มาแล้วจ้า
แพทย์ศิริราชเจ๋งอีกแล้ว
ระยองเตือนภัยระดับ 1 เหตุระเบิดรง.ในมาบตาพุด
ไม่มีปฏิรูปข้างเดียว มีแต่ปฏิเสธข้างเดียว
'ปลอดประสพ' ยืนยันรับมือน้ำท่วมได้
ลำพูน..นคราประชาธิปไตย (ตอนที่ 1) ประชาธิปไตยไม่ได้หล่นมาจากฟ้า
Mar 13, 2014 11:26
รายงานพิเศษ 'ลำพูน..นคราประชาธิปไตย' ตอนที่ 1  'ประชาธิปไตยไม่ได้หล่นมาจากฟ้า'
 
การเติบโตของประชาธิปไตย ในจังหวัดที่มีจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุด ติดต่อกันเป็นสมัยที่ 10 อย่างจังหวัดลำพูน ความตื่นตัวทางการเมืองนี้ มีที่ไปที่มาอย่างไร และท่ามกลางสถานการณ์ปัจจุบัน ที่มีผู้พยายามปฏิเสธระบบการเลือกตั้ง พวกเขาคิดอย่างไร
 
ลำพูน...จังหวัดเล็กๆแห่งหนึ่งในภาคเหนือ เกือบสุดชายขอบประเทศไทย แม้จะไม่ได้เป็นศูนย์กลางการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมาแต่กาลนาน แต่ก็เป็นหนึ่งในจังหวัดที่ขึ้นชื่อ ว่ามีความตื่นตัวด้านประชาธิปไตยมากที่สุด  และในปีนี้ ยังคงครองแชมป์จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุดอยู่ เป็นสมัยที่ 10 แล้ว
 
แม้จะมีความเข้าใจในแบบบ้านๆ ไม่มีความสลับซับซ้อนอะไรนัก แต่ชาวลำพูน กลับสามารถมองเห็นความสำคัญ ของการมีประชาธิปไตยและการเลือกตั้งได้เป็นอย่างดี  พร้อมตั้งข้อสงสัย และความกังวล ว่าทำไมคนส่วนหนึ่งในประเทศนี้ จึงอยากจะล้มประชาธิปไตยนัก?
 
ไม่เว้นแม้แต่พี่น้องชนเผ่าในชนบทอันห่างไกลจากตัวเมืองลำพูน ความตื่นตัวทางการเมืองจากโอกาสการได้รับข้อมูลข่าวสารที่เปิดกว้างขึ้น ทำให้พวกเขามีความคิด ความเข้าใจ ที่เมื่อได้ฟังแล้ว จะรู้สึกได้ถึงความเรียบง่าย แต่แฝงไปด้วยความลุ่มลึกอย่างคาดไม่ถึง
 
หากย้อนไปดูครั้งแรกที่จังหวัดลำพูน ได้แชมป์ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งสูงสุด คือการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปี 2544 หรือก็คือครั้งแรกที่มีการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2540 นั่นเอง  ปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ก็คือการที่นโยบายทางเศรษฐกิจและการเมือง ไม่ผูกพันอยู่กับสถาบันจากส่วนกลางอีกต่อไปแล้ว หากแต่อยู่ที่พรรคการเมืองที่ได้รับเลือกจากประชาชน จากสิ่งที่ประชาชนต้องการ
 
เหมือนกับเป็นบันไดสองขั้น ไปสู่สำนึกประชาธิปไตย ในวันนั้น พวกเขาอาจจะยังไม่เข้าใจดีพอ ว่าประชาธิปไตยคืออะไร พวกเขารู้เพียงแค่ว่าต่อจากนี้ไป การเลือกตั้ง จะไม่ใช่แค่การไปลงคะแนนให้ผู้สมัครอีกแล้ว หากแต่คือการไปใช้สิทธิเลือก ในสิ่งที่พวกเขาต้องการด้วยตนเอง
 
จนกระทั่งการรัฐประหารปี 2549 มาถึง การสูญเสียสิทธินี้ไป และต้องถูกยัดเยียดอะไรบางอย่างมาให้แทนที่โดยไม่ได้เลือก จึงทำให้พวกเขา เริ่มเข้าใจถึงความหมายของคำว่า "ประชาธิปไตย" มากขึ้น  เมื่อพวกเขา ต้องสูญเสียมันไป
 
ในวันที่ชนชั้นนำในเมือง เลือกที่จะปฏิเสธการมีสิทธิมีเสียงของตนเองและของผู้อื่น ชาวบ้านห่างไกลศูนย์กลาง ที่ริมชายขอบเหล่านี้ กลับเลือกที่จะให้ประชาธิปไตย มาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตทำให้เห็นได้ว่า บางที ประชาธิปไตย อาจจะไม่ได้มาจากสวรรค์เบื้องบนสูงส่ง หรือความรู้สูงศักดิ์ที่ไหน เพราะบางที มันก็เกิดขึ้นอย่างง่ายๆ เติบโต และหยั่งรากลง อยู่ในมือของพวกเราชาวดินนี่เอง
Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog