รายการ คิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา ประจำวันวันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม 2556
ปืนใหญ่พญาตานี จำลอง ที่ตั้งอยู่บริเวณหน้ามัสยิดกรือเซะ จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2556 แต่หลังจากนั้นเพียง 9 วัน ก็มีการวางระเบิดทำลายในวันที่ 11 มิถุนายน หักเป็นสองท่อนและต้องนำปืนใหญ่จำลองไปซ่อมแซมที่ช่างหมู่สิบ กรมศิลปากร จังหวัดนครปฐม ซึ่งปืนใหญ่กระบอกนี้ จำลองจากปืนใหญ่ของจริงที่วางไว้หน้ากระทรวงกลาโหม โดยใช้เวลาหล่อนานเกือบ 1 ปี เพราะมีส่วนประกอบเป็นเนื้อสัมฤทธิ์ มาจากทองแดงผสมดีบุกในอัตรา 30-70
เมื่อมีการซ่อมเสร็จแล้ว จะนำกลับมาอีกครั้งหรือไม่นั้น ทางจังหวัดอาจต้องทำเวทีรับฟังความคิดเห็นของคนหลายฝ่ายก่อนว่าจะต้องเอาปืนใหญ่พญาตานีจำลองกลับมาวางไว้ที่เดิมหรือไม่ เพราะเจ้าหน้าที่ในพื้นที่สันนิษฐานว่าการลอบวางระเบิดครั้งนี้มี 2 สาเหตุ คือ เกิดจากกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยหรือไม่พอใจที่ได้ปืนใหญ่พญาตานีจำลอง และเป็นการสร้างสถานการณ์กรณีฝ่ายรัฐเจรจากับฝ่าย BRN
แต่การลอบวางระเบิดครั้งนี้มีการพุ่งเป้าไปที่ชาวปัตตานี อยากได้ปืนใหญ่พญาตานีที่ตั้งอยู่หน้ากระทรวงกลาโหมมากกว่าปืนจำลอง แต่ไม่สามารถนำปืนใหญ่ของจริงกลับมาได้ เพราะเป็นสินสงคราม แม้ว่าทางการจะมองว่าการจำลองปืนใหญ่พญาตานี ไม่ได้ทำเพื่อซ้ำเติมหรือเหยียดหยามชาวปัตตานี แต่ต้องการทำเพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ สถานที่ท่องเที่ยว ให้แก่เยาวชนรุ่นหลังให้รู้ถึงความเป็นมาของประวัติศาสตร์ปัตตานี
ในเวปประชาไท ได้เอ่ยถึง ผู้ผลิตสารคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ให้ความเห็นเรื่องนี้ว่ามีคนที่ไม่เห็นด้วยกับการได้มาของปืนปลอม ชาวบ้านต้องการปืนใหญ่พญาตานีที่ตั้งอยู่หน้ากระทรวงกลาโหมกลับมา มากกว่าของจำลอง และซากปืนใหญ่ที่ถูกระเบิด ยังทำให้ชาวบ้านทราบว่า การจำลองไม่ได้มาตรฐาน เหมือนเศษเหล็กมากกว่าการหล่อด้วยทองเหลืองที่มีคุณภาพดี
คำผกาได้หยิบยกการให้สัมภาษณ์ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักประวัติศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กับมติชนทีวี ว่าปัตตานีและรัตนโกสินทร์ มันกลายเป็นบาดแผลประวัติศาสตร์ ซึ่งแผลยังไม่หาย แต่ดันไปสะกิดแผล
ปืนนางพญาตานี เป็นสัญลักษณ์ของการที่ปัตตานีสูญเสียความเป็นอิสระของตัวเองกับกรุงเทพ ฯและการที่ปัตตานีเอาปืนใหญ่มาเป็นตราประจำจังหวัด จึงคล้ายกับว่า ประวัติศาสตร์ยังมีชีวิตอยู่ หากจะเปรียบเทียบพญาตาปีกับการทวงทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ จากชิคาโก หากชิคาโดหล่อของปลอม ของจำลองมาให้ใช้ แล้วไทยเราจะคิดอย่างไรกับเรื่องนี้ เฉกเช่นเดียวกับปัตตานี
อาจารย์ชาญวิทย์ ยังมองว่าอะไรที่เป็นสัญลักษณ์ และอัตลักษณ์ ต่อให้เก่าอย่างไรก็มีชีวิต เช่นในกรณีการเผาสถานทูตไทยในกัมพูชา ปี 2546 ใช้สัญลักษณ์ ในการปลุกชาตินิยมกัมพูชา ใช้เรื่องการปล่อยข่าวลือ "กบ" สุวนันท์ คงยิ่ง พูดเรื่องถ้าไม่คืนนครวัดให้ไทย ก็จะไม่ไปกัมพูชา แล้วมีการปลุกปลั่นกระจนกระทั่งมีการเผาสถานทูต ดังนั้นหนทางสู่สันติภาพในภาคใต้จะเป็นเช่นไรต้องมาช่วยกันคิดเล่นเห็นต่างกันค่ะ