รายการคิดเล่นเห็นต่าง ประจำวันที่ 6 เมษายน 56
อาจารย์พวงทอง ภวคพันธ์ ได้แสดงความเห็นในแฟนเพจ คิดเล่นเห็นต่างถึงเมืองหนังสือโลกและมีประเด็นที่อยากแลกเปลี่ยนคือการที่เยาวชนหรือเด็กไม่ได้เข้าถึงการอ่านหนังสือเพราะอาจมีสาหตุหลายประการ เช่นหนังสือให้เด็กแต่ละวัยไม่พอ หรือมีนิยายเก่าๆเน่าๆ รวมทั้งโรงเรียนในต่างจังหวัดมีหนังสือไม่เพียงพอเป็นต้น
เด็กไทยเรียนหนักแค่ไหน?..จากข้อมูลของยูเนสโก้ ได้แสดงจำนวนชั่วโมงเรียนต่อปี ของเด็กระดับอายุ 9-13 ปี ในแต่ละประเทศ พบเด็กอายุ 9 ขวบเรียนหนักเป็นอันดับ 2 ของโลก 1,080 ชั่วโมงต่อปี ,ช่วงอายุ 10 ปี ติดอันดับ 1 ของโลก คือ 1,200 ชั่วโมง และช่วงอายุ 12 ปี ติดอันดับ 5 เรียน 1,167 ชั่วโมง, ช่วงอายุ 13 ปี ติดอันดับ 8 เรียน 1,167 ชั่วโมง,
ประเทศอินโดนีเซียเรียนหนักเป็นอันดับ 2 รองจากไทย จากเด็กอายุ 11 ปีคือเรียน 1,176 ชั่วโมงต่อปี อันดับ 3 ฟิลิปปินส์ 1,067 ชั่วโมงปี ,อันดับ 4 อินเดีย 1,051 ชั่วโมงต่อปี, อันดับ 11 มาเลเซีย 964 ชั่วโมง ,อันดับ 19 เยอรมนี 862 ชั่วโมงต่อปี ,อันดับ 28 จีน 771 ชั่วโมงต่อปี,อับดับ 30 ญี่ปุ่น 761 ชั่วโมงต่อปี
ข้อมูลของ World Bank ตีพิมพ์เมื่อเดือนมกราคม 2555 ได้ระบุว่า คะแนนการอ่าน (PISA reading) ของนักเรียนญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฮ่องกง เกาหลี จีนเซี่ยงไฮ้ จะเกาะกลุ่มกันอยู่ที่ระดับ 500 ส่วนไทยรั้งท้ายสุดอยู่กับอินโดนีเซีย อยู่ที่ระดับ 400 แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าอินโดนีเซีย ที่มีรายได้ต่อหัวเท่าๆกับไทยกลับมีแนวโน้มคะแนนการอ่านดีขึ้น ส่วนไทยนั้นกลับว่า ทางด้านคณิตศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ดีขึ้นในช่วงปี 2006-2009 แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเกาหลี จะพบว่าคะแนนกับจำนวนนักเรียน กลับหัวกลับหางกันมาก พบว่านักเรียนไทยอายุ 15 ปี ที่มีทักษะการอ่านต่ำกว่ามาตรฐานมีมากถึง 44.6% และมีเพียงไม่ถึง 5% เท่านั้นที่มีระดับสูง แต่ขณะที่เด็กเกาหลี 5.7% ที่ต่ำกว่ามาตรฐาน
ส่วนหนึ่งที่ทำให้การอ่านของเด็กเกาหลีดีขึ้นคือร้านหนังสือกรุงโซลใหญ่ๆเท่ากับห้างสรรพสินค้า มี 6-7 ชั้น ร้านหนังสือสามารถไปเดินเล่น กินกาแฟ ผจญภัยในหนังสือเล่มต่างๆ สามารถอยู่ในนั้นทั้งวัน และเมื่อออกจากร้านหนังสือ ก็จะมี Public Spaces หรือ Park เดินไปกินไอศกรีมได้ บรรยากาศส่งเสริมการอ่านมาก
อย่างไรก็ตามจากสถิติที่กล่าวมาทำให้ฉุกคิดขึ้นว่า เมื่อเด็กหนักอย่างนี้ทำทักษะการอ่านกลับต่ำลง เกิดอะไรขึ้นในระบบการศึกษาของไทย?