ไม่พบผลการค้นหา
ความจำเป็นของผลิตภัณฑ์เพื่อจุดซ่อนเร้นสำหรับผู้หญิง
บัญญัติ 10 ประการที่จะนำพรรคประชาธิปัตย์กลับมาสู่ความรุ่งโรจน์
ความเป็นไปได้ของการเคหะมวลชนในสังคมไทย
วิวาทะ แฟนเพจ
วรรณยุกต์ในภาษาไทยมีมาแต่โบราณการจริงหรือ?
COSPLAY คืออะไร
นิยายติดเรท บทอัศจรรย์ของยุคสมัยใหม่
เมืองออกแบบได้
มนุษย์ไม่ได้เกิดมาเพื่อที่จะรักเดียวใจเดียว
บทเรียนของเทย์เลอร์รีพอร์ตเปรียบกับรายงานคอป.
ทำไมประเทศไทยจึงได้ชื่อว่าเป็น “ซ่อง”ของโลก
ที่มาของเทพนิยาย
นางสาวสยาม สตรีผู้เป็นศรีสง่าแห่งรัฐธรรมนูญ
จาก OVOP ถึง OTOP
การขุดค้นหาตัณหาของผู้หญิง
รัฐไทยไม่เคยแทรกแซงตลาดการค้าข้าวจริง?
ประวัติและผลงาน ก้าวย่างที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงของพรรคประชาธิปัตย์
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนกับความเป็นไปได้
ภาษาสก๊อยกับสังคมวิทยาภาษาศาสตร์
อดีต ปัจจุบันและอนาคตของเชียงใหม่
พื้นที่ของเพศทางเลือกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Aug 25, 2012 12:09

รายการ คิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา  ประจำวันที่ 25  สิงหาคม 2555  

 
 
ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเขตที่มีกลุ่มวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ที่แตกต่างหลากหลายทั้งในเขตพื้นทวีปและเขตมหาสมุทร กลุ่มคนแต่ละกลุ่มจะมีขนบธรรมเนียมประเพณีและความเชื่อของตนเองซึ่งสัมพันธ์กับการแสดงออกทางเพศ
 
 
รายการคิดเล่นเห็นต่างกับคำผกาวันเสาร์นี้ เราได้ยกบทความของดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ ซึ่งได้ถ่ายทอดบนเว็บไซต์ของศูนย์มานุษย์วิทยาศิรินทรขึ้นมาเป็นหัวข้อในการคิดเล่นเห็นต่างวันนี้ ในบทความได้กล่าวถึง "พื้นที่ทางวัฒนธรรมของ คนข้ามเพศ และ คนรักเพศเดียวกัน" ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นเขตที่มีกลุ่มวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ที่หลากหลาย กลุ่มคนแต่ละกลุ่มจะมีจะมีขนบธรรมเนียมประเพณีและความเชื่อของตนเองซึ่งสัมพันธ์กับการกับแสดงออกทางเพศ และมีสิ่งที่น่าสนใจคือคนในภูมิภาคนี้คุ้นเคยกับการแสดงออกแบบ "ข้ามเพศ" ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ตรงข้ามกับเพศกำเนิด 
 
 
พฤติกรรมข้ามเพศ รักต่างเพศ ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่ได้รับการยอมรับจากชาวยุโรปที่เดินทางเข้ามาติดต่อทางการค้าและเผยแพร่ศาสนา เมื่อคนเหล่านี้ไม่ได้รับการยอมรับในสังคม คนข้ามเพศและคนรักเพศเดียวกันจึงถูกลดบทบาทและคุณค่าลง เมื่อวิธีคิดแบบตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ ทำให้สถานะของคนข้ามเพศและคนรักเพศเดียวกันจะถูกมองเป็นเรื่อง "ผิดปกติ" จนคนกลุ่มนี้ต้องแสวงหาเครื่องมือใหม่ๆมาใช้เพื่อสร้างพื้นที่ให้เกิดการยอมรับ ดังนั้นพื้นที่ทางวัฒนธรรมจึงเป็นสิ่งเดียวที่ยังรองรับการแสดงบทบาทของคนข้ามเพศอย่างเช่นในพิธีกรรมทางศาสนา การบูชาวิญญาณ 
 
 
ในพม่า มีความเชื่อในเรื่องของวิญญาณให้กลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และมีผลต่อการดำรงชีวิต ชาวพม่าเรียกว่า "ผีนัต" (Nat Pwe)   ผีนัตคือร่างทรงผู้ทำหน้าที่ติดต่อกับวิญญาณซึ่งผู้ที่จะทำหน้าที่นี้จะเป็นชายหรือเป็นบุคคลข้ามเพศก็ได้ ซึ่งนี่ก็เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่บุคคลข้ามเพศได้รับการยอมรับทางสังคมอย่างถูกต้อง 
นอกจากในพม่าแล้ว ยังมีในวัฒนธรรมของชาวบูกิส ชาวอีบัน ชาวนกาจู ดายัค ในเขตตอนใต้ของซูราเวสีประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีร่างทรงเป็นคนสองเพศที่เรียกว่า Bissu  ในประเทศกัมพูชา วัฒนธรรมของชาวมอญได้กำหนดให้ ผู้ที่จะเข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ ก่อนวันบวช ผู้บวชจะต้องแต่งกายเป็นสตรี สวมผ้านุ่ง ผ้าสไบ ใส่เครื่องประดับแต่งหน้าทาปากเช่นเดียวกับสตรี และจะเรียกวันนี้ว่า "วันสุกดิบ" 
 
 
สำหรับในประเทศไทยแล้ว การแสดงออกในพฤติกรรมข้ามเพศจะพบเห็นได้จากการแสดงละครชาตรี โนรา ละครนอก ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น  ปัจจุบันการเรียกร้องพื้นที่ของคนข้ามเพศหรือคนรักเพศเดียวกันมีมากขึ้น ดังที่เห็นในข่าวว่านักศึกษาที่เป็นสาวประเภทที่สองของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยื่นเรื่องจนสามารถแต่งผู้หญิงเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรได้ เมื่อแพทย์วินิจฉัยออกมาแล้วเธอมีความผิดปกติเกี่ยวกับสภาวะทางเพศและต้องได้รับการรักษา 
 
 
ติมตามเรื่องราวของ พื้นที่ของเพศทางเลือกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นี้ได้ในคืนนี้ค่ะ
Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog