ไม่พบผลการค้นหา
อาหารเกียวโต... วัฒนธรรมไร้รูป มรดกโลก
นิตยสารเกย์ ในเมืองไทย
ความขาว การเมือง เชื้อโรค
ชำแหละแฟชั่น เลดี้กาก้า
คุณค่าของอุดมการณ์เสรีนิยมในประเทศอังกฤษกับกรณีภาพเปลือยของเจ้าชาย "แฮรี"
ความหมายและหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์ (ตอนจบ)
การเมืองในแบบเรียนประวัติศาสตร์ไทย
กำเนิดวันชาติ
วรรณกรรมต้องห้ามในร้านหนังสือ
คนไทยกับ service mind
การเมืองในแบบเรียนประวัติศาสตร์ไทย ตอน 2
ขันติธรรมกับสังคมไทย
มาทำความรู้จักวง Ebisu Muscats
คุกและการลงทัณฑ์
ม่านรูด ทำไมจึงต้องรูดม่าน?
การพักผ่อนหย่อนใจ และ ลำดับชั้นทางสังคม
โรงอาบน้ำสาธารณะคืออะไร...และอย่างไร?
จากOVOP สู่ OTOP กับการพัฒนาที่ยั่งยืน
ลำยองเลี้ยงลูก
ฟุตบอลกับการเมือง ตอนจบ
ดคีฆาตกรรม อันเนื่องมาจากเสียง
Nov 17, 2012 11:12

รายการ คิดเล่นเห็นต่าง กับ คำผกา ประจำวันที่ 17 พฤศจิกายน 2555

 

 
ในอดีตญี่ปุ่นมีคดีฆาตกรรมเรื่องเสียงเยอะมาก จากการค้นข้อมูลพบว่า คดีฆาตกรรมเกี่ยวกับเสียง เกิดขึ้นในปี 1974 ที่จังหวัด คานากาวา โตเกียว สาเหตุเกิดจากเสียงเปียโน มาจากบ้านข้างๆ ที่เด็กๆ เล่นเปียโนทุกวัน ทำให้คนข้างบ้านเกิดหุนหันพลันแล่นไปลูกและแม่ คือฆ่ายกครัวกันทั้งบ้าน  จากนั้นคดีเกี่ยวเรื่องเสียง จึงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งเรื่องสุนัขเห่า เปิดโทรทัศน์เสียงดัง
 
ขณะที่ประเทศไทยคดีฆาตกรรมจะเป็นเรื่องการขัดแย่งผลประโยชน์ กู้หนี้ยืมสินหรือคดีชู้สาว ซึ่งทั้งนี้เกิดจากวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
 
วัฒนธรรมการใช้เสียงที่แตกต่างกันสิ่งสำคัญคือมารยาทในการอยู่ร่วมกัน ซึ่งคดีเกี่ยวกับการใช้เสียงแม้ไม่มากนักแต่ ผลของคดีทำให้น่าสนใจ เพราะนั่นเกิดจากสังคมมที่มีกฎเกณฑ์ และมีการล้ำสิทธิ์กัน จนมีการผูกชนวนให้เกิดจากฆาตกรรมขึ้นได้
 
ในประเทศไทยเป็นประเทศที่มีวัฒธรรมการใช้เสียงกันมาก  มีการส่งเสียงรบกวนในพื้นที่สาธารณะเช่น ห้างสรรพสินค้า มีการประกวดพริตตี้ ประกาศขายสินค้า ทำให้รบกวนการเดินซื้อของ  จนมีคนบางกลุ่มออกมาตั้ง 'ชมรมคนหรี่เสียงในกรุงเทพ' ซึ่งก็ไม่เห็นด้วยกับแนวความคิดมากนัก แต่อยากให้คนเรามีมารยาทในการใช้เสียงบ้าง
 
ประเทศญี่ปุ่นเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีมารยาทในการใช้เสียง หากอยู่คอนโดมิเนียม หากเลยเวลา 3 ทุ่มไปแล้ว จะไม่มีการทิ้งน้ำ เช่นซักผ้า ล้างชามหรือเปิดน้ำทิ้ง หรือการใช้โทรศัพท์เสียงดัง
 
การใช้เสียง บางครั้งเป็นเรื่องส่วนตัว แต่มีการพุดคุยเสียงดังในพื้นที่สาธารณะ จนเกิดความพล่าเลือนขึ้นในสังคมในพื้นที่ทับซ้อน
 
ความพล่าเลือนในสังคมไทยที่เกิดขึ้น ต่อไปเราควรคิดอย่างจริงจัง เพราะที่ผ่านมาไม่มีการออกแบบภูมิทัศน์ เรื่องของเสียง หรือ soundscape  เพราะยังมีปล่อยเสียงโฆษณาเสียงดังใน รถไฟฟ้า BTS และมีเสียงพูดคุยโทรศัพท์เสียงดัง 
 
จากข้อมูลนักสิ่งแวดล้อม พบว่าโรงเรียนในประเทศไทย มีเสียงรบกวนตอลดเวลา ประมาณ 10-20 เดซิเบล บางครั้งเกิน  80 เดซิเบล หรือมีการปล่อยเสียงดัง เต้นแอโรบิคในพื้นที่สวนสาธารณะ ถึงเวลาหรือยังมีเราควรจะมีวัฒนธรรมเสียง 
Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog