งานหนัก เงินน้อย ภาระคนรุ่นใหม่หลังยุคต้มยำกุ้ง - เมื่อเศรษฐกิจเติบโตไม่ทันเพียงพอที่จะหล่อเลี้ยงความต้องการของคนที่เปลี่ยนไป?
หลังจากยุคต้มยำกุ้ง เศรษฐกิจไทยพึ่งพิงการส่งออกเพิ่มขึ้น จากเดิมพึ่งพิงแค่ 20 เปอร์เซ็นต์จากรายได้ประชาชาติทั้งหมด ปัจจุบันเราพึ่งพิงถึง 70 เปอร์เซ็นต์ แต่ข้อเสียของการพึ่งพิงการส่งออกมากขนาดนี้ก็คือ เศรษฐกิจเมืองนอกตกเมื่อไร เราเจ็บตัวมากกว่าอดีต
ตั้งแต่วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์เป็นต้นมา เศรษฐกิจเมืองนอกไม่ดี เศรษฐกิจไทยก็ได้รับผลกระทบด้วย ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของบ้านเราโตช้า กลายเป็นผลพวงของโครงสร้างทางเศรษฐกิจระดับโลก
การเติบโตทางเศรษฐกิจไทยช้ามาก โตปีละ 2-3 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่คนในสังคมกำลังกลายเป็นคนแก่มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งหมายความว่า ประชากรจะน้อยลง สัดส่วนของแรงงานในการผลิตก็น้อยลง จำนวนสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น ภาระที่ต้องดูแลก็เพิ่มขึ้น แต่สัดส่วนคนที่ต้องมารับภาระตรงนั้นกลับน้อยกว่า แล้วรายได้ก็โตช้า
“ถ้าบอกว่าอยากให้เป็น 4.0 ก็ต้องพูดถึง innovation หรือ creative ถ้าเราไม่อยากเป็นโรงงานรับจ้าง เราก็ต้องมี innovation นี่คือ มนตราที่รัฐบาลร่ายคาถาให้คุณฟังอยู่ ถูกไหม ก็ถูก” - อภิชาต สถิตนิรามัย
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ Way Magazine - https://goo.gl/pXiA2c