ทำไมถึงเรียกแรงงานจากประเทศโลกที่สามว่า “แรงงานต่างด้าว” แต่เรียกคนที่มาจาก ประเทศโลกที่หนึ่งอย่าง ญี่ปุ่น เกาหลี ว่า “แรงงานต่างชาติ”
คำว่า “แรงงานต่างด้าว” อาจไม่ได้มีนัยยะแอบแฝงอะไรพิเศษ นอกจากเป็นคำศัพท์ทางกฏหมาย ซึ่งไม่ว่าจะเป็นคนจากประเทศไหน หากเข้ามาทำงานในไทยก็ถูกเรียกว่า “ต่างด้าว” เหมือนกัน
แต่เมื่อพ้นจากภาษากฎหมาย เรากลับพบว่า คำว่า “ต่างด้าว” ถูกใช้กับแรงงานที่มาจากประเทศโลกที่สาม ไม่ว่าจะเป็น เมียนมา ลาว กัมพูชา ศรีลังกา เนปาล ฯลฯ
“ทำไมคำว่า expat ใช้กับคนผิวขาวเท่านั้น?” สำนักข่าวต่างประเทศหลายแห่งก็เคยตั้งข้อสังเกตเช่นนี้เหมือนกัน ทั้งที่ expat ที่มาจากคำว่า expatriate แปลตรงตัวว่า บุคคลที่ไปอยู่นอกประเทศบ้านเกิดของตนชั่วคราวหรือถาวร
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ The Guardian - https://goo.gl/pZUeWH