ไม่พบผลการค้นหา
‘ดร.ดนุ ภู่มาลี’ อาจารย์ดีเด่นด้านการบริการวิชาการ ปี2565 ม.รังสิต มุ่งเน้นสอนเด็กนิเทศศิลป์ทำเพื่อส่วนรวมและสังคม

อาจารย์ดีเด่นด้านการบริการวิชาการประจำปี 2565 สิ่งสำคัญที่อาจารย์ในสายวิชาชีพศิลปะและการออกแบบควรมีคือ ไม่ใช่เพื่อการค้า หรือธุรกิจ แต่ต้องทำเพื่อส่วนรวม และทำเพื่อให้สังคมน่าอยู่มากยิ่งขึ้น

ดร.ดนุ ภู่มาลี อาจารย์ประจำวิชาสาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยรังสิต  อาจารย์ดีเด่นด้านการบริการวิชาการ ประจำปี 2565 กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่อาจารย์ในสายวิชาชีพศิลปะและการออกแบบถึงสิ่งที่อาจารย์ในแวดวงเดียวกันกำลังทำอยู่ในสาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ซึ่งมีเป้าหมายเดียวกันในการที่จะผลิตนักศึกษาให้เป็นนักคิด เป็นคนที่มีความพร้อมใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหาในสิ่งที่ได้รับโจทย์จากสายงานวิชาชีพโดยชุดความรู้และทักษะด้านการออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการออกแบบกราฟิก การออกแบบตัวอักษร การออกแบบอัตลักษณ์องค์กร การออกแบบภาพประกอบ การออกแบบโฆษณา การออกแบบมัลติมีเดีย ทั้งหมดทั้งมวลนั้นหากไม่ใช่ในเพื่อการค้า หรือธุรกิจ แต่ต้องทำเพื่อส่วนร่วม และทำเพื่อให้สังคมน่าอยู่มากยิ่งขึ้น จากการสอนให้นักศึกษาเชี่ยวชาญและชำนาญตามสายงานแล้ว ยังจะส่งต่อให้นักศึกษาปรับ Growth Mindset ของนักศึกษาให้ไปเกิดขึ้นในหัวใจอย่างไร จึงได้เข้าร่วมโครงการเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์เพื่อสังคมน่าอยู่ (University Network For Change) รวมตัวกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศไทยทั้งรัฐและเอกชนกว่า 14 สถาบัน เพื่อช่วยกันสร้างกลไก แสดงพลังทางสังคมเพื่อสะท้อนปัญหาทางสังคมที่เป็นจุดเล็ก ๆ แต่สำคัญ เพื่อให้นำไปสู่การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะจากองค์กรหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบให้เข้ามาปรับเปลี่ยน ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาสังคมได้  

​ซึ่งการปรับเปลี่ยนหลักสูตรในการเรียนการสอนที่มีการนำวิชาเรียนที่เกี่ยวข้องกับสังคมเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นทั้งวิชาการออกแบบเพื่อสังคม จะเห็นปัญหาสังคมในระดับที่นักศึกษามองเห็นและหยิบจับปัญหานั้นมาแก้ปัญหาด้วยตัวของเขาเอง เกิดความอินความตั้งใจ เข้าถึงปัญหาที่นักศึกษาเลือกเอง และดีไซน์วิธีการ ผลงานการออกแบบ ซึ่งการได้ทำงานบริการวิชาการตรงนี้แม้แต่ตัวตนอาจารย์เองก็มีการปรับเปลี่ยนตัวเอง เปลี่ยนจากการที่มองว่าเป็นภาระเข้ามาเพิ่ม กลายเป็นประเด็นหลักที่เอามาเป็นกลไกในสอนเพื่อสร้าง Growth Mindset ให้ได้แบบจริงจัง ซึ่งเราได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยอีก 14 สถาบัน หน่วยงานอย่างกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เข้ามาร่วมขับเคลื่อนโครงการเพราะเล็งเห็นพลังของนักศึกษาในสาขาวิชาชีพด้านนี้ที่สามารถสะท้อนมุมมองเพื่อแก้ปัญหาสังคมอีกด้วย

IMG_4449.jpegIMG_4447.jpegIMG_4446.jpegIMG_4445.jpegIMG_4444.jpeg