“มันเป็นการสมควรที่ต้องทำ เพื่อประโยชน์ในความมั่นคงของสาธารณะ การคุ้มครองความสงบเรียบร้อยของประชาชน และการบำรุงรักษาเสบียงและบริการที่จำเป็นต่อชีวิตของชุมชน” รัฐบาลศรีลังกาประกาศถึงเหตุผลของการประกาศภาวะฉุกเฉิน
วิกรมสิงเหประกาศภาวะฉุกเฉินมาตั้งแต่สัปดาห์ก่อน หลังจาก โกตาบายา ราชปักษา อดีตประธานาธิบดีศรีลังกา ลาออกจากตำแหน่ง ภายหลังจากการลี้ภัยออกนอกประเทศไปยังมัลดีฟส์และสิงคโปร์ ท่ามกลางประชาชนที่ประท้วงขับไล่ และเข้ายึดทำเนียบประธานาธิบดี
ทั้งนี้ รัฐสภาศรีลังกากำลังจะมีการเลือกประธานาธิบดีคนใหม่ ซึ่งมีความหวั่นเกรงจากผู้ประท้วงว่า วิกรมสิงเหในฐานะตัวแทนของพรรครัฐบาล และเป็นคนใกล้ชิดกับราชปักษา จะได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ เนื่องจากฐานเสียงของราชปักษายังคงครองเสียงข้างมากในรัฐสภาศรีลังกาอยู่
ยังคงไม่มีความชัดเจนว่า วิกรมสิงเหได้ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว หรือวิกรมสิงเหได้ทำการออกคำสั่งใหม่ต่อไปหรือไม่ โดนวิกรมสิงเหสาบานตนเข้ารับตำแหน่งรักษาการประธานาธิบดี ตั้งแต่ช่วงวันที่ 15 ก.ค.ที่ผ่านมา ทั้งนี้ สำนักนายกรัฐมนตรีของศรีลังกาไม่ได้ให้คำตอบดังกล่าวกับทางสำนักข่าว Reuters แต่อย่างใด
รัฐบาลศรีลังกาไม่ได้มีการประกาศบทบัญญัติทางกฎหมายพิเศษใดๆ สำหรับการใช้ภาวะฉุกเฉินในปัจจุบันนี้ แต่ก่อนหน้านี้ เจ้าหน้าที่และกำลังทหารของศรีลังกาได้เข้าจับกุมคุมขังประชาชนผู้ประท้วง เข้าค้นทรัพย์สินส่วนตัว และขัดขวางการประท้วง ภายใต้ประกาศภาวะฉุกเฉินครั้งก่อนที่ถูกประกาศไป ทั้งนี้ นักวิชการศรีลังกาชี้ว่า การประกาศภาวะฉุกเฉินของรัฐบาลจะยิ่งแสดงความไร้ประประสิทธิภาพของรัฐบาล เพราะการประกาศภาวะฉุกเฉินครั้งก่อนเอง กลับไม่สามารถควบคุมการประท้วงของมวลชนได้
รัฐสภาศรีลังการับหนังสือลาออกจากราชปักษา ตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา (15 ก.ค.) ก่อนที่จะเริ่มกระบวนการเลือกประธานาธิบดีคนใหม่ ด้วยการลงคะแนนเสียงแบบลับของสมาชิกรัฐสภา โดยพรรครัฐบาลซึ่งยังคงครองเสียงข้างมากในรัฐสภา ได้ส่งวิกรมสิงเหเข้าเป็นผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ของประเทศ ทั้งนี้ ประชาชนเกิดความไม่พอใจ และหวั่นเกรงว่าวิกรมสิงเห ซึ่งเป็นคนของราชปักษา จะกลับมาครองอำนาจประเทศอีกครั้ง
ก่อนหน้านี้ วิกรมสิงเหขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัมนตรีขอศรีลังกามาแล้วกว่า 6 ครั้ง โดยวิกรมสิงเหถูกกล่าวหาว่าใช้อำนาจในฐานะนายกรัฐมนตรี เพื่อปกป้องตระกูลราชปักษาในการเมืองศรีลังกา ทั้งจากข้อหาการทุจริต ไปจนถึงการปูทางให้ราชปักษากลับมาปกครองศรีลังกาอีกครั้ง
ที่มา: