ร้อยละ 10 ของประชากรเมียนมาทั้งประเทศอาศัยอยู่ในต่างประเทศ ตามข้อมูลของกระทรวงแรงงาน การย้ายถิ่น และประชากร ตัวเลขผู้อพยพชาวเมียนมาพุ่งขึ้นไปสูงถึง 5 ล้านคน จากประชากรทั้งหมด 54 ล้านคน
ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ชาวเมียนมาถึง 23,235 คน ทิ้งประเทศไว้เบื้องหลังเพื่อออกไปหางานทำในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก ในจำนวนนี้ ประมาณ 17,400 คนเลือกเดินทางมาทำงานที่ประเทศไทย ในขณะที่อีกประมาณ 5,000 คน ที่จะเดินทางไปมาเลเซีย
นอกจากนี้ ประเทศเป้าหมายอื่นๆ ของแรงงานเมียนมายังรวมไปถึงญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จอร์แดน กาตาร์ และมาเก๊า
ส่วนสาเหตุหลักที่ทำให้ประชาชนต้องทิ้งประเทศไปหางงานทำที่อื่นก็มาจากการขาดแคลนงาน ค่าแรงต่ำ และเงื่อนไขการทำงานที่ย่ำแย่ เช่นเดียวกับประเทศอย่างฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ปากีสถาน และเนปาล
แม้ว่าเมียนมาจะสูญเสียประชากรถึงร้อยละ 10 จากจำนวนประชากรวัยทำงานทั้งหมด แต่ผู้ใช้แรงงานที่ไปทำงานในต่างประเทศถึง 5 ล้านคนได้ส่งเงินกลับมาจุนเจือครอบครัวอย่างต่อเนื่อง
อู มโย อัง เลขธิการประจำกระทรวงแรงงาน การย้ายถิ่น และประชากร กล่าวว่าคนรุ่นใหม่ประสบปัญหาในการหางานจากตลาด���นประเทศเนื่องจากโอกาสในการหางานที่น้อยและค่าแรงต่ำ ทำให้ต้องไปต่างประเทศเพื่อค่าแรงที่สูงขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการเสียโอกาสด้านธุรกิจจากการสูญเสียแรงงานอายุน้อย
เมียนมาเปิดประตูรับชาวต่างชาติ
ตามตัวเลขจากกระทรวงแรงงาน การย้ายถิ่น และประชากร รัฐบาลเมียนมาได้มอบสถานะผู้อยู่อาศัยถาวร (permanent residency) ให้แก่ชาวต่างชาติถึง 480 คน จากการยื่นขอทั้งหมด 582 ตั้งแต่ปี 2559 ทั้งนี้รัฐบาลยังได้ตั้งสถานฑูตในแต่ละประเทศให้สามารถเป็นศูนย์รับเรื่องการขอเป็นผู้อยู่อาศัยถาร ตั้งแต่ช่วงพฤษภาคม ปี 2560 ที่ผ่านมา
การขอเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรของเมียนมาใช้ได้กับชาวต่างชาติที่มีคุณสมบัติพิเศษ อาทิ เป็นผู้เชี่ยวชาญต่างชาวชาติ เป็นผู้มีความรู้ความสามารถสูง นักลงทุน อดีตประชากรที่สามารถส่งเสริมและช่วยพัฒนาประเทศได้และญาติชาวต่างชาติของประชากรเหล่านั้น โดยสามารถยื่นของการอยู่อาศัยในประเทศเมียนมาได้ 5 ปี พร้อมสามารถต่ออายุการขออยู่อาศัยได้