วารสาร Proceedings of the National Academy of Sciences ตีพิมพ์ผลการศึกษา ระบุว่า ดัชนีค่ามลพิษทางอากาศมีความสัมพันธ์กับผลคะแนนทดสอบคณิตศาสตร์และผลทดสอบเรื่องการพูดของมนุษย์ ซึ่งเป็นผลสำรวจจากหน่วยงานครอบครัวของจีนที่สำรวจประชากรจีนจำนวน 32,000 คนระหว่างปี 2010และ 2014
จากการสำรวจพบว่า คะแนนการทดสอบพูดและคะแนนคณิตศาสตร์ของผู้เข้าร่วมทดสอบนั้นลดลงสวนกลับค่าดัชนีมลพิษทางอากาศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการทดสอบทักษะด้านการพูดในกลุ่มผู้ชายที่มีคะแนนน้อยลงกว่าในกลุ่มเพศหญิง
สี เฉิน สมาชิกหนึ่งในทีมวิจัยจากวิทยาลัยสาธารณสุข มหาวิทยาลัยเยลของสหรัฐฯกล่าวว่า 'อากาศที่เป็นพิษสามารถเป็นสาเหตุที่ทำให้ความรู้ความสามารถในการศึกษาของทุกคนลดลงได้ภายใน 1 ปี ซึ่งเป็นเรื่องที่ใหญ่มาก แต่ทั้งนี้ผลกระทบดังกล่าวจะเกิดขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีอายุ 64 ปี ขึ้นไป และถ้านำค่าเฉลี่ยทั้งหมดมาคำนวณจะพบว่า มลพิษทางอากาศจะส่งผลกระทบต่อการรับรู้และความสามารถในด้านการศึกษาที่ลดลงนั้นจะใช้เวลาประมาณ 2- 3 ปี'
ทั้งนี้การศึกษาเรื่องผลกระทบจากมลพิษที่ส่งผลต่อมนุษย์เมื่อปี 2016 พบว่า ค่าดัชนีมลพิษทางอากาศที่เพิ่มสูงขึ้นมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ที่เพิ่มขึ้น และส่วนใหญ่ก็เป็นสาเหตุที่ไปสู่การเป็นโรคทางจิตเวช
นอกจากนี้เฉินยังเรียกร้องให้รัฐบาลในประเทศกำลังพัฒนาหันมาใส่ใจเรื่องของมลพิษทางอากาศอย่างจริงจังในการลดมษพิษต่างๆ เนื่องจากมันส่งผลกระทบต่อทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ขณะที่ในจีนเองแม้ว่าจะสามารถลดมลพิษทางอากาศได้ แต่ก็ยังเกินค่ากำหนดขององค์การอนามัยโลก (WHO) อยู่ถึง 3 เท่า
ที่มา SCMP / the guardian
ข่าวที่เกี่ยวข้อง