ไม่พบผลการค้นหา
'ธนาคารโลก' ชี้ เศรษฐกิจไทยเจอปัญหาการส่งออก ส่วนความไม่แน่นอนทางการเมืองเป็นปัจจัยบั่นทอนความเชื่อมั่นการลงทุน

การเดินหน้าเข้าสู่ช่วงครึ่งปีหลัง ดูจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับหลายองค์กรที่จะออกมาวิเคราะห์ตัวเลขอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ข่าวร้ายที่ไม่ได้ทำให้ประหลาดใจมากนัก คือการที่องค์กรต่างๆ ต่างพากันปรับลดตัวเลขประมาณการการเติบโตลงอย่างมีนัยสำคัญ

ล่าสุด ธนาคารโลก หรือ เวิลด์แบงก์ ปรับประมาณการจีดีพีประเทศไทยปี 2562 ลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3.5 จากเดิมที่อยู่ที่ร้อยละ 4.1 และยังมองต่อไปว่าการชะลอตัวจะส่งผลต่อเนื่องไปยังปี 2563 ส่งผลให้ตัวเลขจีดีพีที่ธนาคารโลกมองไทยสำหรับปีหน้าอยู่ที่เพียงร้อยละ 3.6 เท่านั้น

ยิ่งเมื่อนำตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของไทยที่อยู่ที่ร้อยละ 2.8 ไปเปรียบเทียบกับเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ที่เติบโตที่ร้อยละ 6.8, 5.6, 5.1 และ 4.5 ตามลำดับ ยิ่งเกิดคำถามสำคัญว่าเกิดอะไรขึ้นกับเศรษฐกิจไทย

ส่งออกทรุด ฉุดเศรษฐกิจ ส่วนความไม่แน่นอนทางการเมืองยิ่งบั่นทอน

จับตา 'การส่งออก' เมื่อสิ่งที่ทำให้ประเทศเดินหน้ากลายมาเป็นตัวฉุดการเติบโตเสียเอง ผลกระทบจึงเกิดขึ้นในวงกว้าง การส่งออกของไทยในภาวะปัจจุบันคือหลุมดำที่ดูดการเติบโตลงจนแทบจมดิน ในไตรมาส 1 ที่ผ่านมาตัวเลขการส่งออกของไทยหดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4 เท่านั้น ซึ่งเป็นการหดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี

สาเหตุสำคัญที่บั่นทอนการส่งออกยังคงเป็นปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุม อย่าง ประเด็นสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน

อย่างไรก็ตาม การโทษเศรษฐกิจว่าเศรษฐกิจในประเทศแย่ว่ามาจากปัจจัยต่างประเทศอย่างเดียวดูจะเป็นการวิเคราะห์ที่ไม่รอบด้าน

'เกียรติพงศ์ อริยปรัชญา' นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลกประจำประเทศไทย กล่าวอย่างชัดเจนว่า สาเหตุสำคัญที่เศรษฐกิจไทยไม่เติบโตคือความไม่แน่นอนทางการเมือง

เกียรติพงษ์ อริยปรัชญา

ในภาวะที่ประเทศต้องการการลงทุนภายในเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ การปราศจากรัฐบาลที่มีเสถียรภาพเป็นปัจจัยบั่นทอนอย่างสาหัส หลายโครงการขนาดใหญ่ที่มูลค่าเม็ดเงินจะช่วยกระตุ้นจีดีพีของประเทศได้อาจต้องชะงักจากความไม่ต่อเนื่องของนโยบาย


“มีความเสี่ยงที่รัฐบาลจะเข้ามาช้า ซึ่งก็เห็นชัดเจนแล���ว อีกทั้งยังอาจจะอยู่ไม่นานด้วย” เกียรติพงศ์ กล่าว

พัฒนาคุณภาพการศึกษา การเข้าถึงทางการเงิน จัดระบบภาษีรองรับสังคมสูง

กเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลกชี้ด้วยว่า นโยบายที่สำคัญที่สุดสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศอย่างยั่งยืน คือการพัฒนาคุณภาพประชาชนจากการให้การศึกษาอย่างทั่วถึง การสร้างการเข้าถึงทางการเงินให้กับประชาชนทุกภาคส่วน และการกระตุ้นความมั่นคงทางสังคม

ขณะเดียวกันรัฐบาลควรเริ่มคิดถึงมาตรการภาษีที่จะเข้ามารองรับการเป็นสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย เนื่องจากประเทศจะอยู่ในสภาวะที่มีแรงงานน้อยลงและต้องแบกรับภาระการดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :