แม้ระยะเวลาผ่านไปราวเดือนครึ่งแล้วก็ตาม แต่ยังคงเป็นประเด็นที่ทั่วโลกยังต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง สำหรับการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ โดยมีจุดตั้งต้นที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ประเทศจีน และสถานการณ์ยังไม่คลี่คลายก็ตาม
‘วอยซ์ ออนไลน์’ รวบรวมข้อมูลอีกหนึ่งโรคร้ายของโลกใบนี้ ไว้ดังนี้
12 ธ.ค. 2562 ผู้ป่วยรายแรกเริ่มมีอาการ
31 ธ.ค. 2562 เริ่มรายงานข่าวไวรัสปอดอักเสบระบาด 27 ราย นครอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ยศูนย์อนามัยอู่ฮั่น แยกและกักกันผู้ป่วย ติดตามผู้ใกล้ชิดผู้ป่วย
1 ม.ค. 2563 เริ่มทำความสะอาด ตลาดอาหารทะเลอู่ฮั่น
3 ม.ค. 2563 รายงานข่าวไวรัสปอดอักเสบระบาดเพิ่มขึ้นรวม 44 ราย
4 ม.ค. 2563 ตั้งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน (EOC)
5 ม.ค. 2563 รายงานข่าวไวรัสปอดอักเสบระบาดเพิ่มขึ้น 59 ราย และติดตามผู้ใกล้ชิด 163 ราย
8 ม.ค. 2563 จีนรายงานข่าวอย่างเป็นทางการว่า พบเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ครั้งแรก
11 - 12 ม.ค. 2563 จีนเปิด genome ของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ลง GenBank
20 ม.ค. 2563 รายงานข่าวไวรัสปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ เพิ่มขึ้นรวม 201 ราย เสียชีวิต 3 ราย อาการหนัก 35 ราย อาการภาวะวิกฤต 9 ราย ออกจากโรงพยาบาล 28 ราย และคาดว่ามีการติดต่อจากคนสู่คน
21 ม.ค. 2563 รายงานข่าวไวรัสปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เพิ่มขึ้นรวม 258 ราย เสียชีวิต 9 ราย ยืนยันการติดต่อจากคนสู่คน มีทีมงานการแพทย์ติดเชื้อ 15 ราย
23 ม.ค. 63 รายงานข่าวไวรัสปอดอักเสบจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ เพิ่มขึ้นรวม 375 ราย เสียชีวิต 17 ราย
(อ้างอิง - รายงานประเทศที่มีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ )
สำหรับมาตรการรับมือการระบาดของต่างประเทศนั้น มีความแตกต่างกันไป ดังนี้
สหรัฐอเมริกา - US CDC เพิ่มมาตรการคัดกรองเข้ม 5 สนามบิน คือ ซานฟรานซิสโก,นิวยอร์ก, เจเอฟเค ลอส แองเจิลลิส, แอตแลนตา, และชิคาโก เมื่อ 21 ม.ค. 2563
แคนาดา - วางมาตรการคัดกรองผู้โดยสารขาเข้าจากประเทศจีน ที่สนามบิน เมื่อ 21 ม.ค. 2563
เกาหลีใต้ - 3 ม.ค. 2563 ประกาศเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ เป็นโรคติดเชื้อตามกฎหมายประเภทที่ 5 เช่นเดียวกับ MERS และออกคำเตือนแก่ประชาชน ยกระดับการเตือนภัย 3 ครั้ง จากระดับ 1 เป็น 2 และ 4 พร้อมกับวางมาตรการคัดกรองผู้โดยสารจากอู่ฮั่นที่สนามบิน 24 ชั่วโมง
สิงคโปร์ - เพิ่มมาตราการคัดกรองผู้โดยสารจากอู่ฮั่น วันที่ 20 ม.ค. 2563
ไทย - ยกระดับการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินระดับ 3 วันที่ 22 ม.ค.2563
WHO - Emergency Committee ประชุมวางมาตรการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ภายใต้กฎหมายอนามัยระหว่างประเทศ (IHR) วันที่ 22 ม.ค. 2563
จากข้อมูลเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2563 พบว่า มีจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อแล้วใน 21 ประเทศและเขตปกครองทั่วโลก รวมกว่า 7,800 ราย และเสียชีวิตกว่า 170 ราย ดังนี้
จีน 7,711 ราย
ไทย 14 ราย
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 1 ราย
ไต้หวัน 8 ราย
ญี่ปุ่น 11 ราย
ฮ่องกง 10 ราย
มาเลเซีย 7 ราย
เยอรมนี 4 ราย
ออสเตรเลีย 6 ราย
ฝรั่งเศส 4 ราย
แคนาดา 3 ราย
มาเก๊า 7 ราย
สิงคโปร์ 10 ราย
กัมพูชา 1 ราย
ศรีลังกา 1 ราย
เกาหลีใต้ 4 ราย
เนปาล 1 ราย
ทิเบต 1 ราย
เวียดนาม 2 ราย
สหรัฐอเมริกา 5 ราย
ฟินแลนด์ 1 ราย
ขณะที่ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์เฟซบุ๊กพร้อมภาพกราฟแบบจำลองคาดการณ์ระยะเวลาการระบาดและติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ใจความว่า ตามภาพจำลองเส้นกราฟสีแดง ถ้าไม่ทำอะไรเลย การระบาดจะมีผู้ป่วยจำนวนมาก อาจใช้เวลาประมาณ 6 เดือน เมื่อมีผู้ป่วยติดเชื้อและมีภูมิต้านทานเกิดขึ้น เป็นจำนวนมาก โรคก็จะหยุดเอง
ศ.นพ.ยง ระบุว่า ปัญหาจึงอยู่ว่า เมื่อมีผู้ป่วยจำนวนมาก จะเกินความสามารถที่ บุคลากรทางการแพทย์และระบบสาธารณสุขจะรองรับได้ การดูแลจะไม่ทั่วถึง ไม่มีเตียงรับผู้ป่วย เกิดโกลาหลวุ่นวาย และยังความสูญเสียจำนวนมาก แต่ถ้าเรามีมาตรการในการดูแล ควบคุม พยายามหยุดยั้งการระบาดของโรค ด้วยมาตรการระดับหนึ่ง ประชาชนทุกคนช่วยกัน ให้การระบาดของโรคลดลง และระยะเวลาจะยาวนานขึ้น เป็นแบบเส้นสีขาว แต่ในบางครั้งหรือบางระยะ เวลาการสาธารณสุขจะไม่สามารถรองรับได้เป็นครั้งคราว
"สิ่งที่เราอยากให้เห็น และให้เป็น คือแบบเส้นสีเหลือง ในการใช้มาตรการทุกสิ่งอย่าง เข้มงวด จริงจัง ที่ขัดขวางการระบาดของโรค ให้มีจำนวนผู้ติดโรคน้อยที่สุด การระบาดของโรค จะยาวนานขึ้น จนกว่าจะเกิดภูมิคุ้มกันกลุ่ม อาจจะมากกว่า 1 ปี แต่มาตรการการดูแลผู้ป่วย และระบบสาธารณสุขจะทำได้ดีขึ้นการสูญเสียจะน้อยที่สุด เป็นการกระจายผู้ป่วยให้เกิดขึ้นทีละน้อย จนกว่าจะได้ภูมิคุ้มกันกลุ่มมากเพียงพอ หรือมีวัคซีนมาช่วยเสริมภูมิต้านทานกลุ่มให้เร็วขึ้น โรคก็จะหยุดระบาด และกลายเป็นโรคประจำถิ่น” หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิกระบุ
ทั้งนี้ อัตราการเสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ยังไม่เป็นที่แน่ชัด โดยเบื้องต้นมีการประเมินว่าอยู่ที่ร้อยละ 2-3 เท่านั้น สำหรับสัดส่วนการเสียชีวิตจากโรคติดต่อร้ายแรงอันตรายอื่น ๆ มีดังนี้
ซาร์ส ร้อยละ 10
เมอร์ส ร้อยละ 30
ไข้หวัดใหญ่ ร้อยละ 0.01
ไข้หวัดใหญ่ 2009 ร้อยละ 0.1
อีโบลา ระยะแรก ร้อยละ 95 ก่อนลดลงเหลือร้อยละ 50
ไข้หวัดนก H5N1 ร้อยละ 60
ไข้หวัดนก H7N9 ร้อยละ 30
ข่าวที่เกี่ยวข้อง