ไม่พบผลการค้นหา
นโยบายเศรษฐกิจจีนหลังยุค 'เปิดประเทศ' ช่วยให้ผู้หญิงสามารถยกระดับฐานะของตนเองในสังคมได้ แต่ก็มาพร้อมกับจำนวน 'โสเภณี' ที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของประชากรจีน

แม้ว่าการปฏิรูปเศรษฐกิจและนโยบายเปิดประเทศในปี 1978 ของเติ้งเสี่ยวผิงจะทำให้เศรษฐกิจของจีนเติบโตอย่างก้าวกระโดดจนสามารถขึ้นแท่นเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกรองจากสหรัฐฯ ภายในระยะเวลา 40 ปีเท่านั้น แต่ในอีกมุมหนึ่งเศรษฐกิจแบบตลาดของจีนที่ขยายตัวเติบโตอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กลับยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้จำนวน 'ผู้ค้าบริการทางเพศ' ในจีนพุ่งขึ้นสูงเช่นกัน

ที่ผ่านมาไม่มีรายงานที่แน่ชัดเกี่ยวกับตัวเลขของผู้ค้าบริการทางเพศในจีน ในปี 2013 สห���ระชาชาติประเมินว่ามีผู้ค้าบริการทางเพศในจีนอยู่ประมาณ 4 - 6 ล้านคน ขณะที่รายงานจากแหล่งอื่นประเมินว่าโสเภณีในจีนอาจมี 4 -10 ล้านคน และส่วนมากผู้ค้าบริการทางเพศเหล่านี้เป็น 'ผู้หญิง' 

ตัวเลขดังกล่าวอาจจะดูน้อยเมื่อเทียบกับสัดส่วนประชากรจีนที่มีอยู่กว่า 1,300 ล้านคน แต่ตัวเลขดังกล่าวก็ทำให้จีนกลายเป็นประเทศที่อาจเรียกว่ามีแรงงานในอุตสาหกรรมค้าบริการทางเพศมากที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง ดิอีโคโนมิสต์รายงานว่า ครั้งหนึ่งสื่อของจีนก็เคยรายงานว่า จีนคือ ‘sex capital’ เมืองหลวงแห่งเซ็กส์

ความเฟื่องฟูของธุรกิจค้าบริการทางเพศจากนโยบายรัฐบาล

บทความในดิอิโคโนมิสต์กล่าวว่า อาชีพค้าบริการทางเพศในจีนกลับมาอีกครั้งหลังจากจีนเริ่มเปิดประเทศและหันมาใช้ระบบเศรษฐกิจเสรีนิยมในปี 1978 ที่มีนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติและการผ่อนคลายการจำกัดจำนวนประชากรที่อพยพเข้ามาทำงานในเมืองของคนจากชนบท ทำให้ผู้หญิงชนบทต่างเข้ามาแสวงหาโอกาสในการทำงานเพื่อยกระดับชีวิตและฐานะของตนเองในเมืองมากขึ้น

000_Hkg9456428.jpg

การเติบโตทางเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดดของจีนนับตั้งแต่ปี 1990 ทำให้ช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนในจีนยิ่งห่างกันมากขึ้น ประชาชนที่อาศัยอยู่ในชนบทหลายล้านคนต่างมุ่งเข้ามาแสวงหาโอกาสและเงินในเมืองใหญ่ ผู้หญิงจากชนบทหลายคนต่างมุ่งหน้าเข้ามาทำงานในเมืองเช่นกัน แต่เนื่องจากอุปสรรคทางด้านการศึกษาและความรู้ที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้อาชีพค้าบริการทางเพศ กลายเป็นตัวเลือกหนึ่งของผู้หญิงที่มาจากชนบท 

บทความของจาง ลี่เจียกล่าวว่า เศรษฐกิจแบบตลาดเสรีนิยมของจีนนั้นเป็นโอกาสสำหรับผู้หญิงให้สามารถทำงานในระดับที่สูงขึ้นก็จริง แต่ทัศนคติแบบดั้งเดิมของคนจีนที่มองว่าผู้หญิงด้อยกว่าผู้ชายนั้นยังคงฝังรากลึกในสังคม แม้ว่าเหมาเจ๋อตง จะพยายามลบล้างค่านิยมดังกล่าวแต่ก็ไม่สำเร็จ หลังจากการปฏิรูปเศรษฐกิจ หลายบริษัทได้กำหนดคุณบัติการรับสมัครพนักงานหญิงไว้สูงกว่าผู้ชาย ขณะที่บางบริษัทก็ไม่จ้างพนักงานที่เป็นผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ แม้กระทั่งในกลุ่มรัฐวิสาหกิจเอง การปลดพนักงานออกตามนโยบายขององค์กรก็มักจะเลือกกลุ่มผู้หญิงเป็นคนกลุ่มแรกที่ต้องออกจากงานเสมอ

นอกจากนี้ นโยบายการมีลูกคนเดียวก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ช่องว่างระหว่างเพศหญิงและเพศชายมีระยะห่างมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความต้องการในเรื่องเพศสำหรับผู้ชายที่ไม่สามารถหาภรรยาได้เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ดังนั้นจึงไม่แปลกหากธุรกิจการค้าบริการทางเพศในจีนขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ปันสุ่ยหมิงและทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเหรินหมินของจีนพบว่า สัดส่วนของผู้ชายจีนที่ยอมรับว่าเคยซื้อบริการทางเพศอยู่ที่ประมาณ 1 ใน 7 เพิ่มขึ้นถึงสองเท่าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาจนถึงปี 2015 และเชื่อว่าภายในปี 2020 สัดส่วนดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็น 1 ต่อ 6 

การเฟื่องฟูของธุรกิจการค้าบริการทางเพศได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจจีน บทความในปี 2000 ของจงเหว่ยประเมินว่า มูลค่าธุรกิจของการค้าบริการทางเพศคิดเป็น 6 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) หรือทำเงินประมาณประมาณ 1 ล้านล้านหยวน 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง: