ไม่พบผลการค้นหา
พท.เปิดตัวผู้สมัครนายก อบจ. 25 จังหวัด ชูแคมเปญ 6 ด้านสร้างความเจริญใกล้บ้าน งงข้อกฎหมายจำกัด ส.ส.ช่วยผู้สมัครหาเสียง

เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2563 พรรคเพื่อไทยเปิดเคมเปญนโยบายเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) นำโดย ชูศักดิ์ ศิรินิล รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ท้องถิ่นมีความสำคัญ เพราะหากท้องถิ่นดี ประเทศภาพรวมก็ดีขึ้นด้วย และในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ไม่มีการเลือกตั้งท้องถิ่น เนื่องจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)มีคำสั่งให้ระงับการเลือกตั้งท้องถิ่นนั้นสะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลไม่ให้ความสำคัญกับท้องถิ่น จนกระทั่งล่าสุดมีการประกาศเลือกตั้งท้องถิ่นแล้ว พรรคเพื่อไทย จึงมีความประสงค์ที่จะส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งทั้งสิ้น 25 จังหวัด และจะให้ผู้สมัครใช้โลโก้ของพรรค และนโยบายของพรรคได้

ด้านนพดล ปัทมะ ประธานคณะกรรมการนโยบายและวิชาการ กล่าวว่า นโยบายหลักของพรรคมีทั้งหมด 6 ด้าน จากประสบการณ์ระดับชาติ สู่ความเจริญใกล้บ้าน 1.การเดินทางขนส่งเชื่อมท้องถิ่นเป็น“เส้นเลือดฝอยการคมนาคม” ของประเทศ ใช้แอปพลิเคชันรถสาธารณะ การขนส่งสินค้า WIFI

2.สุขภาพพัฒนาระบบบริการการแพทย์ ฉุกเฉิน (EMS) และการให้ประชาชนได้รับ วัคซีนใกล้บ้าน 3.การศึกษา เปิดให้มีการเรียนออนไลน์ และต้องเกิดการเรียนที่เท่าเทียมกัน และให้เรียนใน 4ภาษา รวมถึงงบปนะมาณให้กับเด็กที่ต้องการเรียนแต่ขาดทุนทรัพย์ ให้ความสำคัญกับการศึกษาปฐมวัย 4.การเกษตร อาหาร ปลอดภัย สร้างการท่องเที่ยวผลิตอาหารปลอดภัย ส่งไปทั่วโลก การทำเกษตรอินทรีย์  โดยเทคโนโลยี และนวัตกรรม

5.SMES OTOP สร้าง SMEs ชุมชน เป็นฐานการผลิตใหม่ของประเทศ  ขายไปทั่วโลกด้วย E-commerce พลิกฟื้นโอกาสจากภูมิปัญญาชาวบ้าน จาก OTOP และท่องเที่ยว กีฬา วัฒนธรรม เชิดชูวัฒนธรรม ประเพณีงดงามท้องถิ่น ดึงนักท่องเที่ยวระดับโลก , การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ-การแพทย์ 

ชูศักดิ์ นพดล -B752-4E6A-9041-57103D914042.jpegชูศักดิ์ อรุณี -BE6E-14A1DF3FC90A.jpeg


ผู้สมัครนายก อบจ.ที่ลงในนามพรรคเพื่อไทย 25 จังหวัด ได้แก่

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10 คน ได้แก่

1. จังหวัดชัยภูมิ สุชีพ เศวตกมล เบอร์ 4

2. จังหวัดมหาสารคาม ศรีเมือง เจริญศิริ เบอร์ 4

3. จังหวัดหนองคาย ธนพล ไลละวิทย์มงคล เบอร์ 2

4. จังหวัดหนองบัวลำภู วิชัย สามิตร เบอร์ 6

5. จังหวัดกาฬสินธุ์ เฉลิมขวัญ หล่อตระกูล เบอร์ 2

6. จังหวัดนครพนม สมชอบ นิติพจน์ เบอร์ 3

7. จังหวัดอุดรธานี วิเชียร ขาวขำ เบอร์ 3

8. จังหวัดอุบลราชธานี กานต์ กัลป์ตินันท์ เบอร์ 5

9. จังหวัดยโสธร วิเชียร สมวงค์ เบอร์ 1

10. จังหวัดมุกดาหาร พ.ต.ท.ดร.จิตต์ ศรีโยหะมุกดาธนพงศ์ เบอร์ 2

ภาคเหนือ 6 คน ได้แก่

1. จังหวัดเชียงใหม่ พิชัย เลิศพงศ์อดิศร เบอร์ 1

2. จังหวัดเชียงราย วิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ เบอร์ 3

3. จังหวัดลำพูน อนุสรณ์ วงศ์วรรณ เบอร์ 1

4. จังหวัดน่าน นพรัตน์ ถาวงศ์ เบอร์ 3

5. จังหวัดลำปาง ตวงรัตน์ โล่ห์สุนทร เบอร์ 1

6. จังหวัดแพร่ อนุวัธ วงศ์วรรณ เบอร์ 1

ภาคกลาง 9 คน ได้แก่

1. จังหวัดสุพรรณบุรี พล.ต.เทียมศักดิ์ สุขานุยุทธ เบอร์ 1

2. จังหวัดระยอง เกรียงไกร กิ่งทอง เบอร์ 3

3. จังหวัดนครนายก สิทธิชัย กิตติธเนศวร เบอร์ 1

4. จังหวัดปราจีนบุรี เกียรติกร พากเพียรศิลป์ เบอร์ 2

5. จังหวัดนครปฐม วินัย วิจิตรโสภณ เบอร์ 4

6. จังหวัดสมุทรสงคราม ธนวุฒิ โมทย์วารีศรี เบอร์ 6

7. จังหวัดสมุทรสาคร เชาวรินทร์ ชาญสายชล เบอร์ 1

8. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 

นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล เบอร์ 2

9. จังหวัดสิงห์บุรี ดร.สุรสาล ผาสุก เบอร์ 4

  • งงข้อกฎหมายห้าม ส.ส.ช่วยหาเสียงทั้งที่ส่งในนามพรรค

ชูศักดิ์  ศิรินิล รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ยังกล่าวถึงการตีความของ พ.ร.บ.เลือกตั้งท้องถิ่น มาตรา 34 ที่ กกต.ชี้ว่าพรรคส่งผู้สมัคร อบจ.ในนามพรรคและใช้โลโก้พรรคได้ แต่ห้าม ส.ส.  ,ส.ว.  ข้าราชการการเมือง รวมถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐช่วยหาเสียงนั้นจะเป็นการลักลั่นของกฎหมายหรือไม่ว่า  ขึ้นอยู่กับการตีความกฎหมาย แต่ยอมรับว่าอาจขัดรู้สึกแปลกกันอยู่บ้าง ก็พร้อมทำตามกฎหมาย  

ชูศักดิ์ยังระบุด้วยว่าเท่าที่รับทราบ กกต.ไม่ได้มีมติเรื่องนี้เป็นเอกฉันท์  และท้ายที่สุดต้องให้คนที่ไม่ได้เป็น ส.ส. ไปช่วยหาเสียง  และเชื่อว่าหากพรรคไม่ได้ให้ ส.ส.ของพรรคไปช่วยหาเสียงก็จะไม่มีเรื่องร้องเรียน

รองหัวหน้าพรคเพื่อไทยยังกล่าวถึงกรณีที่ ส.ว.และ ส.ส. เข้าชื่อยื่นต่อประธานรัฐสภา ขอให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าญัตติการแก้รัฐธรรมนูญของพรรคร่วมฝ่ายค้าน พรรคร่วมรัฐบาล และร่างฯของไอลอว์แก้มาตรา 256 และตั้ง ส.ส.ร.มายกร่างฉบับใหม่ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญปี 2560 หรือไม่ ว่าก็อาจมองว่าเป็นการยื่นเร็วไป ตามกระบวนการทำได้หลังโหวตผ่านวาระ 3  ส่วนจะทำให้กระบวนการแก้ไขล่าช้าออกไปหรือไม่ต้องรอดูว่าศาลรัฐธรรมนูญระรับคำร้องไว้วินิจฉัยหรือไม่ เพราะญัตติเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาแล้ว 

ส่วนคำร้องที่ยื่นไปนั้นที่ ส.ว.เห็นว่าเป็นการยกร่างฉบับใหม่อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญปี 2560 ชูศักดิ์ระบุความเห็นส่วนตัวว่า ตามร่างที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภาเป็นการไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญปี 2560 แต่อาจเพราะภาษาพูดที่อาจสื่อความหมายว่าเป็นการยกร่างฉบับใหม่ โดยเห็นว่าไม่ใช่ประเด็นอะไร 

และคิดว่าตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่เคยมีมา เป็นการวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 291 แต่ปัจจุบันยกเลิกกฎหมายฉบับเดิมไปและไม่ควรนำคำวินิจฉัยกฎหมายฉบับเดิมมาอ้าง โดยตามรัฐธรรมนูญฉบับปี2560 กำหนดวิธีแก้ไขไว้แล้วตาม มาตรา 256 ที่หากจะแก้วิธีแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ทำประชามติ  และตั้งข้อสังเกตว่าการยื่นศาลรัฐธรรมนูญอยากจะยื้อเวลาหรือไม่