ไม่พบผลการค้นหา
จากระบบข้อมูล Health Data Center ของกระทรวงสาธารณสุข ปี 2567 พบว่า ผู้ป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ มีจำนวน 2.1 ล้านคน ส่วนในปี 2566 พบผู้ป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางทั้งสิ้น 10.5 ล้านคน

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ต่อสุขภาพของประชาชน จากระบบข้อมูล Health Data Center ของกระทรวงสาธารณสุข ปี 2567 (1 ม.ค. 67-21 มี. ค. 67) พบว่า ผู้ป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ มีจำนวน 2.1 ล้านราย แบ่งเป็น

  1. กลุ่มโรคทางเดินหายใจ 989,216 ราย
  2. กลุ่มโรคหัวใจขาดเลือด 343,323 ราย
  3. กลุ่มโรคตาอักเสบ 363,892 ราย
  4. กลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ 409,218 ราย

ส่วนในปี 2566 พบ 6 จังหวัดที่พบผู้ป่วยมากที่สุด ได้แก่

  1. นครราชสีมา 520,579 ราย
  2. เชียงใหม่ 360,263 ราย
  3. นครศรีธรรมราช 335,557 ราย
  4. ขอนแก่น 328,311 ราย
  5. อุบลราชธานี 311,501 ราย
  6. กรุงเทพมหานคร 301,632 ราย
433725751_3576976195891221_4671550871505576124_n.jpg


สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยข้อมูลในรายงานสภาวะสังคมไทย ไตรมาสสี่และภาพรวมปี 2566 พบว่า ตลอดปี 2566 มีผู้ป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศสูงถึง 10.5 ล้านราย เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 3.6 โดยส่วนใหญ่ป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ โรคผิวหนังอักเสบ และโรคตาอักเสบ ซึ่งพบมากท่ีสุดในภาคเหนือ รองลงมาคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และกรุงเทพมหานคร

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเป็นรายโรคสำคัญจากฝุ่นละออง PM 2.5 และรายจังหวัด ในปี 2566 พบว่า โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจาก ปี 2565 ร้อยละ 39.1 โดยพบผู้ป่วยมากสุดในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา รองลงมาเป็นโรคมะเร็งปอด เพิ่มข้ึน ร้อยละ 19.7 โดยเฉพาะในพ้ืนที่กรุงเทพมหานคร และโรคหลอดเลือดสมองเพ่ิมขึ้นร้อยละ 16.8 โดยพบมากสุด ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอายุ 60 ปีข้ึนไป

สำหรับสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในปี 2567 ข้อมูลต้ังแต่วันท่ี 1 มกราคม 21 มีนาคม 2567 พบผู้ป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศแล้ว 2.1 ล้านราย โดยภาคเหนือพบผู้ป่วยสูงกว่าพ้ืนที่อ่ืน 

ดังน้ัน จึงต้องเฝ้าระวังป้องกันโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มี โรคประจำตัว หากจำเป็นต้องออกจากบ้านให้สวมหน้ากากเพ่ือป้องกันฝุ่น


ทั้งนี้ การป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยมีแนวทางการแก้ไขท่ีสำคัญคือ

1) การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนเพ่ือให้เข้าใจถึงผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5

2) การควบคุมปริมาณการปล่อยสารมลพิษทางอากาศจากโรงงานอุตสาหกรรม

3) การลดการเผาหญ้าหรือขยะมูลฝอยในที่โล่ง

4) การส่งเสริมให้เดินทางโดยระบบขนส่งมวลชน นอกจากนี้ ยังต้องสร้างจิตสานึกให้ตระหนักถึง ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมร่วมกัน จะเป็นการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศได้อย่างย่ังยืน 


ที่มา

  • ระบบข้อมูล Health Data Center ของกระทรวงสาธารณสุข
  • รายงานสภาวะสังคมไทย ไตรมาสสี่และภาพรวมปี 2566