ไม่พบผลการค้นหา
เทียบตัวเลขจำนวนผู้ป่วย ‘ด้วยโรคจากมลพิษทางอากาศ’ ข้อมูลจาก Health Data Center (HDC) จับตา 5 โรค หลอดเลือดสมอง หัวใจขาดเลือด ปอดอุดตันเรื้อรัง  กลุ่มโรคตาอักเสบ และมะเร็งปอด

ข้อมูลจาก Health Data Center (HDC) กระทรวงกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผย ‘การป่วยด้วยโรคจากมลพิษทางอากาศ’ ซึ่งเกี่ยวเนื่องจากเจ้าฝุ่นจิ๋ว PM2.5 ที่มีขนาดเล็กละสามารถแทรกสู่ร่างกายจากหลอดลมสู่หลอดเลือด และกระจายไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย และเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆ อาทิ หอบหืด หลอดเลือดสมอง หัวใจขาดเลือด ปอดอุดตันเรื้อรัง  และยังเป็นเสี่ยงให้เกิดโรคมะเร็งปอดอีกด้วย

ตัวเลขตั้งแต่ปี 2563 ถึงเมษายน 2567 พบว่า ผู้ป่วยจากโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศมีจำนวนสูงขึ้นทุกปี ดังนี้ 

434572069_363662765996296_5550570465298779804_n.jpg


มะเร็งปอด 

ในอดีตเราอาจคิดกันว่า โรคนี้สัมพันธ์กับคนมีพฤติกรรมสูบบุหนี่เป็นหลัก ทว่าจากข้อมูลพบว่า คนที่ไม่สูบบุหรี่ก็ป่วยด้วยโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยหนึ่งในปัจจัยก็คือเจ้าฝุ่นจิ๋ว PM2.5 นั่นเอง 

จากข้อมูลของ รศ.พญ บุษยามาส ชีวสกุลยง หัวหน้าคณะมะเร็งวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่า หากอยู่ในสภาวะที่มี PM2.5 จะทำให้คนธรรมดามีความเสี่ยงเกิดโรคมะเร็งปอดเพิ่มขึ้น 1-1.4 เท่า เนื่องจาก PM2.5  เป็น สารก่อมะเร็งที่มีขนาดโมเลกุลเล็กเพียง 2.5 ไมครอน เล็กมากจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ดังนั้นเมื่อ PM2.5 ลอยเข้าไปในหลอดลมจนถึงปอด จะเข้าไปโดยที่เราไม่รู้สึกตัวและป้องกันไม่ได้ เมื่อเข้าไปในปอดแล้วก็จะทำให้เกิดการอักเสบ มีการกลายพันธุ์ของ DNA RNA หากร่างกายได้รับสาร PM2.5 ในปริมาณมากและยาวนานเกินไป ร่างกายต่อสู้ไม่ไหวจะทำให้กลายเป็นมะเร็งปอดได้ โดยมะเร็งที่พบสัมพันธ์กับ PM2.5 ก็คือเป็นชนิดอะดีโนคาร์ซิโนมา (Adenocarcinoma) หรือมะเร็งชนิดต่อม ซึ่งผู้หญิงมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดชนิดนี้ได้มากกว่าผู้ชาย ส่วนคนที่สูบบุหรี่อยู่แล้วเมื่อสูด PM2.5 เข้าไปจะเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งปอดจะทวีคูณขึ้นเป็น 2 เท่า

ตัวเลขผู้ป่วยมะเร็งปวด 5 ปีย้อนหลังของ HDC พบว่า 

  • 2563 มีจำนวนผู้ป่วย 122,104
  • 2564 มีจำนวนผู้ป่วย 181,459
  • 2565 มีจำนวนผู้ป่วย 190,884
  • 2566 มีจำนวนผู้ป่วย 242,962
  • 2567 (ม.ค. - เม.ย.) มีจำนวนผู้ป่วย 55,986

ปอดอุดกั้นเรื้อรัง 

สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 เพิ่มความเสี่ยงต่อผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้น ส่งผลให้อัตราการป่วย อาการกำเริบเฉียบพลัน การนอนโรงพยาบาลและการเสียชีวิตด้วยโรคระบบทางเดินหายใจเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากขนาดที่เล็กจิ๋วของ PM 2.5 ทำให้ฝุ่นละอองชนิดนี้สามารถแพร่กระจายเข้าสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด และแทรกซึมสู่กระบวนการทำงานในอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น มะเร็งปอด รวมถึงปอดอุดกั้นเรื้อรัง 

จากตัวเลขผู้ป่วยด้วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 5 ปีย้อนหลัง พบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และส่วนหนึ่งคือภัยร้ายอย่าง PM 2.5  

  • 2563 มีจำนวนผู้ป่วย 837,236
  • 2564 มีจำนวนผู้ป่วย 1,052,260
  • 2565 มีจำนวนผู้ป่วย 1,058,071
  • 2566 มีจำนวนผู้ป่วย 1,186,585
  • 2567 (ม.ค. - เม.ย.) มีจำนวนผู้ป่วย 291,544

หลอดเลือดสมอง 

นอกจากกลุ่มโรคทางเดินหายใจ PM2.5 ยังเป็นสาเหตุของการเกิดโรคในกลุ่มหัวใจหลอดเลือดและสมองอุดตันขาดเลือด จากข้อมูลของพญ. ดารกุล พรศรีนิยม อายุรแพทย์ด้านระบบประสาทและโรคจากการนอนหลับ ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่ พบว่า  PM2.5 สามารถซึมผ่านเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้ภูมิต้านทานต่ำลง การพาออกซิเจนไปสู่อวัยวะต่างๆ แย่ลง ทำให้เกิดโรคหัวใจมากขึ้น เช่นหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หัวใจเต้นผิดจังหวะ นอกจากฝุ่นเข้าสู่กระแสเลือดแล้วเกิดกระบวนการสร้างสารอักเสบเรื้อรัง ซึ่งสารเหล่านี้สามารถซึมเข้าสู่สมองได้

ยิ่งไปกว่านั้นฝุ่น PM2.5 ยังผ่านเข้าทางเส้นประสาทการรับกลิ่นที่อยู่เหนือโพรงจมูก ตรงเข้าสู่สมองโดยตรง ทำให้เกิดการอักเสบในสมองขึ้น เกิดโรคทางสมองต่างๆตามมามากมายร้ายแรงถึงขั้นเกิดภาวะอัมพาตหรืออาจเสียชีวิตได้ ความรุนแรงขึ้นกับปริมาณฝุ่นที่ได้รับ และ ระยะเวลาที่ได้สัมผัสฝุ่น

ตัวเลขผู้ป่วยมะเร็งปวด 5 ปีย้อนหลังของ HDC พบว่า 

  • 2563 มีจำนวนผู้ป่วย 930,737
  • 2564 มีจำนวนผู้ป่วย 1,290,288
  • 2565 มีจำนวนผู้ป่วย 1,399,328
  • 2566 มีจำนวนผู้ป่วย 1,721,576
  • 2567 (ม.ค. - เม.ย.) มีจำนวนผู้ป่วย 437,005

หัวใจขาดเลือด

ไม่ใช้แค่ปอดและสมอง แต่ PM2.5 ก็ยังสามารถทำร้ายหัวใจได้เช่นกัน ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกระบุว่า กว่า 20% ของการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดมีสาเหตุมาจากมลพิษทางอากาศ และทุกๆ ปีมีมากกว่า 3 ล้านคนที่เสียชีวิตจากสาเหตุนี้ อีกทั้งหากในอากาศมีฝุ่น PM 2.5 เกิน 10-25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรแล้วร่างกายได้รับเข้าไปติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะทำให้เกิดการอักเสบ ส่งผลเสียต่อการแข็งตัวของเลือด การทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือด ทำให้เกิดโรคเรื้อรัง ทั้งโรคหัวใจ หัวใจวาย หัวใจล้มเหลว และโรคมะเร็ง

ผลกระทบของฝุ่น PM 2.5 กับหัวใจนั้น หากเกิดขึ้นแบบเฉียบพลันจะส่งผลให้เส้นเลือดเปราะ เส้นเลือดแตก และในผู้ป่วยโรคหัวใจจะเข้าไปกระตุ้นให้โรคที่เป็นอยู่รุนแรงขึ้น ส่วนในระยะยาวผลกระทบจะเกิดการเปลี่ยนแปลงระดับเซลล์ กระตุ้นการอักเสบทั่วร่างกาย หลอดเลือดหนาตัวมากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อผนังหลอดเลือดเติบโตขึ้น

และหากเราไปดูตัวเลขผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจขาดเลือด 5 ปีย้อนหลัง จะพบว่า 

  • 2563 มีจำนวนผู้ป่วย 13,883
  • 2564 มีจำนวนผู้ป่วย 18,710
  • 2565 มีจำนวนผู้ป่วย 19,537
  • 2566 มีจำนวนผู้ป่วย 21,986
  • 2567 (ม.ค. - เม.ย.) มีจำนวนผู้ป่วย 5,296

กลุ่มโรคตาอักเสบ

แล้วเจ้า PM 2.5 มีผลต่อดวงตาของเราอย่างไร ข้อมูลจาก พญ. อารดา มกรพงศ์ จักษุแพทย์เฉพาะทางด้านจอประสาทตา ระบุว่า ฝุ่นพิษนี้ส่งผลให้เกิดโรคเยี่อบุตาขาวอักเสบ หรือโรคตาแดงเรื้อรัง จนทำให้เกิดการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียแทรกซ้อนเพราะเยี่อบุตาขาวอ่อนแอ เกิดโรคกระจกตาอักเสบ และหากขยี้ตาจะส่งผลให้กระจกตาถลอกได้ง่าย เนื่องจากกระจกตาอ่อนแอ รวมถึงทำให้เกิดโรคเยื่อบุตาเป็นภูมิแพ้เรื้อรัง ในคนที่มีภูมิแพ้จมูกอยู่แล้วจะทำให้ภูมิแพ้ตากำเริบมากขึ้น จะมีอาการตาแดง เคืองตา คันตา เปลือกตาบวม และมีขี้ตาเป็นเมือกสีขาวอีกด้วย

จากตัวเลขผู้ป่วยในกลุ่มโรคตาอักเสบ  5 ปีย้อนหลัง พบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนี้ 

  • 2563 มีจำนวนผู้ป่วย 1,249,868
  • 2564 มีจำนวนผู้ป่วย 1,449,305
  • 2565 มีจำนวนผู้ป่วย 1,525,074
  • 2566 มีจำนวนผู้ป่วย 1,937,181
  • 2567 (ม.ค. - เม.ย.) มีจำนวนผู้ป่วย 470,245