นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) ให้สัมภาษณ์ว่า การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (COVID-19) ตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม 2563 ถือเป็นภัยสุขภาพที่มีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อประชาชนทั่วทุกมุมโลกในรอบหลายสิบปี การที่ประเทศไทยจะผ่านพ้นวิกฤติการระบาดของโรคในครั้งนี้ไปได้นั้น ทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกันอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะสถานพยาบาลเอกชน ซึ่งถือเป็นด่านหน้าในการป้องกันและควบคุมมิให้เกิดการระบาดของโรค จะต้องดำเนินการบนมาตรฐานเดียวกัน
ดังนั้น ที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข จึงได้ร่วมพิจารณาประเด็นการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และได้กำหนดหลักการจ่ายค่าใช้จ่ายในการรับบริการจากสถานพยาบาลเอกชน เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาล โดยไม่ต้องกังวลต่อภาระค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ประกอบด้วย
1. ให้ผู้ที่มีอาการป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉินจากสถานพยาบาล โดยให้ประชาชนเข้ารับสิทธิการรักษาในสถานพยาบาลตามสิทธิรักษาของตนเองก่อน แต่หากมีความจำเป็น หรือมีภาวะฉุกเฉินสามารถเข้ารับการรักษาที่สถานพยาบาลใดก็ได้ทั้งรัฐ และเอกชน
2. กำหนดเงื่อนไขค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉิน กรณี โรคติดเชื้อวัสโคโรนา 2019 ในสถานพยาบาลเอกชน ดังนี้
ด้านทันตแพทย์อาคม ประดิษฐสุวรรณ รองอธิบดีกรม สบส. กล่าวต่อว่า ขณะนี้ กรม สบส. ได้จัดส่งหนังสือแจ้งหลักการจ่ายค่าใช้จ่ายของสถานพยาบาลเอกชนกรณีการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ถึงสถานพยาบาลเอกชนทั่วประเทศเพื่อให้รับทราบถึงแนวทางการปฏิบัติเป็นที่เรียบร้อย จึงขอกำชับให้สถานพยาบาลเอกชนทุกแห่ง ยึดหลักคุณธรรม และมนุษยธรรมเป็นสำคัญ ให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยอย่างเต็มความสามารถโดยไม่เอาค่าใช้จ่ายมาเป็นเงื่อนไข ห้ามเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจากผู้ป่วยหรือญาติโดยเด็ดขาด และให้จัดเก็บเอกสารหลักฐานค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลของผู้ป่วย เพื่อนำมาประกอบการเบิกจ่ายตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :