ในงานครบรอบ "89 ปี แห่งการอภิวัฒน์สยาม" ที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ จัดขึ้นภายใต้หัวข้อสวัสดิการและบทบาทของรัฐในการสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจแก่ประชาชน ศ.ผาสุก พงษ์ไพจิตร คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เลือกบรรยายในประเด็น 'บำนาญถ้วนหน้า' และ 6 ข้อเสนอสู่การเปลี่ยนแนวคิดให้เป็นจริง
ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองชี้อย่างตรงไปตรงมาว่า เมื่อต้องเลือกจุดเริ่มต้นของการเป็นรัฐสวัสดิการ และปัจจุบันประเทศมีมาแล้วในฝั่งสาธารณสุขกับระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 หากจะมองสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ในไทยควบคู่กับสภาพสังคมปัจจุบัน คำตอบหนี้ไม่พ้น 'บำนาญถ้วนหน้า' ด้วยตัวเลขขั้นต่ำ 3,000 บาท/เดือน (อ้างอิงจากตัวเลขเส้นความยากจน)
เหตุที่ต้องเริ่มจากบำนาญถ้วนหน้าเป็นเพราะ "เราแก่ก่อนรวย และผู้สูงอายุเป็น กลุ่มที่ทำให้ครอบครัวเครียดเป็นกังวล" เมื่อพูดถึงเรื่องของภาระทางการเงินในครัวเรือน
ศ.ผาสุก ไม่ทิ้งเวลาให้ถามแย้งว่า แนวคิดเช่นนี้จะเป็นจริงได้เหรอ รัฐบาลจะหาเงินจากไหนมาสนับสนุนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นจากระดับราว 600-900 บาท/เดือน ในปัจจุบัน โดยชี้ว่า หากรัฐบาลสามารถปรับระบบภาษีและการจัดสรรงบประมาณให้เป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ เพียงแค่ 6 เรื่องเบื้องต้นได้ ไม่เพียงประเทศจะมีเงินสนับสนุนผู้สูงอายุ แต่ยังจะมีเงินเหลือไปพัฒนาชาติในมิติอื่นๆ ด้วย
ศ.ผาสุก ปิดท้ายว่า ด้วยการปรับปรุงต่างๆ เหล่านี้ "การที่เราจะมีบำนาญแห่งชาติ เพียงเดือนละ 3,000 บาท สำหรับประชากรสูงอายุ มันเป็นไปได้ ถ้าเราทำทุกอย่าง เงินจะเหลือใช้ฟื้นฟูเศรษฐกิจอีก"