วันที่ 23 พ.ย. เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "เศรษฐกิจไทยในอนาคตแห่งความเปลี่ยนแปลง” โดยกล่าวช่วงต้นกล่างว่า ช่วงทศวรรษที่ผ่านมาประเทศไทยสูญเสียโอกาสไปเยอะมากในเวทีโลก ตนเชื่อว่าทุกคนไม่มีใครปฏิเสธว่าทศวรรษที่ผ่านมาตัวตนของเราในเวทีโลกเกือบไม่มีเลย ซึ่งความภาคภูมิใจของคนไทยที่ไปทำการค้าขายให้ต่างชาติรู้จักสินค้าไทยและศักยภาพของประเทศมีน้อยมากโดยอาจจะมาจากหลายเหตุผลของรัฐบาลที่ผ่านมา แต่รัฐบาลนี้ตั้งใจว่าจะคืนศักดิ์ศรีของคนไทยบนเวทีโลกอีกครั้งเพื่อให้คนไทยหัวใจฟูและภาคภูมิใจที่ประเทศไทยสามารถยืนหยัดบนเวทีโลกและสู้กับประเทศเพื่อนบ้านคู่แข่งได้
เศรษฐา กล่าวต่อว่า ตั้งแต่ตนเข้ามาเป็นนายกฯ ใช้เวลาเยอะมากในการเดินทางไปในและต่างประเทศเพื่อเปิดสัมพันธ์ทางการทูตและแนะนำตัวเองให้นานาชาติรับทราบ และสิ่งที่ตนพยามทำมากขึ้นคือนัดพบและเชื้อเชิญนักธุรกิจต่างประเทศหาโอกาสในการทำธุรกิจ ซึ่งก็เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าตนได้ไปพูดคุยกับใครบ้าง อาทิ บริษัทใหญ่ๆ เพื่อบอกเขาว่าประเทศไทยมีอะไรดีบ้าง และขณะนี้มีรัฐบาลจากการเลือกตั้ง มีพลเรือนที่เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นเรื่องขั้นพื้นฐานที่ต่างประเทศมองเรา พร้อมชี้ว่าประเทศเราไม่ด้อยกว่าประเทศอื่น อาทิ มาตรการภาษีที่ดีเพื่อดึงนักลงทุน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ แต่ถึงอย่างไรต้องใช้เวลา
นอกจากนี้ สิ่งที่หลายคนไม่ค่อยทราบคือประเทศไทยมีเรื่องพลังงานสะอาด รัฐบาลนี้กำลังต่อยอดต่อ เพราะการมีพลังสะอาดเพื่อให้เขามาตั้งโรงงาน ซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบที่ทำให้นักลงทุนสนใจประเทศไทย และเป็นนิมิตหมายจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะยกระดับอุตสาหกรรมของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเกษตรให้พัฒนาขึ้น เพื่อทำให้คนไทยมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
และจากที่ตนพบเจอทูต ก็พยามให้เขาเชิญนักลงทุนกลับมา เพราะทูตพาณิชย์และเอกอัครราชทูตไทยต้องทำงานเชิงรุกมีความรู้ในการขายจุดแข็งของประเทศไทย ไม่ใช่เป็นแค่พูดอย่างเดียว ซึ่งนี่เป็นตัววัดผลใหม่ที่รัฐบาลมอบให้ทูตพาณิชย์และทูตทุกประเทศ ทำงานภายใต้ทีมไทยแลนด์เดียวกัน เพราะอย่างที่ตนไปซาอุดิอาระเบีย เค้าก็ต้องการลงทุนในภาคการเกษตร ซึ่งก็เป็นสิ่งที่รัฐบาลนี้ให้ความสำคัญ ซึ่งนี่ถือเป็นอีกมิติหนึ่งที่ถูกพาณิชย์และทูตทุกประเทศต้องให้ความสำคัญยิ่งขึ้น ซึ่งการเดินทางไปต่างประเทศของตนทุกครั้ง ก็จะเชื้อเชิญผู้ลงทุนไปด้วย โดยตนอยากให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมโดยรัฐบาลจะเป็นตัวเชื่อม เพราะถ้าไม่มีการลงทุนเข้ามาก็จะไม่สามารถทำให้ประเทศไทยติดอยู่กับทางธุรกิจเราไม่สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนได้
เศรษฐา กล่าวต่อว่า ที่ตนถกเถียงกับผู้ว่าฯแบงค์ชาติอยู่ แต่เราก็สามารถพูดคุยกันได้ แต่ตนมั่นใจว่าทุกคนเห็นด้วยว่าเศรษฐกิจไม่ดีในช่วงนี้ เห็นด้วยจากตั้งแต่รัฐบาลเข้ามาก็ดำเนินหลายมาตรการ อาทิ ลดค่าน้ำค่าไฟ แก้หนี้ ทั้งนี้ตนขอฝากไว้ว่าเมื่อเศรษฐกิจทั่วโลกไม่ดีและเวลาที่เขาจะเดินทางเข้ามาประเทศไทยเค้าก็จะต้องคิด ซึ่งนี่ก็เป็นปัญหาใหญ่หนึ่งที่เราจะต้องพยามเชื้อเชิญหรือโฆษณาให้นักท่องเที่ยวเห็นว่าคุ้มที่จะเดินทางเข้ามา
เศรษฐา กล่าวต่อว่า ปัญหาใหญ่ในประเทศไทยเราก็มีอีกหลายเรื่อง อาทิ หนี้สิน ซึ่งตนก็ได้คุยกับผู้ว่าฯแบงค์ชาตินิดนึง ว่าหนี้นอกระบบเป็นปัญหาที่กัดกร่อนสังคมไทยมาอย่างยาวนาน เพราะทำให้ประชาชนย่ำแย่ ฉะนั้นต้องมาคิดว่าในภาวะที่เศรษฐกิจวิกฤต เรื่องหนี้สินสำหรับคนหาเช้ากินค่ำก็จะทำให้กำลังใจในการทำงานลดน้อยลงและอาจไปพึ่งทางที่ผิดจนเกิดปัญหาอาจชญากรรม ดังนั้นการแก้หนี้นอกระบบ จึงเป็นปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลจะต้องแก้ไข รวมถึงหนี้ในระบบ โดย 12 ธ.ค.นี้ รัฐบาลก็จะมีแถลงครั้งใหญ่ในเรื่องดังกล่าว และก็เชื่อว่าจะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น
ส่วนนโยบายภาคการเกษตรที่เป็นนโยบายหลักของรัฐบาลนี้อีกอย่างหนึ่ง เช่น หมูเถื่อน ก็เป็นรัฐบาลที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยทำ สิ่งเหล่านี้รัฐบาลนี้ก็จะพยามทำ ทั้งนี้มีหลายเรื่องที่รัฐบาลนี้ตั้งใจจะทำให้จบก่อนหมดวาระ โดยเร็วๆนี้รัฐบาลจะมีการแถลงแก้ปัญหาเรื่องน้ำ เพราะเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศไทยมาหลาย 10 ปีแล้ว ฉะนั้นรัฐบาลจึงจะดำเนินนโยบายไม่ท่วมไม่แล้งให้ได้
ส่วนเรื่องข้าว ตนได้พูดคุยกับทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ก็พยามหาวิธีที่จะทำอย่างไรให้ราคาผลผลิตสูงขึ้นมาก รวมถึงถั่วเหลืองเพราะเดิมเรานำเข้ามาปีนึงเยอะมาก ฉะนั้นต้องให้ความสำคัญทั้งในเรื่องอาการเกษตรและกฎหมายเพื่อให้ผลผลิตถั่วเหลืองมีเกษตรกรปลูกมากขึ้น รวมถึงต้องพยามทำให้ผู้ซื้อเข้าถึงผู้ผลิตได้เลย ฉะนั้นการค้าเชิงรุกและการเปิดตลาดใหม่ที่รัฐบาลกำลังทำอยู่ก็ต้องดำเนินการ
เศรษฐา กล่าวว่า ระหว่างที่เรามีการว่านเมล็ดพืช หลังมีการลงทุน การพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งภายในระยะ 1 ปีอาจจะไม่เห็นอะไรแต่เราก็ต้องทำในวันนี้เพราะมันต้องมีจุดเริ่มต้น ทั้งนี้นโยบายหลักของรัฐบาลคือต้องมีการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ซึ่งเป็นความจำเป็นที่รัฐบาลต้องทำและเป็นที่มาของโครงการดิจิทัลวอลเล็ต แม้ตอนแรกจะบอกไม่ต้องกู้ ซึ่งก็ต้องทำให้มีความโปร่งใสและจนเป็นที่มาของรัฐบาลนี้ตัดสินใจจะออก พ.ร.บ.เงินกู้ และทางคณะรัฐมนตรีที่เป็นตัวแทน สส. เห็นด้วยและกฤษฎีกาเห็นชอบ ก็ถือว่าถูกต้องตามกฏหมาย ทั้งนี้ พ.ร.บ.ต้องผ่านสภา ซึ่งหากผ่านก็ถือว่าเป็นนโยบายที่มีความชอบธรรมที่ผ่านการตรวจสอบของทุกภาคส่วน ผมไม่อยากจะพูดว่าดิจิทัลวอลเล็ตได้ประโยชน์อย่างไรบ้างเพราะพูดหลายเวทีแล้ว แต่จะขออธิบายว่าทำไมต้องเป็น พ.ร.บ. ฉะนั้นคอยให้ขั้นตอนดำเนินการไปแต่อาจจะช้าบ้าง แต่ขอให้มีความชอบธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้จากทุกภาคส่วน
เศรษฐา กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ มั่งคั่ง ซึ่งประชาชนต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐที่จะขับเคลื่อนในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคราชการที่มีความแข็งแกร่ง และต้องการนำขอรัฐบาลที่มีการค้าเชิงรุก ส่วนการรักษาความสัมพันธ์กันทั่วประเทศก็ถือว่าเป็นบริษัทใหญ่ของรัฐบาล ซึ่งความตึงเครียดของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศบางประเทศ โดยเวลาวงยังไม่มีทางการ ก็จะเห็นได้ว่ามีการแยกวงและมีการรังเกียจอย่างชัดเจน แต่สำหรับไทยก็ถือว่าได้รับการตอบรับที่ดี และทุกเวทีที่ตนไปพูดมันก็บอกว่าประเทศไทยเปิดแล้วพร้อมแล้วเพื่อที่จะออกไปลงทุนต่างประเทศพร้อมกับเชิญนักลงทุนเข้ามาในประเทศไทย ซึ่งระหว่างที่คอยดอกผลระยะยาวก็ต้องมีการช่วยเหลือประชาชนจากนโยบายต่างๆ เพราะรัฐบาลนี้ต้องการทุกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนซึ่งยินดีรับฟังความคิดเห็นที่ติชมเพื่อนำพาประเทศไทยฝ่าวิกฤตครั้งนี้ไปได้ด้วยความสง่างามและยืนอย่างสง่างามบนเวทีโลก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนขึ้นปาฐกถา นายกฯ ได้นั่งใกล้กับ เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมีการพูดคุยหารือกัน ท่ามกลางกระแสข่าวผู้ว่าฯแบงค์ชาติ ไม่สนับสนุนให้หน้าบ้านกู้เงินมาใช้ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต