ไม่พบผลการค้นหา
นิด้าโพลสำรวจความเห็นประชาชน 'รู้สึกอย่างไรกับเพลง ประเทศกูมี' พบผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 58.14 ยังไม่เคยฟัง ส่วนร้อยละ 41.86 เคยฟังแล้ว แต่เกินครึ่งรู้สึก 'เฉยๆ' กับเพลง และมองว่าเป็นการสะท้อนสังคม

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น 'นิด้าโพล' สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “คนไทยรู้สึกอย่างไรกับเพลง ประเทศกูมี” ซึ่งทำการสำรวจระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม – 2 พฤศจิกายน 2561 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,259 หน่วยตัวอย่าง และเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์

จากการสำรวจ เมื่อถามถึงการฟังเพลง 'ประเทศกูมี' พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 58.14 ระบุว่า ไม่เคยฟัง/ดูคลิปเพลง 'ประเทศกูมี' และร้อยละ 41.86 ระบุว่า เคยฟัง/ดูคลิปโดยผู้ที่ระบุว่า ไม่เคยฟัง/ดูคลิปเพลง 'ประเทศกูมี' แบ่งเป็น ประชาชน ร้อยละ 8.34 ระบุว่า อยากฟังมาก ร้อยละ 12.43 ระบุว่า ค่อนข้างอยากฟัง ร้อยละ 28.55 ระบุว่า ไม่ค่อยอยากฟัง และร้อยละ 50.68 ระบุว่า ไม่อยากฟังเลย

ส่วนผู้ที่เคยฟัง/ดูคลิปเพลง 'ประเทศกูมี' ส่วนใหญ่ ร้อยละ 51.61 ระบุว่า เป็นบทเพลงที่แค่สะท้อนความเป็นจริงในสังคม/การเมืองไทย รองลงมา ร้อยละ 39.66 ระบุว่า เป็นแค่บทเพลงที่เสียดสีสังคม/การเมือง เพลงหนึ่งเท่านั้นเอง ร้อยละ 18.41 ระบุว่า เป็นแนวเพลง RAP จะใช้ภาษาที่แรงเป็นธรรมดาอยู่แล้ว ร้อยละ 10.82 ระบุว่า เป็นบทเพลงที่ใช้ภาษาไม่สุภาพ ��้อยละ 7.78 ระบุว่า เนื้อหาของเพลงกล่าวร้ายประเทศไทยมากเกินไป ทำให้ภาพลักษณ์ประเทศเสียหาย ร้อยละ 6.64 ระบุว่า เป็นบทเพลงที่สร้างความแตกแยกในสังคม ร้อยละ 6.45 ระบุว่า เนื้อหาของเพลง/คลิปเพลง มีนัยยะทางการเมืองแอบแฝง ร้อยละ 3.61 ระบุว่า เป็นการไม่เหมาะสมที่จะมีภาพคล้ายเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ในคลิปเพลง และร้อยละ 2.28 ระบุว่า เป็นบทเพลงที่สนับสนุนให้ประชาชนต่อต้านเผด็จการ

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความรู้สึกของผู้ที่เคยฟัง/ดูคลิปเพลง 'ประเทศกูมี' พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.70 ระบุว่า รู้สึกเฉย ๆ กับเพลงนี้ รองลงมา ร้อยละ 30.93 ระบุว่า รู้สึกชอบเพลงนี้ และร้อยละ 15.37 ระบุว่า รู้สึกไม่ชอบเพลงนี้

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 9.29 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.18 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 17.95 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.76 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.82 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 52.03 เป็นเพศชาย และร้อยละ 47.97 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 6.51 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 17.55 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 20.25 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 32.65 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 21.13 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 1.91 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่าง ร้อยละ 93.09 ระบุว่า นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.54 ระบุว่า นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.87 ระบุว่า นับถือศาสนาคริสต์/ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด ๆ และร้อยละ 3.50 ไม่ระบุศาสนา

ตัวอย่าง ร้อยละ 23.91 ระบุว่าสถานภาพโสด ร้อยละ 67.99 สมรสแล้ว ร้อยละ 4.45 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 3.65 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่าง ร้อยละ 29.07 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 29.63 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.47 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 24.07 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.56 จบการศึกษาสูงกว่า ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.20 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่าง ร้อยละ 11.68 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 13.10 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.13 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 14.22 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.72 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 16.92 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.70 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.16 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 4.37 ไม่ระบุอาชีพ

ตัวอย่าง ร้อยละ 14.22 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 26.37 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 25.18 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 11.75 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 5.72 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 8.02 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.74 ไม่ระบุรายได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง: