ไม่พบผลการค้นหา
เวทีเสวนาการเมืองไทยภายใต้รัฐบาล นายทะเบียน พปชร.รับเอง รธน. 60 ริบอำนาจประชาชน ด้าน 'พงศ์เทพ' ชูประชามติรื้อทั้งฉบับ จวกเลขาฯ กกต.ชื่อโผล่สำรอง ส.ว.ลากตั้ง ขณะที่ 'ธนาธร' ขู่รัฐประหารเมื่อใดลุกขึ้นต่อต้านทันที ชี้ความแตกแยกมาจาก 2 ชุดความคิด

เมื่อเวลา 13.20 น. วันที่ 14 มิ.ย. ที่คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในงาน 70 ปี สถาปนาคณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ “วิชาการเพื่อราษฎร์ศาสตร์เพื่อประชาธิปไตย” มีการจัดงานเสวนาหัวข้อ “ทิศทางการเมืองไทยภายใต้รัฐบาลใหม่การเมืองของความหวังหรือจุดเริ่มต้นของวิกฤตครั้งต่อไป” โดยมีนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา แกนนำพรรคเพื่อไทย นายวิเชียร ชวลิต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และนายทะเบียนสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ นายโกวิทย์ พวงงาม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังท้องถิ่นไทย ร่วมเสวนา 

นายนายวิเชียร กล่าวว่า พรรคพลังประชารัฐเป็นพรรคที่เกิดขั้นมาได้เพียง 6-7 เดือนก่อนการเลือกตั้งโดยมีความมุ่งหมายที่เกี่ยวเนื่องกับทิศทางการเมืองประเทศไทยเป็นประเทศที่แปลทั้งที่ประชาธิปไตยตั้งแต่ปี 2475 นำมาสู่การเลือกตั้งการปฏิ���ัติวนเวียนอยู่อย่างนี้ ที่สำคัญคือปี 2516 หลังมีการปฏิวัติเรามีความรู้สึกว่ามันคือความหวังอันรุ่งโรจน์ไพศาลและเป็นความเฟื่องฟูของประชาธิปไตย แต่เวลานี้หลังจากที่หยุดไป5 ปีหลังจากการเลือกตั้งกลับมีความรู้สึกเฟื่องฟูอีกครั้ง ขณะที่รัฐธรรมนูญปี 2560 นั้นเราไม่ได้ให้สิทธิสภาหรือประชาชนมีอำนาจเหมือนปี 2540 แต่มีทั้งสภาและองค์กรอิสระที่มาทำหน้าที่ตรงนี้เป็นลูกผสมกับระบอบประธานาธิบดีไปในตัว 

นายวิเชียร กล่าวว่า บรรยากาศการเมืองที่น่ากลัวเวลานี้ไม่ใช่เรื่องผลการเลือกตั้งคะแนนปริ่มน้ำเท่ากับเรากำลังดำเนินการต่อสู้โดยการโจมตีกล่าวหาเพื่อนน้อยที่สุด เป็นบรรยากาศการที่ดีมากแต่หลังการเลือกตั้งที่ได้สมาชิกเข้ามาทำหน้าที่ปรากฎว่าบรรยากาศนั้นกำลังเปลี่ยนไปการอภิปรายในสภาไม่ได้บอกว่าตัวองดีอย่างไร แต่บอกว่าเพื่อไม่ดีอย่างไร หากท่านสังเกตจากการประชุมสภาซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นคือพวกเขาต้องต่อสู้จนเป็นคดีสู่ศาลสุดท้ายก็กลายเป็นการสู้รบปรบมือแต่หากเราทำการเมืองให้เป็นการโฆษณาให้เขาเคารพรักศรัทธาก็จะไม่นำการคนไปสู่ท้องถนนซึ่งเราต้องเคารพสิทธิของคนอื่น 

ธนาธร

'ธนาธร' ชี้หลัง 2549 เป็นความแตกแยก 2 ขั้วความคิด

ด้าน นายธนาธร กล่าวว่า สิ่งที่เราเป็นอยู่ไม่ใช่วิกฤตครั้งใหม่แต่เป็นวิกฤติเดิมที่มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ 19 ก.ย. 2549 นี่เป็นวิกฤตเดียวกันตั้งแต่วันนั้นถึงวันนี้ซึ่งใจกลางปัญหาไม่ได้อยู่ที่บุคลิกหน้าตาหรือท่าทีของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แต่อยู่ที่อำนาจในประเทศนี้เป็นของใคร20 ปีที่ผ่านมาเรามีรัฐธรรมนูญ5 ฉบับเป็นการบอกว่าเราตกลงกันไม่ได้ว่าอำนาจของประเทศอยู่ที่ใคร มีฝั่งหนึ่งยืนยันหนักแน่นว่าอำนาจของประเทศนี้เป็นของประชาชน ขณะที่อีกฝั่งมีผู้สนับสนุนน้อยกว่าแต่เชื่อว่าอำนาจในประเทศนี้เป็นของอภิสิทธิ์ชนเพียงไม่กี่คนแต่คนกลุ่มนี้มีอำนาจปืนมีรถถังถือตราชั่งทางกฎหมายนี่คือปัญหาใจกลางของสังคมไทยที่ยังแก้ไม่ได้ 

“นี่คือการเข้าสู่เฟสใหม่ระหว่าง 2 ชุดความคิดสมรภูมิความคิดเป็นสมรภูมิเดิม แต่สมรภูมิทางการเมืองเปลี่ยนไปโดยไม่มีองค์กรที่ชื่อว่า คสช.จากการที่มีรัฐบาลใหม่แต่ระบอบ คสช.จะยังอยู่กับเรา 2 วันที่ผ่านมามีการเคลื่อนตัวทางความคิดขนาดใหญ่ของสังคมจากอนุรักษนิยมมาฝั่งที่เชื่อว่าอำนาจเป็นของประชาชนเห็นได้จากพานไหว้ครูซึ่งน่าเหลื่อเชื่อมากว่าการตื่นตัวทางสังคมและการเมืองถูกปลุกขึ้นแล้วโอกาสที่ตัดมันแทบจะเป็นไปไม่ได้ ผมนึกไม่ออกเลยว่าฝ่ายที่เชื่อว่าอำนาจมาจากประชาชนจะแพ้ได้อย่างไรทุกปีมีคนบรรลุนิติภาวะปีละ 700,000 คนซึ่งพวกเขาแสดงให้เห็นแล้วว่าสิ่งที่เขาเห็นคืออะไรและได้แสดงออกมาแล้ว”

วิเชียร

ลั่นเดินสายปฏิรูปกองทัพ - ยุติเกณฑ์ทหาร

เหตุการณ์ข่มขู่เรื่องพานไหว้ครูไม่ใช่เรื่องใหม่แต่มันใช้ไม่ได้แล้ว เช่นเดียวกับงานแปรอักษรหรือการตรวจตรวจสอบทุจริตอุทยานราชภักดิ์ที่ถูกไล่ล่าดำเนินคดี วันนั้นไม่มีฝ่ายค้านแต่วันนี้มีซึ่งหน้าที่ของเราคือการปกป้องสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ซึ่งโชคดีที่พรรคเรามี ส.ส.มากกว่า20 คนซึ่งสามารถเสนอกฎหมายเข้าไปในสภาได้ซึ่งเรื่องแรกที่เราจะทำคือการปรับแก้ รัฐธรรมนูญ มาตรา272 และ279 ในเรื่องอำนาจของส.ว. และคำสั่งคสช.มีอำนาจชั่วกาลปาวสานต่อไป เราจะรณรงค์การปฏิรูปกองทัพ ยุติการเกณฑ์ทหารยุติระบบราชการรวมศูนย์และการกระจายอำนาจ ซึ่งเราเชื่อว่ามันเป็นทั้งเรื่องเศรษฐกิจปากท้องระบบราชการและการเมืองยึดโยงด้วยกันอย่างน้อยเรามีช่องทางมากขึ้นและอำนาจที่ใช้กดทับเรามาตลอด5 ปีจะใช้ไม่ได้

“นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย บอกกับพี่น้องประชาชนว่าภูมิใจไทยจะไม่ร่วมรัฐบาลเสียงข้างน้อย ผมถามจริงๆว่าหากใช้สูตรคำนวณปาร์ตี้ลิสต์แบบที่นักวิชาการหรือสื่อมวลชนทั่วไปคำนวณกลุ่มพรรคที่ร่วมเสียงข้างมากในสภาล่างได้คือกลุ่มพรรคที่ต้าน คสช.ดังนั้นหากใช้ตรรกะนี้นายอนุทินจะไปร่วมกับพรรคพลังประชารัฐไม่ได้เลยซึ่งการใช้อำนาจของ กกต.ในการคำรวณสูตรทำให้การจัดตั้งรัฐบาลครั้งนี้ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชน" หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ระบุ

นายธนาธร กล่าวว่า การกระจายอำนาจถามว่าตั้งแต่รัฐประหาร2549 และ5 ปีของคสช.อำนาจถูกกระจายไปท้องถิ่นมากขึ้นหรือถูกดึงเข้ามายังส่วนกลางผมเติบโตมากับหนังสืออาจารย์โกวิทย์อาจารย์อยู่ผิดพรรคแล้วครับความเหลื่อมล้ำที่กระจุกตัวอยู่กับส่วนกลางคือปัญหาแล้วรัฐเผด็จการที่จะสืบทอดอำนาจจะกระจายอำนาจนั้นคงเป็นไปไม่ได้ทุกพรรคการเมืองต่างพูดเรื่องการกระจายอำนาจส่วนเรื่องเทคโนโลยีถ้าทำไม่ได้ผมทำให้เองก่อนออกจากบริษัทมีหุ่นยนต์1,600 ตัวผมพร้อมพาประเทศไทยต่อกรกับเทคโนโลยีได้มากกว่านี้ 

“ส่วนคำถามว่าจะเกิดรัฐประหารอีกหรือไม่นั้น สุดวิสัยที่ผมจะตอบได้แต่หากเกิดขึ้นอีก ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนทุกคนให้ลุกขึ้นมาต่อสู้ต่อต้านการรัฐประหารไปด้วยกันศตวรรษที่21 ไม่ควรเกิดเหตุการณ์แบบนี้อีกแล้ว” นายธนาธร กล่าว

ธนาธร

'เพื่อไทย' ลุยสอบร่างทรง คสช.เข้มข้น - ประชามติ แก้ รธน.

ขณะที่นายพงศ์เทพ กล่าวว่า เมื่อจัดตั้งคณะรัฐมนตรีแล้วเสร็จมาตรา 44 ที่ปิดปากสื่อมา5 ปีการตรวจสอบไม่ได้จะหมดไป แม้คสช.จะหมดไปแล้วแต่ร่างทรงและวิญญาณของ คสช.ยังอยู่ในชื่อเดิมพล.อ.ประยุทธ์พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พล.อนุพงษ์ เผ่าจินดา อยู่ในคณะรัฐมนตรีเดิม ถ้าอยู่กับ สนช.จะถูกประคบประหงมยิ่งกว่าไข่ในหิน แต่ในสภาผู้แทนฯนั้น พรรคเพื่อไทย อนาคตใหม่จะตรวจสอบร่างทรง คสช.อย่างเข้มข้นที่ผ่านมาเรามีข้อสงสัยไปพึ่งองค์กรอิสระก็ไม่เกิดอะไรขึ้น แต่ในสภาฯข้อสงสัยของพี่น้องประชาชนจะได้รับการเปิดเผยผ่านการตั้งกระทู้ทุกสัปดาห์สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ ก็ต้องทำหน้าที่พิทักษ์ร่างทรงคสช.อย่างหนัก ส่วนส.ว.นั้นมีความกังวลใจไม่มีการเปิดเผยทำอะไรลับๆล่อๆทำให้สังคมคลางแคลงใจสงสัยคณะกรรมการสรรหาและหลักเกณฑ์ แต่นายวิษณุ เครืองาม เนติบริกรอาวุโสพยายามบิดไม่ยอมตอบจนยิ่งสงสัย 

นายพงศ์เทพ กล่าวว่า "ภายใต้รัฐบาลผสม19 พรรคแค่จัดทำนโยบายก็น่าเป็นห่วงแล้วการทำงานต้องดูว่าจะมีเอกภาพหรือไม่อย่างประชาธิปัตย์ก็คงไม่พอใจกับ 52 ส.ส.แน่ ความสามารถพล.อ.ประยุทธ์จะได้รับการยอมรับจากพรรคร่วมหรือไม่ ฝ่ายค้านทำได้อย่างเก่งก็ตรวจสอบการแก้รัฐธรรมนูญฉบับนายมีชัย ฤชุพันธุ์ คงไม่แก้ไม่ได้ เขาไม่ได้เขียนมาให้แก้แต่เขียนมาให้ฉีกจึงต้องยกร่างใหม่ แต่กลไกนั้นถูกปิดต้องทำประชามติถามประชาชนว่าพร้อมจะทำกติใหม่ที่เป็นธรรมร่วมกันหรือไม่"

โกวิทย์

ด้านนายโกวิทย์ พวงงาม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังท้องถิ่นไท กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการรวมศูนย์อำนาจรัฐที่ส่วนกลาง และพรรคมีนโยบายหลัก คือ การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ที่จะลดความเหลื่อมล้ำได้ ส่วนรัฐบาลใหม่จะไปรอดหรือไม่ อยู่ที่การสร้างศรัทธาให้กับประชาชนว่านำนโยบายที่จะแถลงไปปฏิบัติให้เป็นจริงได้หรือไม่ นอกเหนือจากความซื่อสัตย์สุจริตและตัวบุคคลที่จะมาเป็นรัฐมนตรี ถ้าไปไม่รอดก็ยุบสภาผู้แทนราษฎรหรืออาจถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ และเห็นว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.ควรปรับท่าทีให้สอดคล้องกับการเป็นนายกรัฐมนตรีในระบบรัฐสภาด้วย

นายโกวิทย์ ยืนยันว่า วิธีคิดและแนวทางแก้ปัญหาแตกต่างกันได้ แต่ต้องแก้ในสภาฯ ซึ่งสภาฯยุคนี้ต่างจากอดีตเพราะมีความหลากหลายทั้ง ส.ส.และพรรคเกิดใหม่และถือเป็นสิ่งที่ดี ที่สำคัญบางเรื่องสามารถทำงานร่วมกันได้ระหว่าง ส.ส.ฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาล โดยไม่ต้องต่อสู้นองเลือดบนท้องถนนอย่างในอดีต

ข่าวที่เกี่ยวข้อง