ไม่พบผลการค้นหา
ผู้ตรวจการแผ่นดินมีมติเอกฉันท์ส่งศาล รธน. ตีความการคำนวณ สูตร ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ พร้อมยกคำร้องประเด็นขอให้เลือกตั้งเป็นโมฆะ และยกคำร้องตีความบทบัญญัติใน รธน. ขัดแย้งกันเองกรณีคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ย่ำไม่ใช่อำนาจหน้าที่ผู้ตรวจการฯ

นายรักษเกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน แถลงผลการประชุมผู้ตรวจการนัดพิเศษ ว่า ที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดินมีมติเอกฉันท์ยกคำร้องที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตสมาชิกพรรคไทยรักษาชาติ ขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน ส่งเรื่องไปศาลปกครองหรือศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาวินิจฉัยกรณี เจ้าหน้าที่ กกต.อาจปฏิบัติหน้าที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายหรือการกระทำของ กกต. ส่อไปลักษณะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่อันอาจทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริตหรือเที่ยงธรรมได้ โดยผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่าคำร้องของ ผู้ร้องที่ขอให้ส่งศาลปกครองหรือศาลรัฐธรรมนูญ ไม่มีเหตุผลที่จะส่งไปได้ไม่เป็นปัญหาที่จะส่งไปได้ อีกทั้งผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่ากรณีนี่ไม่มีปัญหา ซึ่งได้พิจารณาตามคำร้องต่างๆ ที่ร้องเข้ามาแล้วพบว่าไม่มีปัญหาจึงยุติเรื่อง

นายรักษเกชา ยังระบุว่า ขณะเดียวกันผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาคำร้องของนายเรืองไกร และนายวิรัตน์ กัลยาศิริ สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ที่ขอให้เสนอเรื่องไปศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณีสูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ.2561 มาตรา 128 มีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 และมาตรา 91 (4) มีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 วรรคสามและมาตรา 91 (4) มีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 83 (2)หรือไม่ 

โดยผู้ตรวจการแผ่นดินมีมติให้ยุติเรื่องในกรณีขอให้เสนอศาลรัฐธรรมนูญพิจารณามาตรา 91 (4) มีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 วรรคสามและมาตรา 91 (4) มีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 83 (2)หรือไม่ โดยพิจารณาแล้วเห็นว่าตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ.2560 มาตรา 23 (1) บัญญัติให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีหน้าที่และอำนาจเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

โดยคำว่า ‘บทบัญญัติแห่งกฎหมาย’ หมายถึงกฎหมายที่ตราขึ้ยโดยองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติตามกระบวนการที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะตราขึ้นโดยฝ่ายบริหารหรือฝ่ายนิติบัญญัติก็ตาม ได้แก่ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ พ.ร.บ. พ.ร.ก.ที่ได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาแล้ว การที่ผู้ร้องอ้างว่าบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญขัดแย้งกันเองจึงไม่อยู่ในหน้าที่และอำนาจผู้ตรวจการแผ่นดินจะเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้

เอกชัย ผู้ตรวจการแผ่นดิน __48996366.jpgผู้ตรวจการแผ่นดิน รักษเกชา​ สื่อมวลชน_190426_0007.jpgรักษเกชา แฉ่ฉาย ผู้ตรวจการแผ่นดิน _190426_0001.jpg

ขณะเดียวผู้ตรวจการแผ่นดินยังมีมติเอกฉันท์ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในประเด็น พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ.2561 มาตรา 128 มีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 โดยเห็นว่ามาตรา 91 วรรคแรกได้วางหลักเกณฑ์คำนวณ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองไว้ ตาม (1) ถึง (5) โดยผลลัพธ์การคำนวณต้องไม่มีผลให้พรรคการเมืองใด มี ส.ส. เกินจำนวนที่จะพึงมีได้ แม้วรรคท้ายมาตรา 91 จะบัญญัติให้นับคะแนน หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณ

ดังนั้น การคิดอัตราส่วนให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ก็ตามก็ต้องคิดคำนวณอยูาในกรอบมาตรา 91 วรรคแรกเท่านั้น แต่ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา128 ได้เพิ่มหลักเกณฑ์คำนวณหา ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ เป็น 8 อนุมาตรา ซึ่งมากกว่ามาตรา 91 กำหนดไว้ การเพิ่มอนุมาตราและเนื้อหาเป็นเหตุให้การคำนวณหา ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อได้ผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ที่กำหนดไว้มาตรา 91 ดังนั้นมาตรา 128 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. จึงมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 91 ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงมีมติส่งความเห็นให้ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยต่อไป 

"การทำงานของผู้ตรวจการแผ่นดินแม้จะมีมติให้ส่งเรื่องไปศาลก็ไม่ได้เป็นมติที่มีผูกพันกับองค์กรอื่น ส่วนคำร้องจะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญน่าจะทำความเห็นให้เสร็จในวันนี้ (26 เม.ย.) และคาดว่าจะส่งได้ไม่เกินวันที่ 29 เม.ย." นายรักษเกชา ระบุ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :