สำนักงานสถิติแห่งชาติ รายงานการสำรวจข้อมูลผู้มีรายได้น้อย ระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม - 18 สิงหาคมที่ผ่านมา จำนวน 11 จากผู้ลงทะเบียน 14 ล้านคน พบว่า ในปี 2559 ผู้ลงทะเบียน มีรายได้จากการประกอบอาชีพและรายได้อื่นๆ ต่ำกว่า 30,001 บาท ร้อยละ 51.6 รองลงมา มีรายได้ 30,001 – 100,000 บาทต่อปี ร้อยละ 27.8 , ไม่มีรายได้ ร้อยละ 19 และมีรายได้มากกว่า 100,000 บาทต่อปี ร้อยละ 1.3
ส่วนสภาพความเป็นอยู่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 68.3 มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ไม่ต้องผ่อนชำระ รองลงมาอาศัยอยู่กับบิดา มารดา ญาติ พี่น้อง และอาศัยอยู่กับผู้อื่น เช่น เพื่อน คนรู้จัก วัด ด้านอาชีพและการทำงาน อันดับ 1 ทำการเกษตรปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ รองลงมา คือ ลูกจ้างเอกชนและรับจ้างทั่วไป และในจำนวนนี้ไม่มีหนี้นอกระบบ สูงถึงร้อยละ 85.9 ส่วนกลุ่มที่มีหนี้นอกระบบ คิดเป็นร้อยละ 13.7 โดยยอดหนี้นอกระบบสูงสุด คือ มากกว่า 10,000 บาท
สำหรับความต้องการช่วยเหลือจากภาครัฐ 5 อันดับแรก คือ ลดค่าน้ำ - ไฟฟ้า ลดค่าสินค้าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน 3 ลดค่ารักษาพยาบาลและดูแลสุขภาพ เพิ่มเบี้ยยังชีพคนชรา และลดภาระค่าอุปกรณ์การศึกษาบุตรหลาน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ ภาครัฐจะนำมาใช้กำหนดนโยบายด้านสวัสดิการให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีรายได้น้อยต่อไป