ไม่พบผลการค้นหา
ภาพพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิกที่ปักกิ่งเมื่อ 10 ปีที่แล้ว เชื่อว่ายังสะกดสายตาผู้ชมทั่วโลกให้ตกตะลึงกับการจัดงานระดับโลกในจีน หลายฝ่ายคาดหวังว่าความเป็นตะวันตกจะทำให้จีนมุ่งหน้าสู่ความเป็นประชาธิปไตยที่มากขึ้น แต่ในทางกลับกันจีนกลับเข้มงวดทางสังคมและการเมืองมากขึ้น นับตั้งแต่สิ้นสุดยุคของเหมาเจ๋อตุงเป็นต้นมา

วันที่ 8 เดือน 8 ปี 2008 หรือ วันนี้เมื่อ 10 ปีที่แล้ว จีนจัดพิธีเปิดโอลิมปิกที่ยิ่งใหญ่ตระการตาสะกดสายตาชาวโลก เพื่อส่งข้อความไปทั่วโลกว่า ช่วงทศวรรษแห่งการปฏิรูปและการเติบโตของจีนได้เริ่มต้นแล้ว โดยงานนี้จีนจ่ายเงินหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อจัดการแข่งขันกีฬาระดับโลก

เบรน บริดจ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกีฬาและการเมือง หมาวิทยาลัยลิงนานของฮ่อง กล่าวว่า ‘ความสำเร็จของกีฬาโอลิมปิกที่ปักกิ่งช่วยกระตุ้นให้ประชาชนจีน มีความมั่นใจในตนเองและทำให้จีนก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำที่แข็งแกร่ง’

หลังจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกจบลง สถานการณ์ทางการเมืองจีนกลับยิ่งเข้มงวดมากยิ่งขึ้นนับตั้งแต่สิ้นสุดยุคของเหมาเจ๋อตุง

นโยบายสาธารณะต่างๆที่ออกมาในช่วงก่อนการแข่งขันโอลิมปิก ส่งผลให้เกิดการปฏิรูปโฉมหน้าของปักกิ่งอย่างสิ้นเชิง ทั้งการปรับปรุงห้องน้ำสาธารณะ ปรับปรุงทัศนียภาพและภาพลักษณ์ของเมือง รวมไปถึงการสร้างทางรถไฟความเร็วสูงสายแรกของจีนระหว่างปักกิ่ง - เทียนจิน เพื่อขนส่งนักกีฬา การปรับปรุงสนามบินและโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งต่างๆ ให้รองรับผู้คนที่จะไหลมาอย่างมหาศาล และยังรวมไปถึงการดึงดูดชาวจีนโพ้นทะเลให้กลับมายังประเทศอีกด้วย

ตง ห่าว สถาปนิกชาวปักกิ่งที่ไปเรียนอยู่ในนิวยอร์คกล่าวกับบีบีซีว่า ‘ในช่วงปี 2005 คุณอาจจะคาดหวังการไปทำงานในต่างประเทศ แต่ในช่วงก่อนโอลิมปิกศักยภาพต่างๆ ของการจัดงานในครั้งนั้นดึงดูดให้เขากลับมายังจีน เนื่องจากการเติบโตในการก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงการดีไซน์ตึก อาคารในรูปแบบที่แปลกใหม่และทันสมัย ทำให้ปักกิ่งกลายเป็นเมืองที่มีชีวิตชีวามาขึ้น และบางครั้งก็ไม่ต้องหาเหตุผลในการสร้างแม้ว่ามันอาจจะไม่ตอบโจทย์การใช้งาน แต่นั้นปักกิ่งก็แสดงให้เห็นว่า "มันต้องมี"’

แม้ว่าการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2008 จะทำให้ภาพลักษณ์ของจีนเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นสมัยใหม่ แต่สำหรับในทางการเมืองแล้ว โจวเซียง ลู่ ผู้เชี่ยวชาญด้านกีฬาและการเมือง มหาวิทยาลัยไอร์แลนด์เมนูธ กล่าวว่า ‘หลายคนหวังว่ากีฬาโอลิมปิกจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในเชิงบวกมากขึ้น และคาดหวังว่าระบบการเมืองของตะวันตกจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในพรรคคอมมิวนิสต์ในจีน รวมไปถึงการพยายามปรับเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตย แต่ในความจริงแล้วหลังจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกจบลง สถานการณ์ทางการเมืองจีนกลับยิ่งเข้มงวดมากยิ่งขึ้นนับตั้งแต่สิ้นสุดยุคของเหมาเจ๋อตุง โดยเฉพาะการควบคุมการแสดงความเห็นในที่สาธารณะรวมไปถึงการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล รวมไปถึงการกดดันและจับกุมนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนต่างๆ แนะการปราบปรามชนกลุ่มน้อย'

อย่างไรก็ตามในปี 2022 จีนจะกลับมาเป็นเจ้าภาพในการแข่งขันกีฬาระดับโลกอีกครั้งอย่าง 'โอลิมปิกฤดูหนาว' ซึ่งจะมีการใช้สถานที่จัดการแข่งขันที่สร้างในโอลิมปิกปักกิ่งเมื่อปี 2008 ซึ่งจะทำให้ปักกิ่งเป็นเมืองแรกที่มีการจัดการแข่งขันทั้งกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนและโอลิมปิกฤดูหนาว

ผู้เชี่ยวชาญหลายคนคาดการณ์ว่า ปักกิ่งได้เรียนรู้บทเรียนจากการจัดการแข่งขันโอลิมปิก 2008 ในการแสดงภาพลักษณ์ของประเทศออกสู่สายตาชาวโลก และนี้จะเป็นโอกาศอีกครั้งที่จีนจะแก้ตัวและแสดงภาพลักษณ์สมัยใหม่ของจีนอีกครั้ง แต่ขณะเดียวกันก็อย่าลืมว่าประชาชนกลุ่มต่างๆ ในจีนก็จะใช้โอกาสนี้เช่นกันในการแสดงออก ในสิ่งที่พวกเขาต้องการให้ออกไปสู่สายตาชาวโลกเช่นกัน