นางพรทิพย์ จันทรตระกูล ผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนมหาวิทยาลัยวัยที่3 ของเทศบาล ป่าตาล จังหวัด เชียงราย กล่าวว่า ปัญหาผู้สูงอายุในชุมชนที่ขาดการดูแลจะหมดไปหากมีการสร้างหรือเตรียมความพร้อมของชุมชนในการดูแล โดยเทศบาลได้สร้าง วิทยาลัยวันที่ 3 เพื่อผู้สูงอายุ ด้วยการสอน 8 หลักสูตร ทั้งในเรื่องของ สุขภาพที่จะมีการออกกำลังกาย ลีลา ฟ้อนรำ โยคะ หลักสูตร เทคโนโลยีที่จะสอนผู้สูงอายุใช้คอมพิวเตอร์พื้นฐาน ในชีวิตประจำวัน หลักสูตรสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยกันรักษาสภาพแวดล้อม
นอกจากนี้ยังมีหลักสูตร การท่องเที่ยวที่ต้องการให้ผู้สูงอายุเป็น มัคคุเทศน์นำเที่ยว และหลักสูตรศาสนาที่จะการสอนนั่งสมาธิ เพื่อทำให้คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุดีขึ้นมีความสุขมากขึ้น
“อยากให้มีโรงเรียน หรือหลักสูตรเพื่อให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมมากขึ้นทั่วประเทศ เพราะที่จังหวัดเชียงรายมีผู้สูงอายุ 17 % เชื่อว่า การสนับสนุนพัฒนาระบบดูแลผู้สูงอายุจะช่วยให้ผู้สูงอายุในจังหวัดมีคุณภาพที่ดีขึ้น”
นางพรทิพย์ กล่าวว่า เครื่อข่ายพัฒนาระบบดูแลผู้สูงอายุที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสส.ช่วยตอบโจทย์ชุมชนมาก และในปีหน้าจะเปิดสูนย์ดูแลผู้สูงอายุ 5 แห่งครอบคลุมพื้นที่ 64 ชุมชน เชื่อว่าหลังการให้บริการผู้สูงอายุที่เชียงรายจะไม่มีใครถูกทิ้งอีก
ด้านนายประกิจ เสาร์แก้ว นายก อบต.ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า การดูแลคนสูงวัยของตำบลป่าไผ่เน้นที่นโยบายคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะเด็กและคนชราต้องได้รับการดูแลก่อน แล้วผู้สูงอายุทางเราก็ให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ เราถือว่าผู้สูงอายุเป็นปูชนียบุคคล คือ มีไว้เพื่อเคารพ การเคารพของเราคือเคารพแบบส่งเสริมให้เขาดูแลสุขภาพตนเอง กินอาหารดี ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ และออมทรัพย์เพื่อตนเอง ทำตามหลัก 5 อ.ของ สสส.เลย คือ อาหาร อาชีพ ออกกำลังกาย ออมทรัพย์ และอาสาสมัคร
“ต้องบอกเขาว่าให้ช่วยตัวเองให้ได้ ถ้าช่วยตัวเองได้จะช่วยผ่อนแรงลูกหลาน เทศบาลเรามีแบบกึ่งเมือง กึ่งชนบท เราก็ต้องพัฒนาความเข้าใจแล้ว เราต้องให้พวกเขารู้จักความแก่อย่างมีคุณค่า ชราอย่างมีศักดิ์ศรี เราจึงใช้โรงเรียน สูงอายุ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ แแล้วให้มีอาชีพที่ดี มั่นคง แต่ต้องไม่หนักเพราะบางทีเราต้องเข้าใจว่าคนแก่เขาคุ้นชินกับงานเดิมของเขา เช่น คนทำเกษตรกรรมก็ทำมานานแล้ว ก็สานต่อเลยเราตั้งตำบลเป็นสัมมาชีพซึ่งทำทั้งจังหวัด ที่เชียงใหม่มี 25 อำเภอต้องทำเช่นเดียวกัน ”
เทศบาลตำบลป่าไผ่เน้นที่การทำเศรษฐกิจพอเพียง ตามรอยพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9 พอเราส่งเสริมอาชีพ ส่งเสริมความพอเพียง คือ คนสูงวัยเขาปลูกผักขายเอง มีตลาดในชุมชน และผักที่ปลูกก็ปลอดสารเมื่อนำไปบริโภคคนก็จะปลอดภัย
และมีสุขภาพดีแถมยังส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนด้วย เรียกว่าส่งเสริมสุขภาพด้วย ส่งเสริมความสุขด้วย เรียกกันว่าทำโรงเรียนสูงอายุทีได้สองแสน แสนที่หนึ่งแสนสุข คือ สุขกับสิ่งที่ทำ สนุกกับงาน แสนที่สอง แสนจะปลอดภัย ผักสะอาดนำมาปรุงอาหารคนกินก็อุ่นใจ ปลอดภัย ปลอดโรค เพราะยากำจัดแมลงและปุ๋ยชาวบ้านที่เป็นผู้สูงอายุก็ทำกันเองจึงเชื่อมั่นได้ว่าสินค้าทางการเกษตรที่ซื้อไปจากกลุ่มอาชีพผู้สูงอายุมีความปลอดภัยสูงและเป็นสิ่งที่เทศบาล ตำบล ชุมชน ควรให้การสนับสนุน
“แรกๆที่เปิดโรงเรียน เราพยายามประชาสัมพันธ์ซึ่งบางคนก็บ่นว่าตอนเรียนในวัยเด็กยังไม่อยากจะเรียนเลยทำไมต้องมาเรียนตอนแก่เล็กแรกก็ท้อแต่ก็ไม่ได้หยุดทำพยายามจัดตั้งต่อไปโดยพยายามใช้ระบบแกนนำหรือตัวอย่างของผู้สูงอายุเข้ามาลองศึกษาดู คนอื่นก็ตามมาทีหลัง มันเกิดการบอกต่อระหว่างกันแล้วสุดท้ายโรงเรียนผู้สูงอายุก็มีความโดดเด่นด้านอาชีพ”