ไม่พบผลการค้นหา
ปฏิเสธไม่ได้ว่า รายการ Drag race Thailand ทำให้คนรู้จักวัฒนธรรมการแต่งตัวของชาว Drag แต่ก็ยังมีคนในสังคมไม่น้อยที่ไม่เข้าใจในวัฒนธรรมนี้ 4 ผู้เข้าแข่งขันรายการ Drag race Thailand ซีซั่น 2 จึงขอเป็นเสียงสะท้อนที่อยากให้ทุกคนเข้าใจว่า ชาว Drag ไม่ใช่กลุ่มคนที่แปลก

การแต่งตัวสุดอลังการ ทั้งวิกผม การแต่งหน้า รวมถึงการแสดงอันแสนเผ็ดร้อนบนเวทีที่อาศัยความคิดสร้างสรรค์ ความละเอียดละออในการแสดงออก เพื่อสะท้อนเอกลักษณ์เฉพาะตัวของชาว Drag วัฒนธรรมจากโลกตะวันตกที่ส่งต่อมาถึงกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย แต่ก็ยังมีกลุ่มคนอีกไม่น้อยที่ไม่เข้าใจในวัฒนธรรมนี้

4 ผู้เข้าแข่งขัน รายการ Drag race Thailand ซีซั่น 2 ได้แก่ มิสกิมฮวย, แคนดี้ ไซยาไนด์, แองเจเล่ อานัง และ ทอไหม เปิดใจวัฒนธรรมการแต่งตัวของชาว Drag ให้ทีมข่าว ‘วอยซ์ออนไลน์’ ฟังว่า

“Drag มันไม่ใช่แค่การแต่งหญิง ไม่ใช่แค่การแต่งสวยงาม แต่มันคือการแสดงความคิดสร้างสรรค์ และความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคน”


สัมผู้เข้าแข่งขันรายการ Drag Race Thailind

‘แองเจเล่ อานัง’ สาวข้ามเพศ ที่ชื่นชอบการแต่ง Drag ในสไตล์วินเทจ ที่ทั้งสวย เซ็กซี่ จัดจ้าน เธอมีมุมมองกับคำว่า Drag Queen ว่า “เป็นการแสดงออกทางศิลปะ โดยใช้องค์ประกอบของเรา ทั้งชุด ทรงผม การแต่งหน้า ผสมผสานเข้ากับการแสดง ทัศนคติในแง่บวก เปรียบเหมือนแขนงใหม่ของศิลปะที่อยู่ในเพศที่ 3 ในเพศทางเลือก แล้วมันทำให้คนชอบ ให้ความบันเทิง ทำให้ผู้ชมมีความสุข”

สัมผู้เข้าแข่งขันรายการ Drag Race Thailind

ขณะที่ ‘ทอไหม’ แฟชั่นดีไซเนอร์ที่หลงไหลในเสน่ห์ผ้าไทยที่นำมาประยุกต์ในการแต่ง Drag มองว่า “คือการบูรณาการศิลปะในทุกๆ อย่างเข้ามาอยู่ด้วยกัน โดยการที่ใช้ตัวเราเป็นเหมือนเฟรมที่จะสะท้อนถึงศิลปะที่เราต้องการ ที่จะแสดงออกในแต่ละบุคคล ซึ่งแต่ละบุคคลจะมีเอกลักษณ์ของความเป็นตัวตนของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นการเป็น Drag คือการสะท้อนบุคลิกภาพของกลุ่ม LGBT ซึ่งจริงๆ มันไม่เฉพาะแค่กลุ่ม LGBTQ แต่ทุกเพศทุกวัย เราสามารถจะแสดงออกในรูปแบบของ Drag ได้ เพราะมันคือศิลปะ ซึ่งศิลปะไม่ได้มีขอบเขต ไม่ว่าจะเพศวัย หรือเชื้อชาติอยู่แล้ว"

สัมผู้เข้าแข่งขันรายการ Drag Race Thailind

‘มิสกิมฮวย’ ช่างแต่งหน้า ที่นำเอาเชื้อสายจีนมาผสมผสานในการแต่ง Drag เผยว่า “แม้บางคนไม่เข้าใจเรา ว่าเราทำอะไรอยู่ สิ่งที่เราเป็นอยู่ สิ่งที่เราทำ บางคนอาจมองว่า มันไม่ได้เป็นศิลปะขนาดนั้น ทำไปทำไม แต่ถ้าเกิดพอเข้าใจพวกเรา ก็จะรู้ว่า สิ่งที่เราทำ เราก็ทำในสิ่งที่เรารัก และนำเสนอออกมา อยากให้ทุกคนได้เห็นว่า LGBT หรือ กลุ่มเพศอย่างพวกเรา มีความสามารถ ที่จะเสนอออกมาได้แบบนี้ ที่เราชอบเหมือนกัน”

สัมผู้เข้าแข่งขันรายการ Drag Race Thailind

ส่วน ‘แคนดี้ ไซยาไนด์’ นักแสดง ที่แต่ง Drag ในสไตล์หวานซ่อนเปรี้ยว บอกว่า "Drag มันไม่ใช่แค่แบบว่า ผู้ชายแต่งหญิงค่ะพี่ เข้าใจไหมคะ มันก็มีทั้ง Drag King , Bio Queen มีเยอะแยะเลย ใครๆ ก็แต่งได้ แต่ละคนก็จะมีบุคลิกของแต่ละคนที่แตกต่างกันเลยโดยสิ้นเชิง ไม่มีผิดไม่มีถูก ซึ่งนี่ก็จะเป็น หมู ผี หมี อุ้ย (หัวเราะ)"

drag race thailand

คุณสมบัติของการเป็น Drag

พวกเธอยังบอกว่า คุณสมบัติของคนที่จะมาเป็น Drag สิ่งหนึ่ง คือ ความคิดสร้างสรรค์ ความเป็นตัวของตัวเอง เพราะว่า เปรียบเสมือนเราเป็นศิลปิน ซึ่งศิลปินที่ดี คือ การเป็นตัวของตัวเอง มีความคิดสร้างสรรค์ และกล้าแสดงออกในทางบวก ทุกอย่างที่แต่ง จะมีนัยแฝงเอาไว้ เป็นรูปแบบของศิลปะใหม่ๆ ที่สะท้อนแอกลักษณ์และตัวตน

สิ่งสำคัญที่พวกเธอ อยากฝากไว้ คือ “ก่อนที่จะยอมรับ อยากให้ทุกคนเข้าใจก่อนค่ะ ว่าการเป็น Drag หรือการเป็น LGBT เราไม่ได้แปลก เราไม่ใช่กลุ่มบุคคลที่แปลก เราก็คือ มนุษย์ ทั่วไปค่ะ เพราะว่ารสนิยม หรือ ความชอบการแสดงออก เราไม่สามารถจะเอาสิ่งนี้มาตัดสินได้ว่า คนนี้แปลกหรือไม่แปลก เพราะฉะนั้น ถ้าเราทุกคนในสังคมเข้าใจ มันก็จะไม่มีการยอมรับค่ะ มันจะมีแค่ คำว่า เท่าเทียม


ทำความรู้จัก Drag คืออะไร ?

Drag Queen มีที่มาจากคำว่า Dressed Resembling A Girl เริ่มต้นขึ้นราวปลายยุค 1800s – ต้น 1900s จากการสวมบทบาทตัวละครหญิงโดยนักแสดงชายในละครเวที ยุคเริ่มต้นของแดร็กเกิดขึ้นในยุโรป ที่ละครเวทีเฟื่องฟู เมื่อเรื่องราวแนวโศกนาฏกรรมเป็นที่นิยม ความจริงจังโศกเศร้าก็ต้องการบทบาทตลกเข้ามาผ่อนคลาย ตัวละครชายแต่งหญิงจึงเป็นสิ่งที่มีอยู่เสมอ และสร้าง “ดาวเด่น” ในบทบาทนี้ขึ้นมา แดร็กพัฒนาการมาตามยุคสมัย ทั้งบทบาทที่หลากหลายขึ้น จากละครเวที สู่นางแบบ นักร้อง นักแสดง รวมถึงสไตล์ก็เป็นที่นิยมตามดาวดังแห่งยุค แต่ทั้งหมดยังคงเกี่ยวข้องกับการแสดงเสมอ จะว่าไปในประเทศไทยเองก็เริ่มมีแดร็กเกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ผ่านการแสดง ‘ละครนอก’ ซึ่งต้องใช้ผู้เล่นเป็นผู้ชายทั้งหมด เพียงแค่สมัยนั้นไม่มีการระบุศัพท์ Drag ขึ้นมา จึงไม่ได้ถูกพูดถึง แต่ก็นับเป็นอีกหนึ่งประเภทของแดร็กเช่นเดียวกัน

Drag Queen คือ การที่ผู้ชายแต่งเป็นผู้หญิง หากผู้หญิงต้องการจะแต่งเป็น Drag Queen คือ Bio Queen ยกตัวอย่างก็คือ นักร้องชื่อดังอย่าง Lady Gaga หรือหากอยากแต่งเป็นผู้ชายเรียกว่า Drag King แล้วถ้าย้อนกลับมาถามว่าจริง ๆ แล้วแดร็กคือเพศอะไรกันแน่ แล้วจำเป็นต้องเป็นเกย์ เป็นหญิงข้ามเพศ หรือว่าเป็นชาว LGBT หรือเปล่า นั่นเป็นคำถามที่ตอบได้อย่างชัดเจนเลยว่าไม่จำเป็น ลืมคำว่าเพศออกไปได้เลย เพราะแดร็กคือศิลปะอีกหนึ่งแขนงที่รวมศาสตร์แห่งศิลป์เอาไว้อย่างหลากหลาย ที่ทุกคนทำการ performance ออกมาอย่างไม่มีขอบเขต ดังนั้นแดร็กคือการเสพศิลปะที่ศิลปินสร้างคาแรกเตอร์ที่สองขึ้นมาในโลกคู่ขนาน แล้วคาแรกเตอร์ที่สองที่ถูกสร้างขึ้นมาอาจไม่สามารถแบ่งได้ว่ามีทั้งหมดกี่ประเภทหรือว่ามีประเภทไหนบ้าง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็สามารถพบสาว ๆ แดร็กในไทยเป็นประเภทย่อย ๆ 4 สายด้วยกัน 

1.สายสวย แม้จะเป็นการแต่ง Drag แต่เชื่อไหมว่าบางคนก็ทำให้เราสะดุดตาในความสวย ไม่ว่าจะเสื้อผ้า การแต่งหน้าหรือว่าผมที่ส่งให้โดดเด่นราวกับเป็นเจ้าแม่โอกูตูร์เดินออกมาจากพรมแดงที่เมืองคานส์เสียอย่างไรอย่างนั้น ซึ่ง แอนเน่ เมย์วอง และ มอริแกน ก็ได้โชว์ความเป๊ะของเครื่องหน้า และแฟชั่นสุดบรรเจิดที่ผู้หญิงแท้ๆ ยังต้องยอมหลีกทางให้ความเริ่ด

แอนเน่ เมย์วอง.jpg

2.สายตลก ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเป็น Drag สายตลก เพราะมากกว่าคำว่าตลกคือต้องใช้พลัง และความคิดสร้างสรรค์เพื่อครีเอทลุคออกมาเพื่อให้ความสุขแก่ผู้ชม ซึ่ง จาจา ผู้เข้าแข่งขัน Drag Race Thailand Debut Season ที่อิมพอร์ตจากเมืองพันเกาะ ประเทศฟิลิปปินส์ จัดเต็มทั้งหน้าผมและเครื่องแต่งกายด้วยความสร้างสรรค์ ทำให้ผู้ที่ได้เห็นต่างก็ร้องว้าว และ��ึ้งในความครีเอทลุคสร้างสรรค์ของเธอที่จัดมาแบบน็อนสต็อป

jaja_.jpg

3.สายเต้นแรง หากได้ดูรายการ Drag Race Thailand หรือว่า RuPaul's Drag Race จะได้เห็นช่วง Lip sync for your life ที่ผู้เข้าแข่งขันต้องลิปซิงก์ให้แซ่บที่สุด เพื่อที่จะไม่ให้ตนเองถูกเด้งออกจากรายการ ซึ่ง บีเอล่า และเดียริส ดอล์ ทำโชว์ได้เผ็ดร้อนจนผู้ชมต้องซู้ดปากไปตามๆ กัน เป็นที่ยอมรับเลยล่ะว่าเรื่องเต้นต้องยกให้ เพราะไม่ว่าจะฉีกขา หรือว่าตีลังกากลางเวทีทั้งสองก็ทำมาแล้ว

บีเอลล่ากับเดียริสดอร์.jpg

4.สายเธียร์เตอร์ ไม่พูดถึง อัมมาดิ ว่าคงไม่ได้ จากนักแสดงละครเวทีโรงเล็กที่มีความเป็น queer theater โผเข้าสู่โลกของแดร็คควีนในรายการ Drag Race Thailand Debut Season ที่เธอสามารถผลักความคิดสร้างสรรค์ ให้ออกมาสนุก และน่ารักจนมีแฟนคลับติดตามเพิ่มขึ้น จนถึงตอนนี้เธอยังคงตั้งมั่นบอกเล่าเรื่องราวของชาว LGBT ผ่านการแต่ง Drag Queen และละครเวทีต่อไป

amadiva.JPG

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :