ไม่พบผลการค้นหา
อธิบดีกรมป่าไม้ ชี้ปีนี้ 9 จังหวัดภาคเหนือเกิดจุดความร้อนเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีก่อน โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากมีการสะสมของปริมาณเชื้อเพลิงจำนวนมาก

นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวถึงสถานการณ์ไฟป่าปีนี้ ว่า จุดความร้อนทั่วประเทศ หรือ Hotspot ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2561 - 2 มี.ค. 2562 รวม 15,118 จุด แบ่งเป็น จุดความร้อนในเขตป่า 4,854 จุด ทั้งพื้นที่ป่าคงสภาพและพื้นที่เกษตรในเขตป่า และจุดความร้อนนอกเขตป่า 10,264 จุด ซึ่งจุดความร้อนในเขตป่าในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน มี 2,136 จุด ส่วนใหญ่เกิดในพื้นที่เชียงใหม่สูงถึง 461 จุด 

จากสถิติการดับไฟป่ารวม 2,471 ครั้ง มีพื้นที่เสียหาย 46,879 ไร่ เกิดจุดความร้อนสะสมมากที่สุดในพื้นที่เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน โดยเฉพาะที่ลำปางมีจุดความร้อนเกิดขึ้นจำนวนมากช่วงต้นเดือน มี.ค. ภาพรวมเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นทุกจังหวัด โดยเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันเข้าพื้นที่ดับไฟป่าต่อเนื่องไม่ให้ลุกลามในวงกว้าง 

7-3-2562 6-26-47.jpg

ทั้งนี้ จุดที่เกิดไฟป่าปีนี้จะเกิดในพื้นที่มีปริมาณเชื้อเพลิงสะสมจำนวนมากเมื่อเกิดไฟป่าจะลุกลามไหม้เร็วและควบคุมได้ยาก โดยเฉพาะพื้นที่มีความลาดชันและหน้าผาสูงชั้นในพื้นที่ป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ เช่น แม่ฮ่องสอน ตาก ลำปาง เชียงใหม่ เนื่องจากมีการผลัดใบไม้ประจำทุกปีตามฤดูกาลจนกลายเป็นเชื้อเพลิงสะสมบนพื้นราบจำนวนมาก

'ประวิตร' สั่งทุกเหล่าทัพดูแลภัยแล้ง พร้อมเฝ้าระวัง - เตรียมรับมือปัญหาไฟป่า

ด้าน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรววงกลาโหม ได้สั่งการทุกเหล่าทัพ ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งในทุกพื้นที่ ซึ่งคาดว่าปีนี้ (62) จะได้รับผลกระทบในวงกว้าง โดยให้เฝ้าระวังและเตรียมรับมือกับปัญหาไฟป่า และประสานการทำงานอย่างใกล้ชิดกับ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในทุกจังหวัด เพื่อประเมินสถานการณ์น้ำในพื้นที่เสี่ยง และสนับสนุนกำลังพล เครื่องมือ เครื่องจักรและยานพาหนะ เข้าร่วมบริหารจัดการแก้ปัญหาน้ำอุปโภคและบริโภคของประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่แล้งซ้ำซากหรือเสี่ยงต่อปัญหาการขาดแคลนน้ำ

ในขณะเดียวกัน ให้กองทัพอากาศ ประสานกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สนับสนุนอากาศยานร่วมกับศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง 5 ภูมิภาค 12 หน่วยปฏิบัติการที่รัฐบาลตั้งขึ้น ออกปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือประชาชนให้ครอบคลุม 25 ลุ่มน้ำหลัก เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในพื้นที