ไม่พบผลการค้นหา
สื่อนอกตั้งคำถาม หากจีนต้องการลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูง อาจจะทำให้ไทยติดกับหนี้จนไม่สามารถจัดการได้จริงหรือไม่ ทางด้านจีนยืนยันโครงการ BRI ไม่ก่อให้เกิดกับหนี้กับประเทศใดๆ

เซาท์ไชน่ามอนิ่งโพสต์ สื่อฮ่องกงตั้งข้อสังเกตถึงการลงทุนของในโครงการรถไฟความเร็วสุงของไทย โดยระบุว่า หากจีนพร้อมให้เงินลงทุนกว่า 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 378,000 ล้านบาทในโครงการรถไฟความเร็วสูงของไทย ไทยอาจส่งผลให้ไทยติดกับดักหนี้จากโครงการดังกล่าวได้

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (25 เม.ย.)ประเทศไทย - ลาว -จีน ได้ลงนามในสนธิสัญญาความร่วมมือกันในโครงการเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อระหว่างภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับเมืองคุนหมิง ประเทศจีนซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีน (BRI) 

เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมาธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออกของจีน (CEXIM) เสนอดอกเบี้ยให้รัฐบาลไทยร้อยละ 2.3 ในการกุ้ยืมเงินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมกับรถไฟความเร็วปานกลางของลาวที่กำลังก่อสร้างอยู่ในปัจจุบัน โดยเส้นทางรถไฟของไทยนั้นจะมีความยาวทั้งหมด 607 กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ ถึง จ.หนองคาย 

ทั้งนี้โครงการรถไฟความเร็วสู่ในระยะที่ 1 ที่มีระยะทาง 252 กิโลเมตร จากกรุงเทพถึง จ.นครราชสีมานั้น รัฐบาลไทยยืนยันว่าเงินกู้ร้อยละ 80 ของโครงการดังกล่าวจะกู้จากสถาบันการเงินภายในประเทศ ซึ่งจะมีวงเงินการลงทุน 179,000 ล้านบาท และจีนจะเป็นผู้ที่จัดฝึกอบรมทางด้านเทคนิคในระบบรางรถไฟความเร็วสูงเท่านั้น

ขณะที่โครงการรถไฟความเร็วสูงในระยะที่ 2 ที่มีระยะทาง 355 กิโลเมตรจากนครราชสีมา-หนองคายนั้น คาดว่ากว่าร้อยละ 85 ของเงินลงทุนในโครงการจะมาจากแหล่งเงินทุนจากภายนอกประเทศ ซึ่งมีวงเงินการลงทุน 211,000 ล้านบาท

ศิวัสน์ เหลืองสมบูรณ์ นักวิเคราะห์จากศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า ในมุมมองของจีน เส้นทางรถไฟสายดังกล่าวนั้นจะสร้างประโยชน์ให้ทั้งในแง่ของเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐาน แต่สำหรับไทยและลาว ซึ่งเป็นประเทศที่มีพื้นที่ขนาดไม่ใหญ่ เส้นทางรถไฟอาจจะไม่ผ่านพื้นที่ที่เป็นฐานการผลิตหรือในพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น ซึ่งจะส่งผลกระทบระยะยาวต่อการบริการรถไฟ แต่อย่างไรก็ตามโครงการรถไฟความเร็วสูงนี้จะสร้างผลประโยชน์ในทางอ้อมให้แก่ประเทศทั้งการจ้างงาน การขยายของเมือง การพัฒนาการขนส่ง การก่อสร้าง รวมไปถึงในภาคอสังหาริมทรัพย์ด้วย

ทั้งนี้ ศิวัสน์ ยังเตือนถึง การเข้าสู่กับดักหนี้จากอัตราดอกเบี้ยของประเทศ หากไทยกู้เงินจากสถาบันการเงินของจีน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไทยต้องระวัง แม้ว่าไทยจะเป้นประเทศที่มีเครดิตสถานะทางการเงินดีกว่าลาว และประเทศในแถบเอเชียกลางก็ตาม

'จีน' ยัน BRI ไม่ใช่กับดักหนี้

นายหลิว คุน รัฐมนตรีกระการคลังของจีนกล่าวว่า โครงการแถบและทาง (BRI)ไม่ได้เป็นโครงการที่ก่อให้เกิดกับดักหนี้แก่ประเทศต่างๆ ซึ่งกรอบการกู้ยืมเงินของโครงการดังกล่าวนั้นตั้งอยู่บนฐานเงื่อนไขทางการเงินของIMF และธนาคารโลกเพื่อพัฒนาอย่างยิ่งยืนในประเทศที่มีรายได้ต่ำ

ในปี 2018 สถาบันการเงินของจีนปเป็นแหล่งงเนทุนให้กับโครงการ BRI กว่า 440,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยธนาคารจีน 11 แห่งได้เปิดสาขาถึง 76 สาขาใน 28 ประเทศ ขณะที่ธนาคารจาก 22 ประเทศ กว่า 50 แห่งก็เข้ามาทำธุรกรรมในประเทศจีน

ทางด้านนายยี่ กัง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศจีนกล่าวว่า ความยืดเยื้อของหนี้ระยะในยาวควรจะคำนึงถึงตัวชี้วัดทางบัญชีต่างๆ เช่น การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน มาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ของประชากร ความสามารถในการผลิตและการขจัดความยากจน  

"ประเทศที่กู้ยืมเงินในโครงการ BRI นั้นจะต้องตระหนักถึงสถานะทางการเงินของตนเอง รวมไปถึงการรับผิดชอบต่อการจัดการทางการคลังของตนเองด้วย"

นายยี่ กัง กล่าวเสริมว่า "เงินก็คือเงิน แม้ว่าจะยืมจากอเมริกา อังกฤษ หรือประเทศอื่นๆ เมื่อยืมก็จะต้องคืน ไม่ใช่กับดักหนี้แต่อย่างใด"

ที่มา AsiaTimes / SCMP

ข่าวที่เกี่ยวข้อง