ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ระบุว่า ประชาชนกลุ่มผู้ชุมนุมมีสิทธิเรียกร้องขอรัฐสภาผ่านร่างของประชาชน พร้อมย้ำว่าหากจะมีการชุมนุมก็ขอให้เป็นไปความสงบ อย่าคุกคามด้วยวาจาหรือการแสดงกิริยา เพื่อให้สมาชิกใช้สิทธิ์ในการพิจารณา
ทั้งนี้ปฏิเสธให้ความเห็นกรณีมีกระแสข่าวว่าร่างภาคประชาชนจะถูกตีตกไป และอาจจะเป็นช่วงเหตุความรุนแรงทางการเมืองขึ้นมาอีก โดยย้ำให้เป็นดุลยพินิจของสมาชิกรัฐสภาในการพิจารณา ส่วนผู้ชุมนุมที่จะปักหลักค้างคืน ก็ประสานเจ้าหน้าที่ดูแลเรื่องความปลอดภัย
ประธานรัฐสภา เชื่อว่าการประชุมไม่น่าจะมีปัญหาอะไร โดยเวลาของ ส.ส. ในการอภิปรายไม่ได้มีการกำหนดชัดทราบว่าฝ่ายค้านขอ 5 ชั่วโมง และรัฐบาลขอไว้ 4 ชั่วโมง แต่ ส.ว.ขอเวลา 5 ชั่วโมงในการอภิปราย และพยายามให้แต่ละฝ่ายรักษาเวลา
ประธานรัฐสภา ปฏิเสธให้ความเห็นกรณีกลุ่มไทยภักดีจะไปยื่น ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขัดต่อกฎหมายหรือไม่ผ่านอัยการ
'ประวิตร' ไม่ห่วงม็อบชุมนุมกดดันหน้าสภา ย้ำฝ่ายความมั่นคงสามารถดูแลได้ ส่วน “ร่างไอลอร์” จะตีตกหรือไม่ขอให้รอรัฐสภาพิจารณาก่อน
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงการชุมนุมของกลุ่มราษฎร เพื่อกดดันให้รับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของกลุ่มไอลอร์ ว่า น่าจะเรียบร้อย ไม่มีอะไรกังวล ส่วนการประกาศจะปิดเส้นทางเข้าออกทั้งทางบก ทางเรือ ทางอากาศนั้น พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า “ไม่รู้ จะเอาอะไรมาปิดล่ะ” แต่ทั้งนี้คงไม่ได้สั่งการอะไรเป็นพิเศษ เพราะเป็นเรื่องเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงที่ดูแลอยู่แล้ว
ส่วนหากผู้ชุมนุมไม่พอใจ กรณีที่ประชุมรัฐสภาไม่รับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของไอลอร์นั้น พล.อ.ประวิตร ระบุสั้นๆ ว่าต้องรอให้รัฐสภาพูดคุยเรื่องนี้ และส่วนตัวไม่มีอะไรจะสื่อสารกับกลุ่มผู้ชุมนุม
ชินวรณ์ บุณยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ และรองประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล กล่าวถึงการลงมติในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เสนอโดยภาคประชาชนในนามไอลอว์ว่า ยังไม่ได้มีการตัดสินใจว่าจะลงมติอย่างไร เพราะต้องฟังเหตุผลของผู้เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อน โดยส่วนตัวมีประเด็นที่ต้องชี้แจงต่อรัฐสภาหลายประเด็น
ชินวรณ์ กล่าวว่า 1.ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของไอลอว์ไม่ได้มีข้อห้ามเรื่องการแก้ไขในหมวดสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้เกิดประเด็นว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญจะขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่
2.การยกเลิกกระบวนการสรรหาองค์กรอิสระ ซึ่งไม่ได้มีข้อเสนอว่าจะมีรูปแบบที่ดีกว่าอย่างไร
3.ข้อบังคับการประชุมรัฐสภากำหนดว่าในชั้นคณะกรรมาธิการจะแก้ไขขัดกับหลักการไม่ได้ จึงสงสัยว่าหากสภาจะแก้ไขเนื้อหาจะดำเนินการได้หรือไม่
4.ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของไอลอว์จะทำให้เกิดการทำประชามติซ้ำซ้อนหรือไม่
อนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ ยืนยันว่าพรรคพลังประชารัฐจะโหวตรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคร่วมรัฐบาลและพรรคร่วมฝ่ายค้าน แต่ในส่วนของไอลอร์ ต้องมีการรับฟังกันในที่ประชุมร่วมรัฐสภาว่าร่างดังกล่าวจะมีผลในอนาคตอย่างไร ซึ่งต้องนำเหตุผลมาพูดคุยเพราะไม่เคยนำเข้าสภา ในแง่ของการอภิปรายน่าจะมีการพูดคุยกันมากพอสมควร ส่วนการกดดันของกลุ่มผู้ชุมนุมที่ต้องการผลักดันร่างไอลอร์ มองว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะเป็นธงที่ตั้งไว้อยู่แล้ว คล้ายๆ กับฝ่ายค้าน ซึ่งมองว่าเป็นเรื่องปกติที่ทั้ง 2 ฝ่ายจะมีความเห็นไม่ตรงกันเราคงต้องดูที่เหตุและผล การตั้งธงที่จะใช้เพื่อบังคับขู่เข็ญ ถ้าเป็นแบบนี้นายกรัฐมนตรีทุกรัฐบาล ก็คงมีปัญหาไม่มีวันสิ้นสุด ประเทศก็จะวนเวียนอยู่ในระบอบแบบนี้ พร้อมวอนขอให้ผ่านจุดนี้ไปให้ได้ อย่าตั้งธงเกินเลยกว่าที่จะยอมรับกันได้ หากมีการพูดคุยหาจุดที่ลงตัวบ้านเมืองก็จะเดินไปได้ เราก็จะได้รัฐธรรมนูญที่ได้รับการแก้ไขและตอบสนองความพอใจของประชาชนโดยส่วนรวมทั้งประเทศ แต่หากเป็นธงของฝ่ายมดฝ่ายหนึ่งก็ไม่มั่นใจจะไปถึงจุดนั้นหรือไม่
อย่างไรก็ตาม มั่นใจว่าการเคลื่อนไหวชุมนุมของกลุ่มราษฎร ที่บริเวณหน้ารัฐสภาวันนี้เจ้าหน้าที่จะดูแลให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เพราะที่ผ่านมาเป็นการกดดันเชิงสัญลักษณ์ เพื่อให้ได้ตามจุดมั่งหมายที่กลุ่มผู้ชุมนุมต้องการ ซึ่งรัฐบาลพยายามจะหาวิธีที่นุ่มนวล ไม่ให้เกิดการกระทบกระทั่งจนเกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน และส่วนตัวไม่กังวล เพราะมั่นใจว่าทุกฝ่ายจะหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความรุนแรง เชื่อว่าทุกคนอยากเห็นความสงบสุข ไม่อยากให้เกิดความรุนแรง
"ผมไม่อยากเห็นความรุนแรงและมั่นใจว่าจะไม่เกิดขึ้น" อนุชา ระบุ
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยถึงแนวทางกานลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญ ว่า มติพรรคขณะนี้มีจุดยืนที่ชัดเจนตั้งแต่ต้น ว่าจะสนับสนุน 2 ร่างคือร่างของพรรคร่วมรัฐบาล และพรรคร่วมฝ่ายค้าน ซึ่งมีหลักการที่ตรงกับจุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์ คือสนับสนุนแก้ไขเป็นมาตรา 256 จะตั้ง ส.ส.ร. เพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญแต่จะต้องไม่แตะหมวด 1 และหมวด 2 ที่มีการกำหนดรูปแบบของรัฐและการปกครองประเทศ รวมไปถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีความเห็นตรงกันกับรัฐบาล
ส่วนร่างรัฐธรรมนูญขอไอลอว์นั้น จุรินทร์ ระบุว่า ยังไม่พิจารณาร่างดังกล่าว เนื่องจากไม่มีการนำเสนอเข้าที่ประชุมรัฐสภา โดยจะเสนอเข้ามาในวันนี้ ซึ่งต้องรอฟังเหตุผลและข้อซักถามของสมาชิกรัฐสภา พร้อมคำตอบจากทางไอลอว์นำมาประกอบการพิจารณาอีกครั้งว่าเป็นอย่างไร
จุรินทร์ เปิดเผยว่า พรรคประชาธิปปัตย์ จะพิจารณาไปตามเนื้อผ้า เพราะต้องคำนึงถึงประเทศในระยะยาว ว่าสุดท้ายแล้วต้องการเห็นประเทศไทยเดินหน้าเป็นอย่างไรความจริงประชาธิปัตย์ฟังความเห็นของทุกฝ่ายมาเดินกับ แต่จะต้องเข้ากรณีที่เป็นเงื่อนไขสำคัญ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :