คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้านและการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งมี พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ เป็นประธานประชุมเพื่อพิจารณาแนวทางการขับเคลื่อนทั้งในและนอกสภาโดยเฉพาะการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยก่อนเข้าสู่วาระการประชุม นายทวี กล่าวว่า จะประชุมเพื่อกำหนดแนวทางการทำงานของคณะทำงานชุดนี้ มีหน้าที่หลักคือ รณรงค์ให้เกิดการเรียนรู้ประชาธิปไตยอย่างสันติวิธี สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่งเสริมให้รัฐบาลมีธรรมาธิบาล สนับสนุนให้มีการตรวจสอบจริยธรรมของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงแม้รัฐธรรมนูญฉบับนี้จะกำหนดให้เรื่องต่างๆ เป็นหน้าที่ของรัฐ แต่ก็ถือเป็นสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในการติดตามตรวจสอบด้วยเช่นกัน
โดยภายหลังการประชุมนายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด กรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้านและการมีส่วนร่วมของประชาชน ระบุว่า ที่ประชุมคณะกรรมการฯ เน้นย้ำภารกิจ 4 ด้าน 1. แก้ไขรัฐธรรมนูญนำพาประเทศชาติกลับสู่การปกครองระบอบผระชาธิปไตย 2. ล้างมรดกบาป คสช.ที่ริดลอนสิทธิเสรีภาพประชาชน 3. ตรวจสอบการทำงานรัฐบาล และ 4.สร้างการมีส่วนร่วมประชาชน เพราะโพลหลายสำนักเห็นถึงปัญหารัฐบาลไม่สามารถตั้งรัฐบาลได้และประชาชนอยากเห็นการยุบสภามากขึ้น
ส่วนแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เนื้อหาของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีการออกแบบเพื่อให้พรรคบางพรรคเป็นรัฐบาลเท่านั้น ดังนั้น ฝ่ายค้านจะแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ประชาชนมีส่วนร่วมให้ยึดโยงประชาชน และเปิดทางให้มีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เหมือนปี 2540 ยึดโยงประชาชนแนวทางหนึ่ง ซึ่งขณะนี้เริ่มรับฟังเสียงประชาชนแล้ว และยอมรับว่าการทำประชามติเพื่อขอให้ประชาชนเห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็เป็นอีกช่องทาง เพราะขณะนี้ยังไม่เห็นเสียงสะท้อนประชาชนที่ไม่อยากให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ และเสียงประชาชนก็อยากให้ยุบสภา
เมื่อถามถึงการตรวจสอบคุณสมบัตินายกรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายอนุสรณ์ ระบุว่า ส.ส. ฝ่ายค้านจะดำเนินการเรื่องนี้ต่อไปแน่นอน เพราะเรื่อง คุณสมบัติของ พล.อ.ประยุทธ์ ต้องไปให้สุดทาง และฝ่ายค้านจะเกาะติดตามใกล้ชิดอย่างใกล้ชิด
ด้านนางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ระบุว่า ขณะนี้ปัญหาสำคัญของชาติที่ทำให้ประชาชนประสบปัญหาเศรษฐกิจปากท้องที่ไม่ได้รัฐบาลมาจากประชาชน เราจะรับฟังข้อมูลจากภาคประชาชน อยากให้ประชาชนเสนอทุกปัญหามาที่คณะทำงานส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
สำหรับภารกิจการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 7 พรรคจะมีคณะทำงานอีกคณะหนึ่งว่าแต่ละพรรคจะมีความเห็นสอดคล้องอย่างไรบ้าง โดยจะเน้นการมีส่วนร่วมจะต้องให้ประชาชนได้ออกเสียงประชามติว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ และจะก้าวไปให้มีตัวแทนประชาชนมีส่วนร่วมการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยที ส.ส.ร.เหมือนปี 2540 เราอยากให้มีความคิดจากประชาชนทุกภาคส่วน
ขณะที่นายชัยธวัช ตุลาธน รองเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ ระบุว่า ส่วนรูปแบบต้องคุยอีกครั้งโดยต้องการเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน นับตั้งแต่หลังเลือกตั้งประชาชนเห็นว่ารัฐธรรมนูญออกแบบภายใต้รัฐบาลหลังรัฐประหารมีปัญหาอย่างไรส่วนรายละเอียดจะขอเก็บไว้ก่อน