ไม่พบผลการค้นหา
DSI ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งมอบ 'ลีเมอร์และเต่าบก 4 ชนิด กว่า 900 ชีวิต' คืนมาดากัสการ์

พันตำรวจตรี ยุทธนา แพรดำ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ร้อยตำรวจเอก ทินวุฒิ สีละพัฒน์ ผู้อำนวยการกองกิจการต่างประเทศและคดีอาชญากรรมระหว่างประเทศ และเจ้าหน้าที่กองคดีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมพิธีส่งมอบสัตว์ป่าของกลางไปยังสาธารณรัฐมาดากัสการ์ โดย ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานส่งมอบ และ Mr. Max Andonirina FONTAINE รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน สาธารณรัฐมาดากัสการ์ เป็นตัวแทนรับมอบ เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องประชุมศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ชั้น 2 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

468529837_965254808969846_2727958744263443649_n.jpg

สำหรับพิธีส่งมอบสัตว์ป่าของกลางไปยังสาธารณรัฐมาดากัสการ์นี้ จัดขึ้นโดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในส่วนของสัตว์ป่าของกลางจำนวนรวม 961 ตัว ประกอบด้วย

- ลีเมอร์หางวงแหวน (Lemur catta) จำนวน 16 ตัว

- ลีเมอร์สีน้ำตาล (Eulemur fulvus) จำนวน 31 ตัว

- เต่าแมงมุม (Pyxis arachnoides) จำนวน 759 ตัว

- เต่าลายรัศมี (Astrochelys radiata) จำนวน 155 ตัว

ซึ่งเป็นสัตว์ป่าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้รับมอบจากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (บก.ปทส.) จากปฏิบัติการตรวจยึดสัตว์ป่าของกลางจำนวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย โดยจับกุมได้ที่ จังหวัดชุมพร เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เป็นสัตว์ป่ามีชีวิต จำนวน 1,109 ตัว ซากสัตว์ จำนวน 8 ซาก จำนวนรวม 1,117 ตัว/ซาก

467643098_965230152305645_7876678536492962535_n.jpg468554140_965231195638874_1382272095248982757_n.jpg

กรณีดังกล่าวสืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2567 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน สาธารณรัฐมาดากัสการ์ มาเยือนประเทศไทยและเข้าเยี่ยมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เพื่อหารือกรณีการส่งคืนสัตว์ป่า และเข้าเยี่ยมชมสัตว์ป่าของกลางรวมถึงหารือกับผู้แทนหน่วยงานของประเทศไทยเร่งรัดการดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐานและส่งคืนสัตว์ป่าของกลางโดยเร็ว คณะกรรมการดำเนินการแก่สัตว์ป่าซากสัตว์ป่าหรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าฯ มีมติเห็นชอบการส่งคืนสัตว์ป่าของกลางที่มีชีวิต ส่วนซากสัตว์ป่าให้ทำลาย

ทั้งนี้เนื่องจากคดีนี้จัดเป็นคดีอาชญากรรมระหว่างประเทศด้านสัตว์ป่า กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (บก. ปทส.) จึงได้โอนความรับผิดชอบคดีมายัง กรมสอบสวนคดีพิเศษ แต่เนื่องจากคดียังไม่สิ้นสุดกรมสอบสวนคดีพิเศษและสถานีเพาะเลี้ยงนกน้ำบางพระ จึงร่วมกันเก็บตัวอย่างทางชีววิทยาของสัตว์ป่าของกลางเพื่อใช้เป็นพยานหลักฐาน จากนั้นมอบให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พิจารณาดำเนินการคืนสัตว์ป่าของกลางก่อนสิ้นสุดคดีอย่างไรก็ตามเนื่องจากปริมาณสัตว์ป่ามีจำนวนมากทำให้ไม่สามารถขนส่งพร้อมกันได้ในคราวเดียว จึงได้กำหนดแบ่งการขนส่งออกเป็น 3 รอบโดยรอบแรกเริ่มวันที่ 28 พฤศจิกายน 2567 และกรมสอบสวนคดีพิเศษจะขยายผล ดำเนินคดีกับผู้ลักลอบนำเข้าสัตว์ป่าดังกล่าวต่อไป