ไม่พบผลการค้นหา
พรรคอนาคตใหม่ ลุยดันร่างกฎหมายสุราก้าวหน้า - แก้ไข พ.ร.บ.สรรพสามิตเข้าสภาฯ ลดเงื่อนไข - เปิดทางผู้ประกอบการรายเล็กและสุราชุมชนเข้ามาแข่งขันในตลาดได้ ชี้ต้องปลดล็อกผลิตสุราให้ผู้ประกอบการรายย่อยแชร์ส่วนแบ่งจากทุนใหญ่

พรรคอนาคตใหม่ แถลงข่าวเปิดร่างกฎหมายสุราก้าวหน้า “ปลดล็อกทุนผูกขาด ปลดปล่อยสุราคนไทย ร่างนโยบายที่จะทลายทุนผูกขาดแอลกอฮอล์ขนานใหญ่” โดยนายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร ส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคอนาคตใหม่ สะท้อนความจริงจากคนทำเหล้า เบียร์ อุปสรรค ปัญหาและโดนจับจริงว่า กฎหมายที่ไม่เท่าเทียมทำลายความฝันและเป็นอุปสรรคสำคัญที่กีดขวางผู้ประกอบการรายย่อยในการผลิตสุรา โดยเฉพาะในเรื่องปริมาณการผลิตที่กำหนดไว้สูงถึง 10 ล้านลิตรต่อปีจึงจดทะเบียนได้ พร้อมยืนยันว่า การผลิตสุรารายย่อย เป็นการส่งเสริมวัฒนธรรม ทำให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่และผู้ผลิตรายใหม่ ซึ่งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร

นอกจากนี้ยังมีกรอบคิดที่เป็นข้อจำกัดว่า เมืองไทยเป็นเมืองพุทธ ข้ออ้างว่าเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอควบคุมได้ทั่วถึง และข้ออ้างเมาแล้วขับ ซึ่งปัญหาการบังคับใช้กฎหมายที่ต้องทำควบคู่กับการสร้างความเข้าใจต่อผู้บริโภค ที่สำคัญการผลิตสุราใช้วัตถุดิบภายในประเทศทั้งข้าวบาร์เลย์และข้าวสาลีที่สามารถปลูกในประเทศไทยได้ รวมถึงผลไม้ต่างๆ ที่มีอย่างหลากหลายซึ่งจะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้สินค้าเกษตรที่ราคาตกต่ำอยู่เป็นระยะด้วย

พิธา อนาคตใหม่ 839-35B14939927F-L0-001.jpgเท่าพิภพ อนาคตใหม่ สุรา แอลกอฮอล์ D2F-0E33A45D5B56-L0-001.jpg

ชูสุราเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ยกญี่ปุ่นมีเหล้าท้องถิ่นสร้างรายได้

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ กล่าวถึงโอกาสและรายละเอียดร่างนโยบาย “สุราก้าวหน้า” ว่า พรรคอนาคตใหม่ไม่ได้มองว่า สุราเป็นแค่น้ำเมา แต่เป็นวัฒนธรรม เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีประวัติศาสตร์และความลับทางการค้า จากสูตรการหมักและการผลิตในพื้นที่ต่างๆ โดยภาคเหนือและภาคอีสานมีความหลากหลายในการทำลูกแป้งด้วยข้าวเหนียวและสมุนไพร ในภาคตะวันออกมีไวน์ที่ทำจากขนุนและลิ้นจี่ นอกจากนี้พรรคยังนึกถึงทรัพย์สินทางปัญญาและการเก็บภาษีในอนาคตด้วย

นายพิธา ยกตัวอย่างการดูงานก่อนหน้านี้ในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ โดยที่ จ.ราชบุรี นำน้ำตาลมะพร้าวมาทำ สุรา มีส่วนผสมของน้ำตาลมะพร้าวในสุรา 20 -30 เปอร์เซ็นต์ ที่จังหวัดแพร่ มีวิสาหกิจชุมชนอผลิตสุรา 200 ยี่ห้อ และเหล้าขาวของชาวสะเอียบ เป็นภูมิปัญญาที่มีมากกว่า 200 ปีใช้แหล่งน้ำที่อยู่ใกล้แม่น้ำยม ที่มาจากภูเขาไฟ โดยเหล้า 1 ลิตรใช้ข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม ปัจจุบันข้าวเหนียวในพื้นที่ไม่เพียงพอต้องซื้อมาจากภาคอีสานและรสชาติไม่แพ้เหล้าสาเกของญี่ปุ่นและเหล้าพื้นบ้านของต่างชาติ 

ขณะที่เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น มีเหล้าอะวาโกริ มากว่า 600 ปีตั้งแต่สมัยอยุธยา และตลอด 10 ปีที่ผ่านมาไทยส่งออกข้าวไปที่ญี่ปุ่นเพื่อผลิตเหล้าตัวนี้ทั้งหมด"สองแสนตัน" ราคาต่อตันต่ำมาก แต่ญี่ปุ่นส่งออกเหล้าอะวาโมริที่ราคาลิตรละ 2,500 บาท ถือเป็นกำไรมหาศาลและไทยเสียโอกาสในจุดนี้

นายพิธา ระบุถึงข้อมูลจากสำนักตรวจสอบป้องกันและปราบปราม กรมสรรพสามิตพบว่า สุราชุมชนมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 2,800-3,200 ล้านบาท ขณะที่มีสุราชุมชนอยู่นอกระบบถึง 50 เปอร์เซ็นต์ หากปลดล็อกนำเข้าสู่ระบบจะทำให้เศรษฐกิจจะโตขึ้น ขณะที่ส่วนแบ่งการตลาดของเบียร์อยู่ที่ 2 แสนล้านบาทประชาชนอยู่ที่ 1.7 แสนล้านบาท หากปลดล็อกให้ผู้ประกอบการรายย่อยทำได้เพียงแค่ 1 เปอร์เซ็นต์ ที่เป็น"มาร์เก็ตแชร์" จากนายทุน ก็เท่ากับ 2 พันล้านบาทแล้ว

วรภพ -1DBB-4BE0-88E7-297C0EFE63ED-L0-001.jpg

ชี้กฎหมายยังกีดกันผู้ประกอบการรายเล็ก เล็งแก้ไข พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต

ด้าน นายวรภพ วิริยะโรจน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ ระบุถึง “ร่าง พ.ร.บ.ที่เปิดให้ทุกคนถกเถียง เปิดความเป็นไปได้ใหม่ๆ”ว่า กฎหมายผูกขาดสุรา นับแต่ พ.ร.บ.สุรา ฉบับแรกปี 2493 ในสมัยจอมพล ป พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี จนถึง พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต 2560 ที่แม้กฎหมายมีการเปลี่ยนแปลงแต่สาระสำคัญยังเหมือนเดิม คือการกีดกันไม่ให้ผู้ประกอบการรายเล็กสามารถทำธุรกิจสุราแข่งขัน แต่ได้เปิดโอกาสให้กับกลุ่มทุนใหญ่เท่านั้นที่จะสามารถผูกขาดธุรกิจสุราได้อย่างเสรีและถูกกฎหมาย พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า กฎหมายออกมาในยุคที่รัฐบาลไม่เป็นประชาธิปไตยไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ที่อำนาจผูกขาดทางเศรษฐกิจและทางการเมืองมักจะมาพร้อมกัน

นายวรภพ ขยายความว่า กฎหมายให้อำนาจกรมสรรพสามิต ออกกฎกระทรวงกีดกันผู้ประกอบการรายเล็ก นับแต่กำลังการผลิตขั้นต่ำอยู่ที่ 10 ล้านลิตรต่อปี หรือ 4,300 ขวดต่อวัน ขณะที่สุราผสมกำหนดกำลังผลิต 30,000 ลิตรหรือ 4,200 กลมต่อวันและหากจะทำธุรกิจนี้ต้องมีเงินขั้นต่ำเป็นหลักพันล้านบาท สำหรับผู้ประกอบการรายย่อยมีรายละเอียดการขออนุญาตผลิตสุราชุมชน แต่ก็มีข้อจำกัดในเรื่องเครื่องจักรและจำนวนคนงานรวมกันไม่เกิน 5 แรงม้าหรือคนงานเกิน 7 คน ทำให้สุราพื้นบ้านไม่มีโอกาสแข่งขันกับกลุ่มทุนใหญ่ได้ จึงเป็นที่มาที่พรรคอนาคตใหม่จำเป็นต้องออกกฎหมายสุราก้าวหน้า

โดยเบื้องต้นร่างกฎหมายของพรรค เป็นเพียงการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.สรรพสามิต เพื่อให้รายเล็กเข้ามาแข่งขันในธุรกิจสุราและสร้างมูลค่าเพิ่มให้พืชผลทางการเกษตร ส่วนเรื่องการห้ามโฆษณาและการจำกัดอายุผู้ที่จะดื่มสุรายังคงเหมือนเดิม โดยสาระสำคัญของร่างกฎหมายมี 3 ประเด็นคือ 1.) แก้ไขมาตรา 153 พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต ที่กำหนดเงื่อนไขที่เป็นการกีดกันผู้ประกอบการรายเล็ก ทั้งเรื่องกำลังการผลิตและเงินลงทุน

2.) ทำโครงสร้างภาษีขั้นบันไดตามกำลังการผลิต เพื่อให้ผู้ประกอบการรายเล็กสามารถทำธุรกิจแข่งขันได้ 

3.)​ เพิ่มมูลค่าและโอกาสให้กับการปรุงแต่งสุรา ทั้งแต่งกลิ่นแต่งสีและหมักสมุนไพรโดยเพิ่มใบอนุญาตการปรุงแต่งสุรา

ผู้สื่อข่าวรายงาน สำหรับร่าง พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า คาดว่าจะเสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ภายในวันที่ 28 ก.พ. นี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง