ไม่พบผลการค้นหา
ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ให้สัมภาษณ์พิเศษ 'วอยซ์ ออนไลน์' ถึงการเมืองใน - นอกสภาฯ ในศักราชปี 2563 รวมทั้งผลที่ตามมาหากพรรคอนาคตใหม่ต้องถูกยุบพรรค - ปัจจัยใดที่ทำให้ รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อยู่ไม่ครบยก

ปลายปี 2562 สื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาลตั้งฉายาให้รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นครั้งแรกนับแต่เกิดการรัฐประหารเมื่อปี 2557

'รัฐเชียงกง' สะท้อนภาพรัฐบาลคล้ายแหล่งค้าขายอะไหล่มือสอง ประกอบกันขึ้นจาก ข้าราชการยุคก่อน และ นักการเมืองหน้าเก่า แม้ใช้ประโยชน์ได้ แต่ยังขาดความน่าเชื่อถือ สะท้อนความไม่มีเสถียรภาพ

ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ได้รับฉายา 'อิเหนาเมาหมัด' สะท้อนภาพว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง ตามคำสุภาษิตไทย 

ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มต้นวิเคราะห์ผ่าน 'วอยซ์ ออนไลน์' ว่า "ปี 2563 เสถียรภาพรัฐบาล จะเป็นโจทย์ใหญ่ ทำอย่างไรที่ รัฐบาลที่มีอาการเสียงปริ่มน้ำ ในขณะเดียวกันผู้นำมีอาการหงุดหงิด เพียงแค่ ถ้าตั้งฉายาแบบนี้หงุดหงิด ปีที่ผ่านมาเราจะเห็นความหงุดหงิดจาก กระบวนการในรัฐสภา เพราะฉะนั้นปี 2563 ถ้าเป็นอย่างนี้ ความหงุดหงิดอาจจะเพิ่มขึ้น"

การเมืองในปี 2563 จะเป็นศักราชแห่งความร้อนแรงตั้งแต่เดือนแรกของปี

นี่คือสิ่งที่ ศ.ดร.สุรชาติ ชี้พร้อมประเมินว่า ปี 2563 จะเป็นปีของการซื้องูเห่า เพราะว่าด้วยสภาวะอย่างนี้ยกเว้นแต่เชื่อว่าเขาสามารถดึง ส.ส. ที่แตกทัพบางส่วนไปทำให้อาการปริ่มน้ำเพิ่มขึ้นแต่จำนวนเสียงไม่ได้มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และยังไม่นับรวมกับปัจจัยทางการเมืองหากพรรคอนาคตใหม่ต้องถูกยุบพรรค

สุรชาติ บํารุงสุข
  • ปี 2563 การเมืองจะเริ่มร้อนแรงโดยเฉพาะรัฐบาลเสียงปริ่มน้ำต้องเผชิญกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภา ดูแล้วรัฐบาลจะไปรอดหรือไม่

ผมคิดว่าการปริ่มน้ำและการเผชิญกับวิกฤตที่เราเริ่มเห็นมาเป็นระยะจากการประชุมสภาฯ ผมว่าเป็นเรื่องที่รัฐบาลเองต้องประคับประคองตัวให้อยู่ เพราะว่าถ้าถึงจุดที่เป็นวาระที่เป็นเรื่องของกฎหมายสำคัญ รวมทั้งเรื่องของการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ผมเชื่อว่าแน่นอนรัฐบาล คงต้องการเสียงที่เพิ่มมากขึ้น ความจริงไม่อยากพูดว่าปี 2563 จะเป็นปีของการซื้องูเห่า เพราะว่าด้วยสภาวะอย่างนี้ ยกเว้นว่า เขาสามารถดึง ส.ส. ที่แตกทัพบางส่วนไปทำให้อาการปริ่มน้ำเพิ่มขึ้นแต่จำนวนเสียงไม่ได้มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ผมเข้าใจการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลจะอยู่ในช่วงประมาณ ก.พ. ซึ่งก็จะทำให้การเมืองมีความเข้มข้นอย่างแน่นอนรวมถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยุบพรรคอนาคตใหม่ว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราจะเห็นด้วยเงื่อนไขทางการเมืองเนี่ยมันตอบได้ว่าอย่างไร 2563 การเมืองก็จะมีปัญหาในความมีปัญหาว่า ผู้นำรัฐบาลจะประคับประคองตัวทั้งตัวของผู้นำเองตัวความเป็นรัฐบาลให้อยู่รอดอย่างไร

หรือว่าการอยู่รอดอาจจะเผชิญกับแรงเสียดทานในสภาฯ ที่มากขึ้นแล้ว ขณะเดียวกันผมเชื่อว่าปี 2563 แรงเสียดทานจะมาจากภาคสังคมด้วย ผมคิดว่า ปลายปี 2562 เราเห็นเรื่องเรื่องหนึ่งซึ่งวันนี้นี้อาจจะยังไม่เริ่มรุนแรงก็คือ ความ เปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ ที่กำลังเริ่มมีผลมากขึ้นในบ้านเราเพราะฉะนั้นปี 2563มา จน หลังปีใหม่ ตอบ ได้ชัด ปี 2563 แล้ง แล้วดีไม่ดีปีหน้าอาจจะเป็นแล้งใหญ่อีกปีหนึ่งเพราะฉะนั้นถ้าแล้งใหญ่

คำตอบ ง่าย นะครับจะกระทบกับชีวิตพี่น้องในชนบท แน่ๆ ซึ่งในสภาวะที่เกิดอาการและใหญ่แล้วกระทบกับชีวิตพี่น้องในชนบทด้วยเงินไขของผลิตภัณฑ์ทางด้านเกษตร สิ่งที่เราเห็นอยู่แล้วคือสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดีเศรษฐกิจไทยในช่วงหลังมีอาการถดถอยอย่างเห็นได้ชั

ถ้าเราคิดง่ายๆ ก็ คือ จาก 2560 ต่อ เข้า 2561 ต่อเข้า 2562 ผมคิดว่า เศรษฐกิจไทยมีภาวะที่ถอยลงไปเรื่อยๆ และในภายในปี 2563 ก็จะถอยไปมากกว่าที่เราเห็นในปี 2562 คนชอบพูดว่า 2563 จะเผาจริง ผมว่าไม่ใช่ 2562 เผาจริง ส่วน 2563 เผากระดูก ส่วน 2564 ยิ่งไม่ต้องพูด นั่นแปลว่าปีหน้าจะยังมีโจทย์ใหญ่อีกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นภาวะเศรษฐกิจ ภาวะภัยแล้ง และเมื่อบวกกับแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นในสภา ผมคิดว่าปี 2563 จะเป็นปีแห่งความท้าทายของรัฐบาลผสม ของ พล.อ.ประยุทธ์

  • แสดงว่า ปี 2563 รัฐบาลจะเจอแรงเสียดทานของจริงมากกว่าเดิม

สิ่งที่เราเห็นในปี 2562 มันยังไม่ใช่ของจริงทั้งหมด สภาก็เพิ่งเปิดไม่นาน ปี 2563 บททดสอบใหญ่คือ การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ขณะเดียวกันการอภิปรายนี้ก็จะเป็นการทดสอบฝ่ายค้านด้วย พูดง่ายๆ คือ การอภิปรายนี้จะเป็นทดสอบฝีมือของพรรคฝ่ายค้านซึ่งมีอยู่หลายพรรคเหมือนพรรคผสมเหมือนกัน ฉะนั้นปีหน้าจะมีบททดสอบหลายเรื่อง มีทั้งในสภาและนอกสภา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องหนึ่งที่เราจะเห็นคือ การผลักดันโครงการประชานิยมที่มีการแจกจ่ายหลายรายการ

ประยุทธ์ สภา แถลงนโยบาย รัฐสภา mplate.jpg
  • การอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านดูแล้วจะต้องใช้วิธีการหรือประเด็นไหนในการที่จะพุ่งเป้าตรวจสอบรัฐบาล

ผมเชื่อว่าจากตัวองค์ประกอบของฝ่ายรัฐบาลตั้งแต่ตัวท่านนายกฯ ลงมาถึงตัวรัฐมนตรีบางคน ผมเชื่อว่าจุดอ่อนที่จะมีประเด็น ที่สามารถหยิบยกขึ้นมาใช้ในการอภิปรายมันมีมาก ปัญหาใหญ่ที่สำคัญคือทำอย่างไรที่ฝ่ายค้านจะสามารถอภิปรายเรื่องอย่างนี้อย่างเป็นรูปธรรม ที่จะให้พี่น้องประชาชนที่นั่งฟังการอภิปรายมีความรู้สึกว่ารัฐบาลมีความชอบธรรม ผมคิดว่าโอกาสที่รัฐบาลจะสูญเสียคะแนน แล้วถูกฝ่ายค้านโค่นในสภาคงไม่ง่าย แต่ปัญหาที่รัฐบาลจะเผชิญก็คือ ถ้าข้อมูลของฝ่ายค้านมีความชัดเจนมันจะเป็นปัจจัยสำคัญในการบั่นทอนความชอบธรรมของรัฐบาลเอง

อย่างที่ผมเปิดประเด็นว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ผลสืบเนื่องใหญ่ที่สุดคือวิกฤตศรัทธา ถ้าฝ่ายค้านสามารถอภิปรายแล้วสร้างความรู้สึกร่วมกับพี่น้องประชาชนให้เห็นว่ารัฐบาลไม่มีขีดความสามารถและไม่มีประสิทธิภาพในการบริหารประเทศ ในขณะเดียวกันรัฐบาลมีปัญหาภายในที่เป็นวิกฤตของตัวเองอยู่สิ่งที่จะตามมาใหญ่ที่สุดก็คือมันจะนำไปสู่วิกฤตศรัทธาในหมู่พี่น้องประชาชน

  • เมื่อปลายปี 2562 พล.อ.ประยุทธ์ ย้ำว่ารัฐบาลไม่มีทางล่ม พร้อมทั้งจับมือกับคุณอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และรมว.สาธารณุข กับคุณจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกฯ และรมว.พาณิชย์

ผมคิดว่าผู้นำรัฐบาลทุกคนอยู่ในวิสัยทัศน์ที่ไม่แตกต่างกัน ใครที่เป็นนายกฯ ไม่มีใครเชื่อนะว่าตัวจะล้ม แต่สุดท้ายมันพิสูจน์ดวยเหตุการณ์ ผมคิดว่าย้อนกลับไป ตอบง่ายๆจอมพลถนอม กิตติขจร ก็คงนึกไม่ถึงว่าจะเกิด 14 ตุลาคม 2516 หรือพล.อ.สุจินดา คราประยูรในขณะนั้นก็คงนึกไม่ถึงว่าจะเกิดเหตุการณ์พฤษภา 35 ผมเชื่อว่าแม้กระทั่งตัวท่านนายกฯทักษิณ ชินวัตร หรือนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็นึกไม่ถึงว่าจะมีรัฐประหาร

สำหรับการเมืองไทยตอบได้ ไม่มีผู้นำคนไหนคิดว่ามีปัจจัยที่ทำให้ตัวเองหลุดหรืออาจจะหลุดด้วยความรวดเร็ว ดังนั้น ทุกคนมีคำอธิบายทางจิตวิทยาอย่างเดียวว่า เชื่อว่าตัวเขาจะอยู่ เพราะถ้าเมื่อไหร่ที่เขาเชื่อว่าตัวเขาจะอยู่ไม่ได้ ผมคิดว่ามันจะเห็นความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง คือ มันต้องคิดเรื่องนโยบายที่จะหาทางแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทย แต่ถ้าเราดูจนถึงปัจจุบัน ผมว่าเราดูไม่เห็นเรื่องหนึ่ง เราไม่เห็นทิศทางในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทย ใครที่เชื่อเรื่องปรองดอง ผมว่าวันนี้ปรองดองเราเหลืออย่างเดียว ตกลงตุ๊กตาผ้าที่กระทรวงกลาโหมทำที่ใช้ในการปรองดองหรือน้องเกี่ยวก้อยตกลงใช้กันครั้งเดียวแล้วหายไปไหนหรือทั้งหมดมันคือสัญญาณว่า ภาษาพวกนี้หรือวาทกรรมเรื่องการปรองดองถูกสร้างโดยฝั่งทหารนับจากการรัฐประหารมันไม่ได้มีความหมายอะไร นอกจากถูกสร้างเพื่อใช้ในการสร้างภาพลักษณ์ของฝ่ายทหารเท่านั้นเอง

ประชุมสภา-ประท้วง-ม.44
  • เสียงของรัฐบาลที่ได้จากเลือกตั้งซ่อม ส.ส. หรือในอนาคตมีการเลือกตั้งซ่อมจะได้เสียงเพิ่มขึ้น การมีเสียง 260 เสียงถือว่ารัฐบาลรอดพ้นการแพ้เสียงในสภาฯ

ผมคิดว่าถ้ามากกว่า 1 เสียงก็รอด เนื่องจากเรานับคะแนนแบบนี้ เป็นแต่เพียงอาการปริ่มน้ำมันสร้างความไม่มั่นใจให้กับผู้นำรัฐบาล เนื่องจากความเป็นรัฐบาลผสม เสียงปริ่มน้ำมันตอบได้อย่างหนึ่งคือ มันจะมีความเปราะบางที่เสียงเหล่านี้จะย้ายค่ายได้

ผมเชื่อว่าปี 2563 ผู้ที่คุมเกมของรัฐบาลก็จะต้องแก้ปัญหานี้ให้จบเหมือนกัน แน่นอนเราเห็น ส.ส. ที่ย้ายพรรค หรือ ส.ส. ที่ได้รับการเลือกตั้งใหม่ ก็อาจจะช่วยปัญหาเสียงปริ่มน้ำได้ แต่ต้องไม่ลืมว่า โจทย์จริงๆ ที่อยู่นอกสภาคือ พี่น้องประชาชน ที่เผชิญปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาภัยแล้ง แม้รัฐบาลจะมีพ้นน้ำจริง แต่ความสามารถของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าจะยังเป็นโจทย์ที่ทุกคนจับตามอง

  • สภาพของรัฐบาลเสียงปริ่มน้ำ ฝ่ายค้านเคยชนะโหวต ในปี 2563ภาพนี้อาจเกิดขึ้นอีก

ผมคิดว่ารัฐบาลรู้อยู่แก่ใจ การชนะโหวตแล้วต้องนับกันใหม่เป็นเรื่องของความพยายามที่จะแก้เกม และรอบนี้ความพยายามในการแก้เกมที่ชัดคือการดึง ส.ส. จากพรรคอื่น และการได้เสียงเพิ่มจากการเลือกตั้ง ซึ่งผู้นำรัฐบาลอย่างน้อยที่คุยกันตอนต้นว่า ชนะหนึ่งเสียงก็ชนะ แต่ในทางกลับกันเสียงที่โหวตในสภา กับคำอภิปรายต่างๆ ชัยชนะอาจจะไม่ได้ตัดสินกันที่การโหวต แต่มันอาจจะมีนัยว่า เสียงวิพากษ์วิจารณ์ทั้งหลาย มันทำให้รัฐบาลมีภาพพจน์ที่ตกต่ำ และเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทั้งหลายอาจจะทำให้ความชอบธรรมของรัฐบาลเองประสบปัญหาด้วย

  • สิ่งที่จะทำให้รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ล้มลงปัจจัยหลักอยู่ตรงไหน

ผมคิดว่าประวัติศาสตร์การเมืองไทยตอบอย่างหนึ่ง รัฐบาลไทยไม่ได้ล้มจากการแพ้ฝ่ายค้าน เกือบทั้งหมดรัฐบาลไทย เกิดจากการล้มปัญหาภายพรรคร่วมรัฐบาล ปี 2563 แม้ว่ารัฐบาลจะได้ ส.ส. เพิ่มขึ้น แต่ในขณะเดียวกันความเปราะบางของรัฐบาลผสมไม่ได้หายไปไหน ความเปราะบางที่ใหญ่ที่สุดคือ ขีดความสามารถของรัฐบาลในบริหารประเทศ เพราะมาจากรัฐบาลหลังการรัฐประหารจาก 5 ปีหลังรัฐประหารลงมาหลังการเลือกตั้งแล้ว สิ่งที่เราไม่เห็นชัดเจน คือ ผลงานที่เป็นรูปธรรม ที่บ่งบอกความสำเร็จของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ขณะที่เราพูดโจทย์เศรษฐกิจ ในปี 2560 – 2562 เศรษฐกิจไทยมีปัจจัยสองระดับ เศรษฐกิจระหว่างประเทศที่มาจากสงครามการค้า และปัจจัยเศรษฐกิจไทยก็มีปัญหามากขึ้น ประเด็นพวกนี้จะกลายเป็นแรงกดดันของรัฐบาล ในการแก้ปัญหาอาจทำให้รัฐบาลเผชิญวิกฤตศรัทธา

พรรคร่วม-ประยุทธ์-อนุทิน-จุรินทร์


"ไม่มีผู้นำคนไหนคิดว่ามีปัจจัยที่ทำให้ตัวเองหลุดหรืออาจจะหลุดด้วยความรวดเร็ว ดังนั้น ทุกคนมีคำอธิบายทางจิตวิทยาอย่างเดียวว่า เชื่อว่าตัวเขาจะอยู่ เพราะถ้าเมื่อไหร่ที่เขาเชื่อว่าตัวเขาจะอยู่ไม่ได้ ผมคิดว่ามันจะเห็นความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง"
  • ปี 2563 จะเกิดการเมืองนอกสภา นำโดยพรรคอนาคตใหม่จะมีพลังพอที่จะทำให้ล้มรัฐบาล พล.อ.ประยุทธได้หรือไม่

ผมคิดว่าการเมืองนอกสภาในไทย เป็นอะไรที่ถูกจับตามองมานาน เนื่องจากถ้าเราเปรียบเทียบการเมืองบนถนนในไทยกับในหลายประเทศจะเห็นชัดและต้องยอมรับว่าการเมืองบนถนนของไทยมันไม่ใหญ่ ด้วยเงื่อนไขของการทำรัฐประหารทำให้ฝ่ายทหารสามารถที่จะคุมสังคมและการเมืองไทยได้มากกว่าที่เราคิด หรือในทางกลับกันหลายฝ่ายอาจะรู้สึกว่าภาพประชาสังคมไทยไม่เข้มแข็งพอที่จะต้านทานอำนาจของฝ่ายทหารได้ หรือดูข้อสรุปในภาพรวมอย่างนึงคือในหลายปีที่ผ่านมาภาพประชาสังคมไทยมีความอ่อนแอ แต่ในขณะที่เราเปรียบเทียบกับการเมืองในหลายประเทศ

ผมว่าเราเห็นการเมืองที่ลงบนท้องถนน ผมว่ายุโรปตัวแบบของฝรั่งเศสเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเดือน พ.ย. 2562 เป็นวาระครบรอบ 1 ปี ของกระบวนการเสื้อแจ็คเกตสีเหลืองที่รวมคนออกมาประท้วงรัฐบาลด้วยโจทย์หรือปัญหาทางเศรษฐกิจไม่ใช่เรื่องการเมือง แล้วก็เป็นลักษณะของการประท้วงที่แตกต่างจากเดิมคือเป็นการประท้วงแบบแกนนอน คือ ไม่มีตัวผู้นำที่ชัดเจน เราเห็นตัวแบบของการประท้วงใหญ่ทางเศรษฐกิจอย่างในยุโรป เช่น ที่ฝรั่งเศส รวมถึงปัจจุบันเราเห็นการประท้วงใหญ่ทางเศรษฐกิจคือในกรณีของชิลี ซึ่งชิลีเป็นประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมืองในลาตินอเมริกาและมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับที่น่าพอใจอยู่

แต่จะเห็นว่าพอมีปัญหาเศรษฐกิจด้วยการประกาศขึ้นค่าโดยสารของระบบขนส่งสิ่งที่ตามมาคือการประท้วงใหญ่ของประชาชน แล้วในการประท้วงใหญ่เรื่องนึงที่พูดชัดก็คือความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ผมคิดว่าอีกมุมหนึ่งเราในประเทศที่เราอาจจะนึกไม่ถึงกรณีของอิรักมีการประท้วงใหญ่ที่มาจากปัญหาทางเศรษฐกิจ สิ่งที่น่าสนใจสำหรับผมในปีหน้าก็คือเราจะมีม็อบทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่เกิดขึ้นในประเทศไทยหรือไม่ อันนี้เป็นความท้าทาย แต่อย่างที่ผมเปิดประเด็นว่าเราอธิบายภาพรวมจากเวทีโลกว่าปัจจุบันนี้ นอกจากเราเห็นม็อบการเมืองเราเห็นม็อบเศรฐกิจที่เกิดขึ้น อย่างที่เราเห็นตัวอย่างที่ชัดที่สุดคือชิลีกับอิรักถ้าไม่นับฝรั่งเศส

  • มีการมองว่าการชุมนุนหรือจัดแฟลชม็อบหรืออะไรต่างๆ เป็นข้อครหาของพรรคอนาคตใหม่อาจเป็นการทำเพื่อตัวเอง และอาจจุดม็อบนอกสภาไม่ติด

เวลาม็อบจุดติดมันคงมีหลายเหตุผล คนยุคผมที่ทำม็อบเวลาจุดติดมันใช้ระยะเวลาเนื่องจากในอดีตเราไม่มีเครื่องมือสมัยใหม่ แต่ปัจจุบันเวลาม็อบจุด ผมคิดว่าวันที่พรรคอนาคตใหม่จัดแฟลชม็อบต้องยอมรับมันติดระดับหนึ่ง จะบอกไม่ติดเลยผมว่าไม่ใช่ คนเยอะพอสมควร เราไม่จำเป็นต้องมาถกเถียงกันหน้ากล้องว่าคนอยู่จำนวนสักเท่าไหร่ แต่ผมคิดว่าดูจากภาพถ้าเรายอมรับความจริงคนเยอะอยู่พอสมควร แปลว่าถ้าเราใช้คำอธิบายหยาบๆ แฟลชม็อบม็อบจุดติดแล้วในระดับนึง เป็นแต่เพียงในการที่จะมีจัดรายการวิ่งไล่ลุงเมื่อวันที่ 12 ม.ค. 2563 ก็มีคำถามว่าจะมีคนเข้าร่วมมากน้อยเพียงไร แต่ในขณะเดียวกันก็คงต้องยอมรับเหมือนกันว่าถึงม็อบจุดติดในจำนวนมาก มันก็อาจจะยังไม่ถึงเงื่อนไขที่นำไปสู่การลาออกของรัฐบาลหรือกลายเป็นปัจจัยบีบที่ให้รัฐบาลจำเป็นต้องยอมถอยออกหรือเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ทางการเมือง ในกรณีอย่างนี้ผมคิดว่าปีหน้าแน่นอนอาจจะมีทั้งม็อบเศรษฐกิจและม็อบการเมือง

เพราะฉะนั้นสิ่งที่น่าสนใจก็คือม็อบแค่ไหนที่จะทำให้รัฐบาลยอมโบกธงขาว หรือในที่สุดรัฐบาลอาจตัดสินใจยื้อไปเรื่อยๆ เพราะว่าม็อบออกมาก็อย่างที่เราเห็นในหลายประเทศมากที่สุดคือการชูป้ายขับไล่รัฐบาล แต่ก็เป็นตัวอย่างว่าถ้ากระแสคนต่อต้านมาก

มันก็กลับมาเรื่องเดิมคือมันเกิดปัญหาการสูญเสียความชอบธรรมของรัฐบาล ถ้ารัฐบาลยังดื้อรั้นที่อยู่ต่อผมคิดว่าวิกฤตศรัทธาที่เกิดกับรัฐบาลมันก็มีแต่จะขยายตัวมากขึ้น เพราะงั้นปีหน้าผมคิดว่าเป็นเหมือนปีของการทำข้อสอบ พูดง่ายๆคือรัฐบาล พล.อ.ประยุทธจะทำข้อสอบหลายๆข้อที่มีอยู่ในสังคมไทยแล้วเป็นโจทย์ใหญ่ๆ จะทำข้อสอบสอบผ่านหรือไม่

วิ่งไล่ลุง สวนรถไฟ ธนาธร เผด็จการ อนาคตใหม่ วิ่งไล่ลุง สวนรถไฟ สามนิ้ว เผด็จการ
  • เสียงเตือนของผู้นำม็อบในอดีต เช่น แกนนำพันธมิตรฯ ออกมาเตือนคุณธนาธรที่จะจัดการชุมนุนว่าปลายทางจะจบลงด้วยความพ่ายแพ้หรือไม่สำเร็จ

ผมคิดว่ามองการชุมนุมในแต่ละช่วงมันมีเงื่อนไขความเหมือนและความแตกต่างที่อาจจะอธิบายได้หลายอย่าง เปรียบเทียบการม็อบในยุค 14 ตุลา 2516 จนถึงปี 2519 อันนี้เห็นชัดว่าถามว่าเป็นม็อบคนรุ่นใหม่ผมว่าใช่ ถ้าเราตีความว่านิสิตนักศึกษาสมัยนั้นเป็นคนรุ่นใหม่ ผมว่าเราเห็นชัด เงื่อนไขกว่าที่จะมาถึง 14 ตุลา 2516 จนถึง 2519 ม็อบถูกสร้างกระแสมาต่อเนื่อง ผมคิดว่าในช่วงหลังเราเห็นความพยายามที่จะสร้างกระแสม็อบของฝ่ายอนุรักษนิยม เช่นในกรณของม็อบเสื้อเหลืองหรือม็อบนกหวีดมีอาการไม่ต่างกัน

แต่พอมาถึงแฟลชม็อบยุคปัจจุบัน ผมคิดว่าสิ่งที่น่าสินใจคือเราเห็นบทบาทของโลกโซเชียลที่มากขึ้นปัจจัยของเครื่องมือการสื่อสารสมัยใหม่ที่กลายเป็นเครื่องช่วยที่ทำให้คนยุคผมที่ต้องใช้เวลาการสะสมเพื่อมีเวลาความพร้อมในการสร้างม็อบ มาถึงปัจจุบันความพร้อมในการสร้างม็อบอาจะเกิดได้เร็วขึ้น ยกตัวอย่างถ้าเราไม่มองไทย ตัวอย่างของม็อบในกรณีอาหรับสปริงมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ม็อบเกิดขึ้นได้เร็วจากเครื่องมือของโลกโซเชียลหรืออาหรับสปริงรอบที่2 อย่างที่เราเห็นในซูดาน ซีเรียปัจจุบันก็ใช่ รวมถึงไม่ต้องพูดอย่างของม็อบในฮ่องกง เพราะงั้นในกรณีของบทเรียนบางอย่างมันก็น่าคิดเนื่องจากมันมีปัจจัยที่เป็นปัจจัยใหม่ๆเข้ามาผมคิดว่าแฟลชม็อบจริงๆแล้วน่าสนใจ จะเห็นอย่างนึงคือมันแทบไม่ต้องใช่ระยะเวลาการสร้างม็อบมากแต่อารมณ์ความรู้สึกมันถูกสร้างร่วมกันอยู่ในโลกโซเชียล ผมคิดว่าอันนี้แหละคือสิ่งที่น่าสนใจสำหรับการเมืองในโลกอนาคต

ธนาธร ประยุทธ์ แฟลชม็อบ สกายวอล์ก 23.jpg


"พรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ ผมคิดเล่นๆ เปรียบเทียบคนยุคผมผมคิดว่ามันก็เหมือนกระบวนการที่ทำลายศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ในยุคนั้นศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาหรือขบวนนักศึกษา"
  • ม็อบที่ถูกปลุกจากโลกโซเชียลมันจะสร้างแรงสั่นสะเทือนต่อรัฐบาลพล.อ.ประยุทธที่เขามีความชอบธรรมมีกลไก มีเครื่องมืออำนาจรัฐอยู่ในมือได้แค่ไหน็

มันก็คิดได้สองแบบทั้งนั้นคือในกรณีที่เป็นม็อบในโลกโซเชียล แบบหนึ่งคือทุกอย่างระบายความรู้สึกผ่านคีย์บอร์ด แปลว่าความอัดอั้น ความไม่พึงพอใจ ความอะไรทั้งหลายท้งปวงมันถูกตอบผ่านโดยกดคีย์บร์อดแล้วก็จบ แต่ว่าความร็สึกอย่างนี้ไม่นำคนไปลงถนน แต่มันก็มีเคสที่เราเห็นคือระบายเสร็จแล้วคนรู้สึกร่วมกันแล้วสุดท้ายคนตัดสินใจลงถนน ผมคิดว่าถ้าตัดปัจจัยเรื่องการเมือง ม็อบที่ฝรั่งเศสกรณีที่เป็นเสื้อแจ็คเกตเหลืองที่เป็นม็อบเศรษฐกิจก็อยู่ในอาการนั้น คนมีความรู้สึกว่าพวกเขาประสบปัญหาเศรษฐกิจร่วมกันแล้วตัดสินใจออกมาเจอกันในหลายๆเมือง ไม่ใช่ที่ปารีสเท่านั้น

หรือม็อบฮ่องกงผมว่าชัด เป็นม็อบที่มีกระแสความรู้สึกที่ไม่พึงพอใจกับการแทรกแซงของรัฐบาลจีนหรือไม่พึงพอใจกับการขยายอิทธิพลของจีนฮ่องกงเห้นชัดออกมาสู่ถนน เพราะฉะนั้นปัญหามันก็มีสองแบบ ความไม่พอใจจะอัดอั้นอยู่ในโลกโซเชียลหรือความไม่พอใจที่อัดอั้นในโลกโซเชียลมันจะขยายตัวลงถนน ผมว่าปีหน้าจะเป็นบทพิสูจน์ของไทย ว่าม็อบไทยจะอยู่ในแบบหนึ่งที่ความอัดอั้นอยู่กับคีย์บอร์ดหรือความอัดอั้นจากคีย์บอร์ดไหลลงบนถนน

"ถ้าสมมติปี 2563 เหมือนมวย 12 ยก เป็นไปได้ไหมที่รัฐบาลจะชกครบ 12 ยก ผมว่าไม่ง่าย ผมว่าปีหน้าชกไม่ครบ 12"
  • พรรคอนาคตใหม่กำลังเผชิญกับคดียุบพรรคในวันที่ 21 ม.ค.นี้ ถ้าผลคำวินิจฉัยออกมาในทางที่เลวร้ายเกิดขึ้นมีการยุบพรรค มันจะสร้างความชอบธรรมให้กับการเมืองข้างนอกสภาหรือไม่

ผมคิดว่ามันคิดได้สองอย่างทุกอย่างในเงื่อนไขอย่างนี้ ก็คือถ้าอนาคตใหม่ถูกยุบความรู้สึกไม่พึงพอใจ ความรู้สึกที่มีความเห็นร่วมกันว่าระบบกฎหมายมันไม่เป็นธรรมและอยุติธรรม ผมว่าอันนี้สะสมแน่ แต่ว่าที่จริงประเด็นเรื่องของความรู้สึกรวมถึงความอยุติธรรมของกฎต่างๆหรือกฎหมายต่างๆ ผมว่าเป็นปัจจัยสำคัญแต่ถ้าเราดูในหลายปี ผมเชื่อว่าผู้นำปีกขวา ผู้นำสายอนุรักษนิยมรวมถึงผู้นำทหารอาจจะพอใจกับความรู้สึก ถึงจะไม่พอใจแต่คนก็ไม่ลงถนน มันก็ถอยกลับมาสู่ประเด็นที่เราคุยกันตอนต้นว่าจุดสุดท้ายอยู่แค่ไหนที่ความไม่พอในเหล่านั้น หรือความรู้สึกอัดอั้นเหล่านั้นมันขยายตัวจากคีย์บอร์ดลงถนน

หมายความว่า ปี 2563 เป็นบททดสอบทุกฝ่ายด้านหนึ่งที่เราพูดกับตอนต้น ปี 2563 ยังเป็นเหมือนการทำข้อสอบใหม่ของรัฐบาล ปี 2563 ยังเป็นปีที่ทำข้อสอบใหญ่ของฝ่ายค้านเหมือนกัน แล้วปี 2563 จะเป็นปีของการทดสอบตกลง ความรู้สึกที่เกิดขึ้นทั้งความอัดอั้น ความไม่พึงพอใจทางการเมืองหรือความรู้สึกที่ถึงความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นทั้งหลาย จะไหลจากคีย์บอร์ดลงบนถนนหรือไม่ แปลว่าโจทย์ปี 2563 ผมว่าน่าสนใจ

อภิรัชต์ คงสมพงษ์
  • ถ้าพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบเป้าหมายของการทำลายพรรคนี้คืออะไร

ผมคิดว่าพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ ผมคิดเล่นๆ เปรียบเทียบคนยุคผมผมคิดว่ามันก็เหมือนกระบวนการที่ทำลายศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ในยุคนั้นศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาหรือขบวนนักศึกษามันคือตัวแทนของคนรุ่นใหม่แล้วสุดท้าย การตัดสินใจทำลายกระบวนนิสิตนักศึกษาในยุคนั้น ผมคิดว่าชัดก็คือหยุดการเติบโตของคนรุ่นใหม่

ถ้าเราไม่พูดทางมิติอุดมการณ์แล้วก็ตัดสินใจในการหยุดการเติบโตของคนรุ่นใหม่พาการเมืองกลับไปสู่ทิศทางเก่าด้วยการรัฐประหาร เพราะฉะนั้นปี 2563 ผมเชื่อว่าการยุบพรรคอนาคตใหม่ก็คงไม่ต่างจากเหตุการณ์ปี 2519 ที่เชื่อว่าสุดท้ายการที่จะต่อสู้กับฝ่ายตรงข้ามที่ดีที่สุดก็คือใช้การทำลาย เพราะฉะนั้นปี 2563 สิ่งที่หน้าจับตามองอีกอย่าง มันอาจจะไม่ใช่แค่พรรคอนาคตใหม่แต่มันอาจจะกินความโดยสภาพของการเมืองที่เราเห็น อาจจะกินความคือการทำลายพรรคฝ่ายค้าน หรือการทำลายฝ่ายประชาธิไตยในภาพรวมเพื่อทำให้ตัวรัฐบาลเข้มแข็ง แล้วทำให้ปีกฝ่ายค้านหรือฝ่ายประชาธิปไตยมีความอ่อนแอจนไม่มีสภาวะที่จะกลายเป็นภัยคุกคามหรือเป็นแรงกดดันไม่ว่าจะในหรือนอกสภา

  • ถึงตรงนี้แล้วอาจารย์คิดว่าปี 2563 รัฐบาลจะอยู่ถึงปี 2564 หรือไม่

ผมคิดว่าโจทย์ปี 2563 อนาคตรัฐบาล สมมติเราคิดเล่นๆ ไปไม่ไหวตัดสินใจยึดอำนาจ ไปไม่ไหวตัดสินใจยุบสภา ไปไม่ไหวตัดสินใจลาออกหรือสุดท้ายเกิดการตื่นตัวของกระแสประชาชนคนตัดสินใจลงถนนจนรัฐบาลล้มหรือสุดท้ายคือยื้อไปเรื่อยๆ จนถึงสิ้นปี ผมคิดว่าโอกาสเกิด 5 ตัวแบบนี้มันมีอยู่ แต่ละอันไม่ง่าย ยึดใหม่ก็มีปัญหา ผมไม่ได้บอกยึดไม่ได้ วันนี้ผมว่าทหารจะยึด ยึดได้เราเห็นการยึดอำนาจในระยะเวลาไม่ถึง 10 ปี 2 ครั้งในกรุงเทพจาก 2549- 2557 ตอนชัดว่าประเทศไทยเป็นเพียงไม่กี่ประเทศในโลกที่มีการยึดอำนาจถึง 2 ครั้ง ในเวลาไม่ถึง 10 ปี เพราะฉะนั้น ยึดอีกครั้งผมว่าไม่ใช่เรื่องยาก แต่ยึดแล้วต้องตอบว่าจะพาประเทศไปอย่างไร

ยุบสภา ผมว่าพรรครัฐบาลคงอาจะไม่ยอมเสี่ยง เพราะจะนำไปสู่การเลือกตั้งใหม่หรือรู้ว่าไปไม่ได้ลาออก แต่ถ้าลาออกมันต้องมีแรงกดดัน เช่นกรณี พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ อดีตนายกฯ ลาออก ผมคิดว่านั้นคือตัวอย่าง แต่เราอาจไม่เห็นแรงกดดันมากพอที่จะทำผู้นำทหารคนปัจจุบันตัดสินใจแบบพล.อ.เกรียงศักดิ์

หรือต่อมาม็อบเคลื่อนออกจากคีย์บอร์ดลงสู่ถนนแล้วมีมากจนรัฐบาลต้องยุติบทบาท อันนี้ก็เป็นเรื่องที่น่าจับตาดู หรือสุดท้ายยื้อไป ไม่ยึดไม่ยุบ แต่ยื้อไปเรื่อยๆ คำถามก็คือรัฐบาลจะยื้อไปได้อีกนานเท่าไหร่ ถ้าสมมติปี 2563 เหมือนมวย 12 ยก เป็นไปได้ไหมที่รัฐบาลจะชกครบ 12 ยก ผมว่าไม่ง่าย ผมว่าปีหน้าชกไม่ครบ 12 ยก

เงื่อนไขหลายอย่างอยู่ที่ภาคประชาชน เงื่อนไขอีกส่วนหนึ่งอยู่ที่ขีดความสามารถในการบริหารของรัฐบาล เงื่อนไขอีกส่วนนึงอยู่ที่การขับเคลื่อนของฝ่ายค้าน แต่ว่าเงื่อนไขทั้งหมดยังไม่ต้องพูดถึงปัจจัยภายนอกที่เป็นกระแสโลก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง