ในงานอาเซียนซัมมิทครั้งที่ 32 เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ณ ประเทศสิงคโปร์ 'ลีเซียนลุง' ในฐานะประธานอาเซียนหยิบยกประเด็น 'เมืองอัจฉริยะ' หรือสมาร์ทซิตี้ ขึ้นมากล่าวถึง
โดยชี้ว่า "สำหรับประเด็นโครงข่ายเมืองอัจฉริยะ เป็นสิ่งที่เราหวังว่าจะเสร็จสมบูรณ์ มีความก้าวหน้า และมีผลลัพธ์ที่จับต้องได้ภายในปีนี้"
ปัจจุบันนี้ประชากรในอาเซียนกว่าครึ่งหนึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่เมือง และภายในปี 2573 มีการคาดการณ์ว่าประชากรอีกมากกว่า 90 ล้านคนจะย้ายเข้ามาเพิ่ม โดยเมืองขนาดกลางที่รองรับประชากรระหว่าง 200,000 - 2,000,000 คน จะส่งผลให้เกิดการเติบโตทางภูมิภาคกว่าร้อยละ 40
อย่างไรก็ตาม ด้วยจำนวนประชากรที่สูงขึ้นส่งผลให้เกิดปัญหาตามมา ทั้งความหนาแน่น มลพิษทางอากาศ คุณภาพน้ำ ความเหลื่อมล้ำ และการแบ่งแยกทางภูมิศาสตร์ระหว่างประชากรในเมืองและประชากรท้องถิ่น
ความพยายามในการสร้างเมืองอัจฉริยะเป็นหนึ่งในคำตอบของการแก้ปัญหาข้างต้น ด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชน
แม้สิงคโปร์จะเป็นผู้นำเรื่องเมืองอัจฉริยะในภูมิภาค แต่ประเทศอย่าง มาเลเซีย เวียดนาม ไทย และอินโดนีเซีย ก็มีเป้าหมายในการสร้างเมืองอัจฉริยะเช่นเดียวกัน นี่จึงไม่ใช้เรื่องแปลกใหม่ของภูมิภาคนี่้
ในงานอาเซียนซัมมิทครั้งนี้ มีการวางแผนการดำเนินงาน องค์ประกอบสำคัญ รวมทั้งตารางเวลาสำหรับโครงการนำร่องใน 26 เมืองทั่วอาเซียน
โครงข่ายเมืองอัจฉริยะอาเซียน
โครงข่ายเมืองอัจฉริยะอาเซียน หรือ ASCN ประกอบไปด้วย 4 ปัจจัยหลัก ที่มีการดูแลตัวแทนของแต่ละประเทศในอาเซียน โดยปัจจัยที่ 1 คือ แผนการปฏิบัติโดนเฉพาะของแต่ละประเทศในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะระหว่างปี 2561 - 2568
ขณะที่ปัจจัยที่ 2 คือ ขอบข่ายงานของเมืองอัจฉริยะที่พูดถึงแผนการพัฒนาพร้อมๆกับชี้ประเด็นความต้องการของภาคสังคมและวัฒนาธรรมท้องถิ่น ปัจจัยที่ 3 ของการประชุมประจำปีของ ASCN และปัจจัยสุดท้ายคือโครงการแฝดที่จะจับคู่เมืองอัจฉริยะในอาเซียนกับเมืองอัจฉริยะนอกอาเซียน ปัจจุบันโครงการ ASCN เปิดตัวไปแล้ว เหลือเพียงแต่แต่ละประเทศเริ่มลงมือทำเท่านั้น
อ้างอิง; The ASEAN Post
ข่าวที่เกี่ยวข้อง: