ไม่พบผลการค้นหา
การเลือกตั้ง ส.ส.เป็นการทั่วไปจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 14 พ.ค. 2566 ปฏิเสธไม่ได้ว่าโพลทุกสำนักย่อมเกาะติดและสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีอายุถึงเกณฑ์ใช้สิทธิเลือกตั้งได้ในปีนี้

ก่อนจะถึงวันเลือกตั้ง และก่อนที่จะมีการประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร มีโพลหลายสำนักได้วัดความนิยมของพรรคการเมืองแต่ละพรรคว่า พรรคใดครองความนิยม และแคนดิเดตนายกฯ คนไหนจะเป็นที่ชื่นชอบของประชาชน

โดยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้จัดทำผลสำรวจความคิดเห็นของ 'นิด้าโพล' ชี้วัดถึง ศึกเลือกตั้ง 2566 ครั้งที่ 1 บุคคลที่ประชาชนจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี ในการเลือกตั้งครั้งนี้ เมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2566 เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ศึกเลือกตั้ง 2566 ครั้งที่ 1” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 2-8 มี.ค. 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค

อันดับ 1 ร้อยละ 38.20 ระบุว่าเป็น แพทองธาร (อิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) 

อันดับ 2 ร้อยละ 15.75 พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) 

อันดับ 3 ร้อยละ 15.65 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) 

อันดับ 4 ร้อยละ 9.45 ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ 

อันดับ 5 ร้อยละ 5.10 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) 

อันดับ 6 ร้อยละ 4.45 พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) 

อันดับ 7 ร้อยละ 2.35 จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์) 

อันดับ 8 ร้อยละ 1.60 นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย)

อันดับ 9 ร้อยละ 1.55 อนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) 

อันดับ 10 ร้อยละ 1.40 กรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า)

ส่วนพรรคการเมืองที่ประชาชนจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต

อันดับ 1 ร้อยละ 49.75 พรรคเพื่อไทย 

อันดับ 2 ร้อยละ 17.40 พรรคก้าวไกล 

อันดับ 3 ร้อยละ 11.75 พรรครวมไทยสร้างชาติ 

อันดับ 4 ร้อยละ 5.40 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์

พรรคการเมืองที่ประชาชนจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ 

อันดับ 1 ร้อยละ 49.85 พรรคเพื่อไทย 

อันดับ 2 ร้อยละ 17.15 พรรคก้าวไกล 

อันดับ 3 ร้อยละ 12.15 พรรครวมไทยสร้างชาติ 

อันดับ 4 ร้อยละ 4.95 พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 5 ร้อยละ 2.85 

หากย้อนไปก่อนหน้านี้ “นิด้าโพล” เคยเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 4/2565” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 17-22 ธ.ค. 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาคระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,000 หน่วยตัวอย่าง 

แพทองธาร พานทองแท้ เพื่อไทย นครปฐม

เมื่อถามถึงบุคคลที่ประชาชนจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้ พบว่า 

อันดับ 1 ร้อยละ 34.00 แพทองธาร ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) เพราะชื่นชอบพรรคเพื่อไทย นโยบายของพรรคสามารถทำได้จริง ต้องการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารประเทศ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ชื่นชอบผลงานในอดีตของตระกูลชินวัตร 

อันดับ 2 ร้อยละ 14.05 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) เพราะเป็นคนตรงไปตรงมา พูดจริงทำจริง มีความซื่อสัตย์สุจริต ทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบ ขณะที่บางส่วนระบุว่า จะได้บริหารประเทศอย่างต่อเนื่อง 

อันดับ 3 ร้อยละ 13.25 พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) เพราะต้องการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารประเทศ มีวิสัยทัศน์และแนวคิดแบบคนรุ่นใหม่ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ชื่นชอบนโยบายของพรรคก้าวไกล 

อันดับ 4 ร้อยละ 8.25 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ 

อันดับ 5 ร้อยละ 6.45 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) เพราะชื่นชอบนโยบายของพรรค มีประสบการณ์ด้านการบริหารประเทศ 

อันดับ 6 ร้อยละ 6.00พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) เพราะเป็นคนตรงไปตรงมา พูดจริงทำจริง มีความซื่อสัตย์สุจริต และชื่นชอบวิธีการทำงาน 

อันดับ 7 ร้อยละ 5.00 อนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) เพราะชื่นชอบนโยบายพรรคภูมิใจไทย และชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา 

แพทองธาร เพื่อไทย B-05A39C7E2FDA.jpegแพทองธาร  8622EA3F9CD.jpeg

ขณะที่ “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเฉพาะผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ กรณี “คนไทยนิยมพรรคการเมืองใด” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 10,614 คน (สำรวจทางภาคสนาม) ระหว่าง 1-17 มี.ค. 2566 ก่อนที่จะประกาศยุบสภา พบว่า พรรคที่คนไทยนิยม อันดับ 1 คือ พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 46.16 รองลงมาคือ พรรคก้าวไกล ร้อยละ 15.43 พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 11.12 พรรครวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 8.73 และพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 7.71 

เมื่อจำแนกตามภูมิภาค ก็พบว่า กรุงเทพฯ ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยม พรรคเพื่อไทยมากที่สุด

ส่วนภาคใต้ ประชาชนนิยมพรรคประชาธิปัตย์ มากที่สุด ร้อยละ 24.71 รองลงมาคือ พรรคเพื่อไทย 21.72 พรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 15.99 พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 12.23 

แพทองธาร พานทองแท้ เพื่อไทย ปทุมธานี IMG_7803.jpeg

ส่วน สำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจ เรื่อง นายกฯ ของประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศอายุ 18 ปีขึ้นไป และการวิจัยเชิงคุณภาพ รวมจำนวน 1,378 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 25 มี.ค. ถึง 1 เม.ย. พ.ศ.2566

เมื่อถามถึงนโยบายพรรคที่ประชาชนเชื่อว่าทำได้จริง แบ่งระหว่างกลุ่มแฟนคลับพรรคร่วม ฝ่ายรัฐบาลและกลุ่มแฟนคลับพรรคร่วมฝ่ายค้าน พบว่า ในกลุ่มแฟนคลับพรรคร่วมฝ่ายรัฐบาลร้อยละ 41.9 ระบุ เชื่อพรรคภูมิใจไทย มากที่สุด รองลงมา ร้อยละ 37.8 ระบุพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 35.5 ระบุ พรรครวมไทยสร้างชาติ และร้อยละ 32.2 ระบุ พรรคพลังประชารัฐ 

ขณะที่ กลุ่มแฟนคลับพรรคร่วมฝ่ายค้านส่วนใหญ่หรือร้อยละ 47.0 ระบุพรรคเพื่อไทย และร้อยละ 41.8 ระบุ พรรคก้าวไกล และร้อยละ 35.6 ระบุอื่น ๆ

เพียงแค่กางผลโพล ของ 3 สำนัก ทัั้ง นิด้าโพล - สวนดุสิตโพล - ซูเปอร์โพล ก็พอจะคาดเดาทิศทางได้ว่า ผลการเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 14 พ.ค. 2566 พรรคใดจะชนะเลือกตั้ง ส่วนว่าที่นายกรัฐมนตรีจะเป็นไปตามผลโผลที่ประชาชนเรียกร้องหรือไม่นั้น

อาจจะยังต้องรอเสียง ส.ส.ของแต่ละพรรคการเมืองหลังการเลือกตั้งอีกครั้ง

แน่นอนว่าแม้ผลโพลจะชี้วัดได้ระดับหนึ่ง แต่การโหวตเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้นจะต้องใช้เวทีรัฐสภาที่มี ส.ส.และ ส.ว.เป็นตัวชี้ขาด

และผู้เป็นนายกฯ คนใหม่จะต้องได้เสียงเห็นชอบจากรัฐสภาไม่น้อยกว่า 375 เสียงเป็นสำคัญ

นี่จึงเป็นหมุดหมายและการประกาศแลนด์สไลด์ของ 'เพื่อไทย' อย่างหนักตลอดการหาเสียงว่าจะต้องกวาด ส.ส.ให้ได้ 310 เสียงเป็นอย่างน้อย เพื่อเอาไว้สู้กับ 250 ส.ว.ในการโหวตนายกรัฐมนตรี