ไม่พบผลการค้นหา
การจบการศึกษา แต่ไม่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน ทำให้ต้องทำงานไม่ตรงสายงาน มีส่วนทำให้อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเป็น 1% ของจำนวนแรงงานในประเทศไทย และเกิดวิกฤตขาดแคลนแรงงานในระดับอาชีวะ

การจบการศึกษา แต่ไม่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน ทำให้ต้องทำงานไม่ตรงสายงาน มีส่วนทำให้อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเป็น 1% ของจำนวนแรงงานในประเทศไทย และเกิดวิกฤตขาดแคลนแรงงานในระดับอาชีวะ 
       
นางสาว นพวรรณ จุลกนิษฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ในปีนี้ (2558)  อัตราคนว่างงานเพิ่มขึ้นจากปี2557 ที่ 0.6-0.7% เป็น 1% ของจำนวนแรงงานในไทย 38 ล้านคน หรือ 3 แสน 7 หมื่น 8 พันคน และในจำนวนผู้ว่างงานนี้ 32% หรือ 1 แสน 2 หมื่น 2 พันคน เป็นผู้ว่างงานในระดับอุดมศึกษา เพราะจบไม่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน โดยเฉพาะระดับปริญญาตรี มี 3 คณะที่นักศึกษาให้ความสนใจเข้ารับการศึกษา ได้แก่ อักษรศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์
 
ส่วนตำแหน่งงานที่เป็นที่ต้องการสูงในตลาดแรงงาน คือ การแพทย์ วิศวกรรม บัญชีและการตลาด รวมถึง การศึกษาด้านอาชีวะ ที่ปัจจุบัน ตลาดแรงงานต้องการ 3 แสน 7 หมื่นคนต่อปี แต่มีผู้สำเร็จการศึกษา 1 แสน 2 หมื่นคนต่อปีเท่านั้น

และตำแหน่งงานที่เติบโตต่อเนื่อง คือ ด้านไอที โดยเฉพาะผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นสมาร์ทโฟน และด้านการตลาด ด้านออนไลน์มาร์เก็ตติ้ง และการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ เออีซี ทักษะด้านภาษาอังกฤษและภาษาถิ่น  ทักษะด้านไอที และความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรมประจำถิ่น คือสิ่งที่จำเป็นเพื่อเข้ากับลักษณะการทำงานและวัฒนธรรมได้ 

โดยเสนอให้สถาบันการศึกษาไทย  ควรต้องมีการแนะนำหรือแนะแนวทางให้นักศึกษามีความเข้าใจลักษณะการทำงานในแต่ ละอาชีพ เพื่อการวางแผนด้านการศึกษาในอนาคต

นอกจากนี้ การสำรวจ"ความสุขในการทำงานปี 2558 " พบว่า 60% ของคนทำงานในกรุงเทพฯและปริมณฑลมีความสุขในการทำงาน และ 40% ไม่มีความสุข โดย ปัจจัยที่ทำให้มีความสุขในการทำงาน เช่น บทบาทหน้าที่รับผิดชอบในงานปัจจุบัน  ความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชา  เงินเดือนที่ได้รับ  ช่วงเวลาการทำงานที่สมดุลกับการใช้ชีวิต  และสิทธิประโยชน์และผลตอบแทน 

และ 5 เหตุผลที่คนทำงานคิดจะลาออก คือ ไม่มีโอกาสเติบโตในองค์กร  เข้ากับเพื่อนร่วมงาน หรือผู้บังคับบัญชาไม่ได้ "เพื่อนไม่คบ นายก็ไม่รัก"  ได้รับการปรับเงินเดือน แต่ไม่เพียงพอ  องค์กรไม่มีระบบที่เอื้ออำนวยต่อการทำงานให้สำเร็จและไม่มีประสิทธิภาพ  และไม่ชอบงานที่รับผิดชอบอยู่ 
     

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog