ไม่พบผลการค้นหา
'รศ.ดร.กลุลดา' ชี้การล่มสลายของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เหตุชนชั้นนำแตกคอรัฐราชการ ขณะที่ 'เกษียร' ถามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สร้างขึ้นมาเพื่อใคร

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน จัดเสวนา "มรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์" โดยมีนักวิชาการร่วมให้ความเห็น อาทิ - รศ.ดร. กุลลดา เกษบุญชู มี้ด ผู้เขียนหนังสือ "ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์: วิวัฒนาการรัฐไทย" ศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ศ.ดร.ชาตรี ประกิตนนทการ ภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร ดร.ตามไท ดิลกวิทยรัตน์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

รศ.ดร.กุลลดา ระบุว่าในการจัดทำหนังสือเล่มนี้ คือการต้องการทำความเข้าใจในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และมองว่าประเทศไทยเปลี่ยนผ่านจากรัฐศักดินามาเป็นรัฐทุนนิยม ซึ่งจากงานศึกษาชิ้นนี้คือ พบว่าความขัดแย้งระหว่างสถาบันกษัตริย์และรัฐราชการ เป็นสาเหตุหลักและมองว่าปี 2475 อาจดูยิ่งใหญ่ แต่ก็ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก ในปัจจุบันเราพบการปะทะกันระหว่างพลังของชนชั้นนำและผู้ถูกปกครอง ซึ่งโจทย์หลักสำคัญเราจะทำให้ทุกฝ่ายอยู่ร่วมกันอย่างไร 

ส่วนการจัดตั้งรัฐบาลไม่ได้ขณะนี้ สะท้อนให้เห็นว่าอำนาจของฝ่ายประชาธิปไตยเป็นภาพลวงตาหรือไม่ ขณะที่การต่อสู้ของประชาชนในเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ เป็นชัยชนะของฝ่ายประชาธิปไตยจริงหรือเป็นเพียงการต่อสู้ของฝ่ายขัดแย้งในนามฝ่ายประชาธิปไตย เพราะที่ผ่านมามีหลายเหตุการณ์ที่มีการจัดการฝ่ายหลังที่จะก่อตัวท้าทายคนที่กุมอำนาจ 

ส่วนมรดกตกทอดที่เห็นได้ชัดคือ ระบอบอุปถัมภ์ และความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นก็เป็นส่วนหนึ่งในการทำให้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ล่มสลาย 

ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เพื่อประชาชนหรือเพื่อใคร

ศ.ดร.เกษียร เห็นว่า ในส่วนของมรดกแบ่งเป็นสองความหมาย คือปมเงื่อนความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนำและข้าราชการ ทำให้ความภักดีที่ต้องการปลูกฝังมันสั่นคลอน ในช่วง ปี 2520 ถือเป็นยุคเบ่งบานในการวิพากษ์การเมืองไทย มองในมุมฐานคิดมุมของหนังสือพบว่าเปรียบเสมือนลัทธิแก้ ในการมองมุมแตกต่าง และเห็นว่าเป็นการทะเยอทะยานทางทฤษฎี วิพากษ์อย่างครอบคลุม ทั้งการสร้างรัฐและสร้างเศรษฐกิจโลก โดยแน่นไปด้วยข้อมูลผ่านการสังเคราะห์ตั้งแต่ยุคสมัยอยุธยาจนถึงจุดอวสาน 

นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์แนวคิดของตัวละครในประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะโครงสร้างเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนมารวมศูนย์ที่ประเทศอังกฤษ สะท้อนจากการเปลี่ยนการทูตจากจีนเป็นตะวันตก อีกสิ่งสำคัญคือการเปลี่ยนจากรัฐราชสมบัติเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่มีอายุสั้นแต่มีมรดกยาวนาน ในแง่บทเรียนทางการเมืองจากหนังสือ เสมือนเป็นการต่อสู้ 3 ฝ่ายในการพึงตั้งรัฐบาลในขณะนี้ ที่เล่าย้อนไปถึงการแย่งชิงอำนาจในยุคสมัยรัชกาลที่ 5 แบ่งเป็น สยามเก่า สยามอนุรักษ์ สยามหนุ่ม ที่มองเห็นต่างกันในการปฏิรูปและความขัดแย้งด้านนโยบาย 

ส่วนยุทธศาสตร์ของรัชกาลที่ 5 คือการสร้างอำนาจเพื่อทัดทานกับแรงต้าน เพื่อให้อำนาจอยู่อย่างถาวร และสร้างสถาบันการเมืองใหม่ โดยสร้างสำนักพระราชกฤษฎีกา เพื่อใช้เป็นฐานอำนาจ โดยการดึงฝ่ายตรงข้ามมาร่วมงาน ซึ่งถือเป็นวิธีที่ชาญฉลาด และในประวัติศาสตร์ได้จารึกไว้ว่าข้อเสนอในการเลิกทาสคือเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 แต่สำเร็จในรัชกาลที่ 5 

"เมื่อไหร่ที่เจตนารมณ์จากข้างบน สอดคล้องกับเจตนารมณ์ข้างล่าง เมื่อนั้นการปฏิรูปทางการเมืองจะสำเร็จ" ศ.ดร.เกษียร กล่าว 

อีกความสำคัญของการปฏิรูปคือ แม้ว่าชนชั้นปกครองจะกุมอำนาจแต่ไม่สามารถกุมหัวใจประชาชนได้ ก็ไม่มีทางสำเร็จขึ้น ดังนั้นจุดสิ้นสุดของสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้ล่มสลายก็เกิดขึ้นจากรัฐราชการ ซึ่งชาตินิยมของทั้งสองเกิด จากความสัมพันธ์ที่ถูกแบ่งแยกจากความภักดีและความใกล้ชิด ยกตัวอย่างเช่น การชุบเลี้ยงลูกหลานของเจ้าขุนมูลนาย จนมีแนวคิดในการเปิดโรงเรียนมหาดเล็ก เพื่อปลูกฝังให้เกิดความจงรักภักดี ต้องตั้งคำถามว่าระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่เป็นของประชาชนหรือพระมหากษัตริย์

จากยุครุ่งเรืองสู่จุดเสื่อม ผ่านความอึดอัดระหว่างชนชั้น

ดร.ตามไท ชี้ว่าลักษณะงานหนังสือ"ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์: วิวัฒนาการรัฐไทย" ไม่ได้แบ่งแยกสยามว่าเป็นเอกเทศ แต่พยายามอธิบายโครงสร้างศูนย์การอำนาจและการเมือง เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนของการบริหารโดยอิงจากยุคอาณานิคม เพื่อให้เห็นว่าชนชั้นนำแต่ละประเทศมีวิธีจัดการมีจุดเริ่มและจุดจบอย่างไร

เมื่อถึงจุดเสื่อมของชนชั้นในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่สร้างขึ้นมาและการคืบคลานเข้ามาของระบบทุน อีกทั้งชี้ให้เห็นว่าจุดสูงสุดของการกุมอำนาจคือเชื้อพระวงค์และเครือข่ายของชนชั้นสูง แม้ว่าจะมีชนชั้นข้าราชการ แต่ก็พบว่ามีความอึดอัดจากชนชั้นนำที่ไม่ตัดสินใจในหลักการที่เป็นความต้องการจากคนส่วนใหญ่ในประเทศ หรือพูดง่ายๆ ว่าคนที่ตัดสินใจไม่ได้มีความเข้าใจหรือมองเพียงผลประโยชน์ส่วนตน

อีกหนึ่งความน่าสนใจของหนังสือเล่มนี้ คือการอธิบายความเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ได้ครอบคลุมในระยะยาว และสามารถนำไปเทียบเคียงในยุคสมัยได้หลากหลาย หรือแม้เปรียบเทียบกับความเปลี่ยนแปลงของรัฐไทยในยุคสงครามเย็นได้ 

โบราณวัตถุ 'โลกจำลอง' อำนาจรวมศูนย์

ศ.ดร.ชาตรี ได้ตั้งข้อสังเกตว่าระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ได้ทิ้งมรดกไว้ในยุคปัจจุบัน อย่างไรก็ดีในด้านหนึ่งของระบอบดังกล่าว มีการสร้างโบราณวัตถุเพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างระบอบ มีประเด็นหลักของการสร้างสิ่งหล่านี้คือ การสร้างสถาปนาเพื่อรวบรัฐเข้าสู่สถาบันกษัตริย์ ขณะที่ไอเดียว่าด้วยชาติและสถาบันกษัตริย์ไม่ได้สอดคล้องกัน 

หากมองจากเรื่องโบราณวัตถุ กลับพบว่าไม่เคยถูกแตะและสร้างองค์ความรู้ และไม่ถูกทำให้คนสนใจเปรียบได้ว่าเป็นอาณาเขตสยามผ่านงานศิลปะ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่ระบบราชการใหม่ ผ่านรายงานสำรวจ ซึ่งไม่มีใครสนใจในส่วนนี้มากนัก ซึ่งเนื้อหารายละเอียดคือการเดินทางสำรวจของชนชั้นเจ้านาย โดยมีนัยเพื่อสะท้อนให้เห็นว่ารัฐสยามยิ่งใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น การรวบรวมพระพุทธรูปจากหัวเมืองต่างๆ ไว้ที่วัดเบญจมบพิตร โดยส่วนตัวมองว่าเป็นการสร้างให้เห็นว่าระบอบนี้เป็นอย่างไร เป็นเสมือนการแสดงให้เห็นว่าเป็นการรวมศูนย์กลางอำนาจ

เสวนา2.jpgเสวนา3.jpgเสวนา4.jpgเสวนา5.jpg