นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รมว.เกษตรและสหกรณ์ ร่วมประชุมและเสวนา Meeting of the First Movers Coalition Leaders ในระหว่างการประชุม WEF มีผู้นำภาครัฐและภาคเอกชนทั่วโลก มาแลกเปลี่ยนความสำเร็จและแนวทางในการผลักดันให้เกิดการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว หรือ Green Procurement
นฤมล ได้นำเสนอในที่ประชุมว่า ประเทศไทยเผชิญความท้าทาย ทั้งจากสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน รวมถึงเกษตรกรไทยที่สูงวัยมากขึ้น ต้องนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในภาคการเกษตร ให้เกิดการความคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ประกอบกับเกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศมีอาชีพทำนา ดังนั้น ประเทศไทยจึงได้นำรูปแบบการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง มาทดลองโดยเลือกพื้นที่ที่เหมาะสม โดยพบว่า เพิ่มผลผลิตได้ร้อยละ 25-40 ลดการใช้น้ำได้ถึงร้อยละ 50 และช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทน ซึ่งจะต่อยอดเป็นคาร์บอนเครดิต และยังเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรอีกทางหนึ่งด้วย
“สิ่งสำคัญคือ การสร้างการรับรู้ของเกษตรกรถึงประโยชน์ของการทำนาแบบเปียกสลับแห้งนั้น จะช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ ลดผลกระทบจากภัยพิบัติ ลดปล่อยก๊าซมีเทน ซึ่งสอดรับกับนโยบายของนานาประเทศที่ต้องการสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับที่ไทยได้ให้คำมั่นไว้ในการประชุม COP26 / การถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องให้กับเครือข่ายเกษตรกรรุ่นใหม่ เช่น Smart Farmers/ Young Smart Farmers/ Agricultural Village Volunteer ขยายผลองค์ความรู้ให้เกษตรกรทั่วประเทศ”
นฤมล กล่าวต่อว่า สิ่งที่ภาครัฐต้องสนับสนุน คือ โครงสร้างพื้นฐานการปรับ เปลี่ยนการทำนาแบบดั้งเดิมมาเป็นแบบเปียกสลับแห้ง ทั้งในเรื่องของชลประทาน ตลอดจนการปรับหน้าดินของแปลงนา / ปัจจุบัน มีกลไกการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐและเอกชน ซึ่งความท้าทายสำคัญของไทย คือ การสร้างโอกาสให้กับเกษตรกร ให้ปรับเปลี่ยนการผลิตแบบดั้งเดิมให้เป็นการผลิตที่ตรงกับความต้องการของตลาด เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรที่
การยกระดับภาคเกษตรไทยให้เป็นเกษตรมูลค่าสูง และส่งเสริมทำเกษตรอย่างยั่งยืน เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของโลก ผลักดันแนวคิด ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ โดยภาครัฐ นำเทคโนโลยีทางการเกษตร (Agri-Tech) มาใช้ เพื่อให้คนในภาคการเกษตรสามารถเข้าถึงและใช้เทคโนโลยีเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับเกษตรกรไทย
“การเข้าร่วมประชุม World Economic Forum 2025 ครั้งนี้ทำให้เห็นว่า ทั่วโลกให้ความสำคัญภาคเกษตรและความมั่นคงอาหาร โดยเฉพาะการทำเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การทำเกษตรที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะกลับไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและขยายผลให้ประเทศไทยต่อไป”