รายการ Talking Thailand ประจำวันที่ 3 มีนาคม 2563
“อ.วิโรจน์ – อ.หญิง” แนะ “สิระ เจนจาคะ” ใช้ความกล้า ไม่กลัวใคร ลุยไปจับ! คนหลอกขายหน้ากากไร้คุณภาพ ที่เอามาแจกประชาชน หลังเสียเงินซื้อเป็นแสน! แต่นักวิทยาศาสตร์พบ “หน้ากาก” แฝงไปด้วยอันตราย” อาจทำร้ายคนรับเป็นมะเร็ง และสร้างผลกระทบสิ่งแวดล้อม แม้จะทำด้วยจุดประสงค์ดี ท่ามกลางสถานการณ์ขาดแคลนหน้ากาก...ขณะที่ รองโฆษก ตร. ออกมาบอกไม่พบคนขายแพงและกักตุน จากกรณีที่นายสิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ เปิดบ้านย่านแจ้งวัฒนะ แจกหน้ากากอนามัยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่เทศกิจ และประชาชน 10,000 ชิ้น เพื่อใช้ป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 โดยอ้างว่านำเงินเดือน ส.ส. ในเดือน ก.พ. ไปจัดซื้อ แต่พบว่าบางรายที่ได้รับแจกตั้งข้อสังเกตลักษณะหน้ากากอนามัยที่ได้บางมาก ขณะที่เจ้าตัวอ้างว่าซื้อมาจากช่องทางออนไลน์ ราคาชิ้นละ 14.75 บาท รวมทั้งหมด 147,500 บาท ต่อมา เฟซบุ๊ก Weerachai Phutdhawong ของ รศ.วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยผลการทดสอบหน้ากากอนามัยที่นายสิระนำมาแจก ระบุว่า สรุปผลการตรวจหน้ากากของนายสิระที่เอามาแจกประชาชน วิเคราะห์ด้วยเทคนิค FT-IR-ATR เป็น ผ้าสปันบอนด์ ที่เกิดจากเส้นใยสังเคราะห์ ของโพลิเมอร์ ที่เป็นพอลิโพรไพลีน (Polypropylene หรือ PP) ลักษณะทางกายภาพมีกลิ่นเหม็นพลาสติก มีขนาดบางมากๆ เส้นใยสีฟ้าเป็นการย้อมสีเพื่อให้ดูรู้สึกดี แต่ทั้ง 3 ชั้นบางมากและเป็นพอลิเมอร์ชนิดเดียวกัน ที่สำคัญมีกลิ่นฉุน แตกยุ่ยได้ง่าย อาจก่อให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เรียกว่าไมโครพลาสติก หากสูดดมเข้าไปในร่างกาย เสี่ยงโรคมะเร็ง หากนำไปล้างน้ำและไหลลงไปในระบบนิเวศ เช่นแม่น้ำลำคลอง สัตว์น้ำสัตว์ทะเลจะได้รับไมโครพลาสติกพวกนี้กลับเข้ามาสู่ระบบและมนุษย์ก็ไปกินสัตว์น้ำเหล่านี้ก็จะเข้ามาสู่ร่างกายได้เช่นกัน ในระยะยาวพลาสติกเหล่านี้ย่อยสลายได้ยากมาก เป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แนะนำให้ส่งคืน พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษก ตร. เปิดเผยว่า กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) มีมาตรการกำกับดูแลปัญหาหน้ากากอนามัยหายาก และมีราคาสูงเกินควรใน 3 มาตรการ คือ 1.มาตรการปราบปราม ร่วมกับกรมการค้าภายในจัดชุดปฏิบัติการเป็น 6 ชุด ออกตรวจสอบทุกพื้นที่และล่อซื้อจับกุมทุกวัน 2.มาตรการสืบสวน โดยทำการล่อซื้อผู้จำหน่ายทางอินเตอร์เน็ตและช่องทางอื่นที่เกี่ยวข้อง / 3.มาตรการตรวจสอบและประชาสัมพันธ์ ได้ทำการตรวจสอบร้านค้าและแจกโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ จำนวน 326 แห่ง ผลการตรวจสอบเบื้องต้นยังไม่พบร้านที่มีการขายสินค้าเกินราคาและกักตุนสินค้า นอกจากนี้ยังระบุอีกว่า ปัจจุบัน ในห้วงที่มีการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดและป้องกันโรคโควิด-19 ทำให้ความต้องการหน้ากากอนามัยเพิ่มขึ้น หากผู้ประกอบการหรือผู้ที่คิดฉวยโอกาสกอบโกยเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ เป็นเหตุให้ประชาชนเดือด-ร้อน / เจ้าหน้าที่ตำรวจจะดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายอย่างเด็ดขาด